ข้อเสนอในการจัดการปัญหาสิทธิในการอาศัยอยู่ในประเทศไทยของคนไทยพลัดถิ่น


สถานการณ์เด่นด้านกฎหมายนโยบายเกี่ยวกับสถานะและสิทธิในพื้นที่สึนามิ

 

                แม้ศาลมีคำพิพากษาวางแนวทางกฎหมายในการดำเนินคดีแล้ว ในคดีนายประเสริฐ อินทรจักร แต่ยังมีคนไทยพลัดถิ่นในสถานการณ์เดียวกันถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาผู้หลบหนีเข้าเมือง

 

ผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว

 

ระยะสั้น : เด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่เป็นคนไทยพลัดถิ่น ที่ยังไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน จะยังคงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมและดำเนินคดีข้อหา คนต่างด้าวเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ระยะกลาง : เกิดแรงต่อต้านและอคติต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานอัยการ ก่อให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื้อใจระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน เนื่องจากศาลได้เคยวินิจฉัยแล้วในคำพิพากษาศาลจังหวัดระนอง ในคดีหมายเลขดำ ที่ ๑๓๒๕/๒๕๔๖ และคดีหมายเลขแดงที่ ๓๖๔๑/๒๕๔๘ ว่า ในระหว่างการรอการพิสูจน์ตน เจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการผลักดันออกนอกประเทศไทยได้

 

ระยะยาว : ภาครัฐและภาคประชาชนไม่อาจจะทำงานหรือประสานงานร่วมกันได้ แรงต่อต้านภายในถูกผลักดันออกมาเป็นการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

                การทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธีเกิดขึ้นได้ยาก

  ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา 

 

ต่อฝ่ายราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุด ควรยึดแนวทางการดำเนินคดี ดังที่ศาลวางกรอบไว้ในคำวินิจฉัยของศาลจังหวัดระนอง ในคดีดังกล่าว เพื่อมิให้บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เช่น คนไทยพลัดถิ่น ถูกจับกุมและดำเนินคดีซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

     โดยควรมีหนังสือชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานไปยังสำนักงานอัยการจังหวัดและสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ เพื่อบรรเทาความทุกข์ของประชาชน

 

ภาควิชาการ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ควรดำเนินการวิเคราะห์ และเขียนแนวคำอธิบายคำพิพากษาศาลจังหวัดระนองในคดีดังกล่าว เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจให้สังคมได้รับรู้ถึงแนวคำวินิจฉัยของศาลที่มองการคุ้มครองสิทธิของประชาชนมากกว่าจะมองกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรเพียงอย่างเดียว

 

ฝ่ายองค์กรเอกชน

ให้กลุ่มเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น และโครงปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่จังหวัดระนอง ประสานช่วยเหลือเด็กและเยาวชน และบุคคลทั่วไปที่ถูกจับกุมและดำเนินคดี  รวมทั้งประสานงานกับสภาทนายความ

 

ฝ่ายองค์กรอิสระ

สภาทนาย ควรเข้าให้ความช่วยเหลือและประสานงานกับสำนักงานอัยการในจังหวัดที่มีบุคคลเชื้อสายไทยอาศัยอยู่ เพื่อทำความเข้าใจ และแนวทางในการวินิจฉัยในการทำคดี เมื่อมีคดีในลักษณะดังกล่าวส่งมาจากพนักงานสอบสวนอีก

 
หมายเลขบันทึก: 56469เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
คดีดังกล่าวเป็นคดีตัวอย่างครับ น่าจะได้รับการเผยแพร่มากกว่านี้เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท