หลุมพรางที่ 7 ของระบบสมรรถนะ


สวัสดีครับ
ผ่านปีใหม่ ผ่านตรุษจีน ผ่านวาเลนไทน์กันไปไม่ทันไร จะสงกรานต์กันแล้วนะครับ เตรียมตัวกันไปเที่ยวที่ไหนบ้างหรือยังครับ อยู่เมืองไทยนี่รู้สึกว่าจะมีเทศกาลให้ต้องใช้จ่ายกันเยอะเลยนะครับ เงินเดือนอย่างเดียวคงจะไม่พอสำหรับเทศกาลเมืองไทยซะแล้ว หลายคนอาจจะมีเงินพิเศษเพิ่มเติมในที่ทำงานของเราด้วยการทำผลงานให้เข้าตากรรมการ ก็จะได้เงินพิเศษเพิ่มเติม บางที่อาจจะใช้ Competency เป็นเครื่องมือในการกำหนดว่าถ้าบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถผ่านในระดับที่กำหนดก็จะได้เงินพิเศษเป็นค่าความสามารถเพิ่มเติม แต่ต้องระวังด้วยนะครับว่า ความรู้ ความสามารถที่ไปเพิ่มเติมกันมานั้น เป็นกระแสสังคมหรือว่าเป็นความจำเป็นในการปฏิบัติงานจริง ๆ ของบุคคลนั้น เพราะถ้าเป็นกระแสหรือไม่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานแล้ว การพัฒนานั้นก็จะเปล่าประโยชน์ ดังเช่น หลุมพรางที่ 7 ของการนำระบบสมรรถนะมาใช้ในองค์กร ดังนี้ครับ

#หลุมพรางที่7
Competency-based Pay
Competency-based Pay เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เห็นบางองค์การลุกขึ้นมาจ่าย Competency ทั่วถึงกันหมด เช่น ประกาศให้พนักงานไปทำการทดสอบภาษาอังกฤษ ถ้าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทางองค์การก็จะจ่ายให้กับ Competency ภาษาอังกฤษนี้ ทั้งที่พนักงานบางตำแหน่งร้อยวันพันปีไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานเลย การจ่ายค่า Competency เช่นนี้เป็นความสูญเปล่าขององค์การ (ยกเว้นกรณีที่องค์การต้องการจ่ายเพื่อเป็นส่วนเพิ่มของค่าตอบแทนพนักงาน)
การจ่ายบนพื้นฐาน Competency นั้น ควรเป็นการจ่ายตาม Competency ที่องค์การมีความต้องการใช้ในช่วงเวลาหนึ่งที่จำเป็น เช่น การจ่ายให้บุคลากรในตำแหน่งนักบินของกองทัพอากาศ ซึ่งบุคลากรเหล่านี้สามารถที่จะขึ้นบินได้ทันทีเมื่อมีความต้องการ หรือจ่ายค่าความสามารถทางภาษาจีนให้กับเลขานุการที่ต้องติดต่องานในช่วงที่ผู้บริหารทำการขยายงานไปยังประเทศจีน ในกรณีนี้หากองค์การทำไม่สำเร็จก็สามารถยุติการจ่ายค่า Competency ตัวนี้ได้ ซึ่งวิธีการเช่นนี้ทำให้การจ่ายผลตอบแทนอยู่บนพื้นฐานของ Competency ที่องค์การต้องการอย่างแท้จริง และเกิดความเท่าเทียมกัน (Fairness)
การที่องค์การจะจ่ายค่าสมรรถนะนั้น กระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการประเมินสมรรถนะ จะประเมินอย่างไรไม่ให้ตกหลุมพรางที่ 8 ติดตามได้ในตอนหน้านะครับ

สวัสดีครับ

มองหาผลลัพธ์ ขยับหา GO

หมายเลขบันทึก: 564656เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2014 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2014 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท