ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

สาธารณสุขไทยกับอาเซียน


สาธารณสุขไทยกับอาเซียน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

                31 ธันวาคม 2558 ไทยเรากับอีก 9 ประเทศต้องเข้าสู่อาเซียน กระทรวงสาธารณสุขไทย จึงต้องเผชิญกับความท้าทาย และต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่อาเซียน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องเตรียมตัวหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในอาเซียนได้ ได้แก่ ทันตแพทย์ แพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี และการสำรวจ จึงเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องเร่งผลิตวิชาชีพเหล่านี้ อีกทั้งจุดอ่อนที่สำคัญของระบบการศึกษาของประเทศไทยก็คือ เรื่องของภาษาอังกฤษ คนที่จบหลักสูตรเหล่านี้และหลักสูตรต่างๆ ที่ผ่านมา มักไม่สามารถทำให้ผู้เรียนสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้

                ฉะนั้นนี่คือจุดอ่อนที่สำคัญของคนไทย คนไทยมักมีปัญหาเรื่องของการสื่อสารโดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ หากเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย และอีกหลายประเทศในอาเซียน อาจเป็นเพราะประเทศไทยและคนไทยบางส่วน มัวแต่ภูมิใจว่าประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร ฉะนั้นภาษาอังกฤษไม่ต้องฝึกก็ได้ แต่แท้จริงแล้ว ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือ เป็นอาวุธ เป็นกุญแจ ที่จะทำให้เราเกิดความรู้ เกิดการสร้างเครือข่าย เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างคนทั่วโลก

                อีกทั้งอาเซียนยังตกลงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอาเซียน ดังนั้น เวลามีปัญหา มีเรื่องกัน ขึ้นศาล หรือติดต่อราชการต่างๆในประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ

                แพทย์เป็นอาชีพที่ขาดแคลนในประเทศอาเซียน สำหรับหลายประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะ แพทย์ บางประเทศขาดแคลนมากจนมีอัตราเฉลี่ย แพทย์ 1 คน ต่อประชากร 100,000 คน สำหรับประเทศไทยจากตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2554 แพทย์ 1 คนต่อประชากร 2,893 คน

สำหรับการผลิตแพทย์ มหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไม่ได้ผลิตแพทย์เพื่อคนไทย 60 กว่าล้านคน แต่ต้องผลิตให้กับอาเซียน 600 ล้านคน ตลาดจะใหญ่ขึ้น อีกทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆที่ผลิตแพทย์ต้องยกระดับมาตราฐานคุณภาพของแพทย์ให้สูงขึ้นเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกับอาเซียน และในอนาคตก็ควรยกระดับมาตราฐานการผลิตแพทย์ให้มีมาตราฐานในระดับโลก เพื่อรองรับคนในโลก 7,200 ล้านคน และในปี 2559 คาดว่าจะมีประชากรโลก 9,000 ล้านคน และคาดว่า 2560 จะมีประชากรถึง 10,000 ล้านคน สำหรับปัจจัยที่ทำให้มีประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากคนเรามีอายุที่ยืนยาวขึ้นนั้นเอง

สำหรับอาชีพพยาบาล ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งซึ่งขาดแคลนและสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในอาเซียนได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งพยาบาลมีจุดดีคือเรื่องของกิริยา มารยาท ความสุภาพ ความอ่อนโยน อดทน และมีความสามารถในการช่วยเหลือผู้ป่วย จึงทำให้หลายประเทศได้มีการจ้างงานพยาบาลไทยในค่าใช้จ่ายที่สูง อีกทั้งในด้านสถาบันการศึกษาก็มีความสามารถในการผลิตได้ดีมีคุณภาพในอันดับต้นของอาเซียน จนมีหลายประเทศส่งคนมาเรื่องรู้การพยาบาลจากไทย เช่น พม่า ลาว ภูตาล ฯลฯ

                ผลกระทบต่อสาธารณสุขเมื่อเปิดอาเซียน ประเทศไทยเราจะมีการลงทุนสร้างสถานบริการด้านสุขภาพและโรงพยาบาลมากขึ้นเพื่อรองรับ ลูกค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน ปัญหาเรื่องยาเสพติด ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคติดต่อต่างๆและการเผชิญกับโรคอุบัติใหม่(โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Emerging Infectious Diseases, EID) คือโรคที่เกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรคหรือโรคที่ติดต่อกันได้ ที่มีการอุบัติเกิดเพิ่มมากขึ้นในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นภัยคุกคามมากขึ้นแก่มนุษยชาติในอนาคตต่อไป “ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี” )

                กระทรวงสาธารณสุขต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ สำหรับเทคโนโลยีที่มีอยู่ ก็ต้องนำมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะเครื่องมือบางอย่างสามารถทำงานได้มากมาย แต่เรานำไปใช้กับงานเล็กๆน้อยๆ

                ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงหนึ่งที่ต้องทำงานหนัก เป็นกระทรวงที่จะต้องเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่อาเซียน เป็นกระทรวงหลักกระทรวงหนึ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญ ให้ความเอาใจใส่

 

หมายเลขบันทึก: 564473เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2014 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2014 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...ขนาดยังไม่ได้เข้าสู่อาเซียน หลายโรงพยาบาลก็ได้บริการรักษาพยาบาลคนไข้หลากหลายประเทศ ยิ่งโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง...ชาวต่างประเทศที่ร่ำรวยต้องจองคิวบินมารับการรักษานะคะ...แต่ที่น่าหนักใจก็ตรงที่ กลุ่มผู้ใช้แรงงานจากประเทศอาเซียนใกล้ๆหลายประเทศ ที่ได้ข่าวว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อทั้งโรคใหม่ และโรคเก่ามากๆที่หายไปจากประเทศไทยนานแล้ว เช่นกาฬโรค เรื้อน เท้าช้าง ฯลฯ ...ทำไป ทำมา ...โรงพยาบาลในประเทศไทยจะเป็นแหล่งรับคนไข้โรคติดต่อต่างๆ ในอาเซียนหรือเปล่า?...กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการ และหลักการควบคุมเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน? อย่างไร? ...เพราะทุกวันนี้บางโรงพยาบาล มีคนไข้ ชาวพม่า เขมร ลาว แทบมองไม่เห็นคนไข้ที่เป็นคนไทยนะคะ

ไม่ทราบว่าท่านอ.สุทธิชัยมีความเห็นอย่างไรต่อการไหลเข้ามาของแพทย์จากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีมาตรฐานที่ต่ำกว่าไทยมาก ตลอดจนมาตรการป้องกันการรักษาในมาตรฐานที่ต่ำซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาโรคติดต่อต่างๆและการเผชิญกับโรคอุบัติใหม่ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ หรือ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ

ดังที่ท่านดร.พจนาได้แสดงความเห็นเอาไว้แล้วนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท