โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมีส่วนร่วม


โครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้พิการมองเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้พิการ ส่งผลให้ผู้พิการสามารถได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
           องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่ามีผู้พิการประมาณกว่าร้อยละ 75 ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้หรือเข้าถึงได้อย่างจำกัดเท่านั้น  สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  มีผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจากการสำรวจปี 2548 อำเภอเมืองตากจำนวน 503 คน กิ่งอำเภอวังเจ้า จำนวน 114 คน และปัจจุบันยังมีผู้พิการส่วนใหญ่ถูกปล่อยปละละเลยให้เผชิญหน้ากับปัญหา ทัศนคติทางลบของสังคมตลอดมา  เรียกได้ว่าเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม  

ดังนั้นเพื่อให้บริการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการ สอดคล้องตามนโยบายโครงการหลักประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า  ตามมาตรา 52 ที่ว่า ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และมาตรา 82 ว่าด้วยรัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง  โดยเริ่มจากตัวผู้พิการเองควรตระหนักในคุณค่าและศักดิศรีของตน พร้อมที่จะพัฒนาตนเองโดยมีครอบครัวสนับสนุนประกอบกับสังคมทุกภาคส่วนมีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อผู้พิการ   เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องทำงานประสานความร่วมมือกับ  อาสาสมัครสาธารณสุข  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน   พัฒนาระบบบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการเชื่อมโยงทั้งในสถานบริการลงสู่ชุมชนและบ้านแบบครบวงจร

จากเหตุผลดังกล่าวงานบริการสุขภาพชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทีมงานสหสาขาทั้งเครือข่าย จึงดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมีส่วนร่วม โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้พิการมองเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้พิการ ส่งผลให้ผู้พิการสามารถได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายของโครงการ

1. พัฒนาคุณภาพระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงทั้งในสถานบริการลงสู่ชุมชนและบ้านแบบครบวงจร 

2. ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ตามมาตรฐาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแก่บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข  ผู้ดูแลคนพิการในครอบครัว องค์กรส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ

2.เพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงทั้งในสถานบริการลงสู่ชุมชนและบ้านแบบครบวงจร           

3.เพื่อสร้างการมีมีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในระดับชุมชนและ ส่งเสริมให้ผู้พิการสามารถดูแลตนเองได้ตามความเหมาะสม

4.ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการด้านฟื้นฟูสมรรถภาพได้ตามมาตรฐาน

 
หมายเลขบันทึก: 56437เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท