บอกข่าวร้าย ด้วย อาการเจ็บป่วย


"นังพยาบาล คนนั้น มันโยนพ่อชั้น ทำให้พ่อชั้น เป็นอัมพาต"

ลูกคนไข้ แสดงอารมณ์อย่างรุนแรง หลังจากที่พบว่า พ่อของตน แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมพูด

ลูกบางคน ร้องไห้ ฟูมฟาย จนทีมไกล่เกลี่ย ต้องเข้ามาพูดคุย

เมื่อวันก่อนนี่เอง 

คนไข้ แขนขาซีกขวาอ่อนแรง ถูกส่งมายังไอซียู ที่ผู้เขียนทำงานอยู่

คุณหมอที่ส่งคนไข้มา บอกว่า ญาติแรงมาก ขอฝากดูแลคนไข้หน่อย และช่วยเจรจาหน่อย 

ผู้เขียนบอกกับน้องๆว่า "ให้อารมณ์เย็นลงก่อน ค่อยเจรจา"

แต่...เป็นความโชคดีอย่างหนึ่ง ที่คนไข้เป็นลูกค้าเก่าของเรา ประทับใจเรามาก จึงไม่ค่อยกล้าพูดไม่ดีกับเรา

ส่วนญาติๆส่วนหนึ่ง ยังคง พูดจาต่อว่า พยาบาลอยู่หน้าห้อง ด้วยเสียงอันดัง จนหลายคนตกใจ 

 

หลังจากที่ผลเอ็กซเรย์สมอง พบว่ามีเส้นเลือดสมองตีบ

คุณหมอกอธิบายให้ญาติฟัง และจะส่งต่อปรึกษาคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ให้ 

 

ผู้เขียน บอกกล่าวกับญาติว่า " ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง มีโอกาสเกิดอาการเช่นนี้ได้้ อาจจะไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายคนไข้"

เพราะญาติคนไข้ ยังคงฝังใจ กับ การยกคนไข้

 

พอคุณหมอเฉพาะสาขาเข้ามาพบญาติ

คุณหมออธิบายให้ญาติคนไข้ฟัง อย่างละเอียด 

"คนไข้ มีโรคประจำตัว  โรคหัวใจ โรคความดันสูง ต้องกินยาประจำ อย่างที่ลูกๆเคยจัดให้คนไข้กิน คนไข้มีโอกาสเกิดอาการเช่นนี้ได้ และยังมีโอกาสเกิดเส้นเลือดสมองตีบได้อีก" 

คุณหมออธิบายถึง ขั้นตอนที่ต้องรักษา 

"อาจจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อดูดเสมหะ และใช้เครื่องช่วยหายใจ หากคนไข้หายใจไม่ได้" 

 

ดูเหมือนลูกๆจะเข้าใจ ทำใจ ยอมรับ

บอกกับบอกพยาบาลว่า " ไม่ใส่ท่ออีกแล้ว ปล่อยพ่อไปสบายๆดีกว่า"

 

คนไข้รายนี้ หลังผ่าตัด กระเพาะอาหารทะลุ

ถูกส่งมาดูแลในไอซียูสามวัน เนื่องจากมีเลือดออกจำนวนมาก

ลูกๆเห็นความทุกข์ทรมานของพ่อ ในยามใส่ท่อช่วยหายใจ 

คนไข้เองก็บ่นว่า "ทรมาน ใจจะขาด" 

ประกอบกับญาติเห็นว่า คนไข้อายุมากแล้ว 

จึงปฏิเสธการใส่ท่อ และขอกลับไปดูแลเองที่บ้าน เพราะสะดวกมากกว่าอยู่โรงพยาบาล

 

คุณหมอกำชับว่า "หากคนไข้อาการทั่วไปดีขึ้น อาจจะต้องทำกายภาพ"

ลูกๆรับปาก จะพาพ่อกลับมา หากคุณพ่ออาการดีขึ้น 

 

เราจัดรถพยาบาลไปส่งคนไข้จนถึงบ้าน

ญาติบอกว่า "ไม่ติดใจอะไรแล้ว" จะจัดเวรให้ลูกๆได้ดูแลพ่ออย่างใกล้ชิด

สิ่งที่ยังเป็นกังวลของพยาบาลก็คือ

"คนไข้อาจจะหอบมากขึ้น" "การกินอาหาร" "การจัดท่านอน" จึงต้องส่งต่อทีมเยี่ยมบ้าน 

 

บทเรียนครั้งนี้ บอกเราว่า "ความจริงใจ การใช้คำพูดที่ดี การให้เกียรติ" "การอธิบายด้วยข้อมูลที่ชัดเจน จากผู้ที่น่าเชื่อถือ" "และการทิ้งระยะให้ญาติได้ระบายอารมณ์" เป็นสิ่งที่ช่วยเราได้ 

 

ข่าวร้ายบางครั้งเรายังไม่ต้องบอก คนไข้และญาติก็ดูเหมือนจะเข้าใจ จากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น 

หลังจาก เป็นเรื่องข้อมูลที่ชัดเจนจากผู้น่าเชื่อถือ ความจริงใจ ใส่ใจ เป็นเรื่องที่จะทำให้คนไข้และญาติผ่อนคลาย ยอมรับและเข้าใจ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563945เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2014 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2014 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

จริงใจ ใส่ใจ น่าเชื่อถือ ขอบคุณค่ะป้าแดง

บันทึกนี้มีรายละเอียด ปัจจัยความสำเร็จอยู่หลายจุดมากครับ

- สัมพันธภาพที่ดีอยู่เดิม

- ไม่แรงตอบ การทิ้งระยะให้อารมณ์เย็น

- การอธิบายข้อมูลชัดเจนจากผู้เชี่ยวชาญ

- ความจริงใจ

- การใช้คำพูดที่ดี

- การให้เกียรติ

- การดูแลต่อเนื่อง

มันยอด มากกก ครับ ขอบคุณ

เสื้อชุดที่แล้วที่ส่งไป พี่แดงได้รับหรือยังครับ

บันทึกนี้ก็ยังให้นะครับ ขอรวบรวมๆส่งทีหนึ่งเหมือนเดิม เขียนอีกนะครับ

ผมว่าได้มาเอาที่จุฬาเดือน พค. แหงๆ เลย พี่คนนี้

ขอบคุณบันทึกนี้มากค่ะ อ่านแล้วรู้สึกขอบคุณแทนญาติๆที่ได้รับการตอบสนองในแบบที่เข้าใจ ให้อภัย และเป็นมิตร เป็นบุญกุศลของคนทำงานบริการสุขภาพจริงๆ

อ่านบันทึกป้าแดงทีไรก็จะรู้สึกอิ่มใจเสมอเลยครับ คนเราทุกวันนี้ก็รอนร๊อนร้อนกันจัง มีคนที่เย็นๆ อยู่ในองค์กร ก็ช่วยได้มากอย่างนี้แหละครับ รักป้าแดงจัง

ป้าแดงครับ ลูกหมูชื่นชมครับ..

ขอบคุณทุกท่านค่ะ อาศัยว่า อายุเยอะ หน่อย มีน้องๆที่พูดดีทำดีกับคนไข้ค่ะ คุณหมอก็ใจดีพอเราบอกปัญหาก็รีบช่วยเหลือค่ะ

ได้รับเสื้อแล้วค่ะ ดูดีมาก แจกทีม palliative ไปแล้ว ยังเหลืออีกหลายตัว ต้องรวบรวมประสบการณ์ของทีม มาแลกเสื้อให้ครบทีม อิอิอิ ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบพระคุณครับสำหรับการแชร์ประสบการณ์ที่ดีนี้กัน และไม่ทราบว่าในกรณีเช่นนี้ทางโรงพยาบาลจะมีการแนะนำสิทธิปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๔๐ ให้แก่ญาติของผู้ป่วยหรือไม่ครับ

เราแจก/ปิดประกาศ/แนะนำ เกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย 10 ประการ ให้ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษานะคะ
ไม่ทราบว่า เกี่ยวกับ พรบ.สุขภาพ 2540 รึป่าวค่ะ

มิได้ครับ ผมหมายถึงสิทธิของผู้ป่วยระยะสุดท้าย(ดังในเรื่องนี้)ในการปฏิเสธไม่รับการรักษาเพื่อยืดชีวิตครับ

http://elib.coj.go.th/Article/d56_3_13.pdf

ขอบพระคุณค่ะ ป้าแดงจะลองเอา พรบ.นั่น มาทบทวนดูอีกครั้งค่ะ

บางครั้งเราก็ทำอะไรด้วยใจพาซื่อ โดยลืมทฤษฎีไป

ขอบคุณมากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท