“บ่าง” ยุคทุนนิยม


“บ่าง” ในยุคอดีตปัจจุบันนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โปรโมเตอร์” ผู้ที่คอยกระตุ้นสัญชาติญาณการต่อสู้ของทุก ๆ คนซึ่งมีอยู่ในตนเอง

หลังจากที่ผมเองได้ดูภาพยนตร์โฆษณาลูกอมยี่ห้อที่พี่เลี้ยงพยายามพูดจาหว่านล้อมให้ “นักมวย” หรือนักสู้ทำการต่อยมวยหรือต่อสู้เพื่อให้ได้ชัยชนะและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ เขา (ตนเอง) จะได้รับโดยพยายามพูดจากหว่านล้อมต่าง ๆ นานาเพื่อให้ “คน” คนนั้นทำการต่อสู้กับอีกฝ่ายหนึ่ง


จากโฆษณานั้นเองทำให้ผมได้ทราบเหตุผลและสัจธรรมของชีวิตข้อหนึ่งซึ่งเคยได้พบประสบกับตนเองและได้พบอยู่ทุกเมื่อเชื่อไปในสังคมไทยยุค “ทุนนิยม” นี้

 

คนเราเกิดมาใครบ้างที่อยากเป็นนักมวย?


คนเราเกิดมาใครบ้างที่อยากจะเดินขึ้นไปต่อสู้ฟาดฟันใครต่อใครถ้าไม่มีใครคอยกระตุ้นหรือสร้างสถานการณ์ เอื้อและอำนวยให้เกิดเวทีการต่อสู้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้เกิดขึ้นมา

 

“บ่าง” ในยุคอดีตปัจจุบันนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โปรโมเตอร์” ผู้ที่คอยกระตุ้นสัญชาติญาณการต่อสู้ของทุก ๆ คนซึ่งมีอยู่ในตนเอง ต่อสู้เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรี ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ต่อสู้เพื่อปากท้อง และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่อที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นการต่อสู้ที่อยู่บนฐานของผลประโยชน์ของคนที่ “จัดการ” ให้ทั้งสองฝ่ายสู้กันจะได้รับจากความเสียหายของสองฝ่ายที่จะเกิดขึ้นตามมา

ถ้าเป็นโปรโมเตอร์ในระบบที่เล่นกันตามกติกา อย่างเช่นการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น มวย หรือกีฬาการต่อสู้ในระดับประเทศหรือระดับโลก เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง เพราะมีกฎและกติกาบังคับ เป็นการต่อสู้ซึ่งนำมาด้วยชื่อเสียงและเกียรติยศของประชาชนทุกคนในชาติ


แต่โปรโมเตอร์นอกระบบ โปรโมเตอร์ในชีวิตจริง ตามองค์กรต่าง ๆ ที่จับคู่มวย พยายามกระตุ้นให้คนสองคนสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่ายที่อยู่อย่างสงบสุขได้ประจันหน้ากัน


โปรโมเตอร์ที่จัดการความรู้ (ข้อมูล) ให้ฝ่ายหนึ่งได้รู้ในสิ่งที่จะทำให้ชกหรือสู้กับอีกฝ่ายหนึ่งได้ และการจัดการให้ฝ่ายตรงข้ามได้สู้อีกเรื่องหนึ่ง จากหลาย ๆ ร้อยเรื่อง ให้รู้แต่ในเรื่องที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทั้งสองฝ่ายได้


โปรโมเตอร์ผู้อยู่เบื้องหลังจากบาดเจ็บและความเสียหายของนักสู้ เมื่อคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายอ่อนแอลง ผลประโยชน์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่ยุยงที่อยู่เบื้องหลัง ซ่อนอยู่ในกลีบเมฆ คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสถานการณ์ที่เขาได้สร้างขึ้น

 

เพราะฉะนั้นถ้ากรรมการ ผู้ใหญ่ในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ประชาชน” ที่ไม่ได้สัมผัสและเข้าใจเรื่องราวอย่างแท้จริง ก็จะมองเห็นแค่คนสองคนหรือสองฝ่ายที่ทะเลาะกัน ซึ่งนั่นก็เป็นเป้าประสงค์ของผู้สร้างสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นให้เกิดขึ้น

 

ดังนั้น การมองปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราอาจจะต้องมองลึกไปถึงที่มาที่ไปแห่งปัญหา ว่าทำไมเขาถึงต้องมาขัดแย้งกัน ซึ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นความขัดแย้งในวงการธุรกิจ ซึ่งจะมีคนคอยสร้างสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้นเพื่อหวังผลนั่นก็คือ “รายได้” หรือลูกค้าที่มองเห็นภาพพจน์ที่ไม่ดีของคนที่ต่อสู้บนความขัดแย้งนั้น ซึ่งก็จะทำให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เขาสร้างขึ้นเอง

 

ความซับซ้อนจากสังคมไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะระบบ “ทุนนิยม” ที่เน้นการแข่งขันให้ได้มาซึ่งเงิน ที่จะนำไปซึ่งสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ รายได้ การศึกษา ซึ่งจะนำมาด้วยชื่อเสียงเกียรติยศนั้น “เรา” ในฐานะกรรมการหรือผู้ชมน่าจะต้องมองให้ลึกถึง “เหตุ” ที่มาแห่งสถานการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านั้นก่อนที่จะ “เชื่อ” หรือ “ตัดสินใจ” ทำสิ่งใดลงไป


ทั้งนี้ก็เพื่อ “ป้องกัน” ไม่ให้เราทำร้ายคนถูก และป้องกันไม่ให้เราส่งเสริมคนผิด


เพื่อที่จะสร้างความสวยงามของสังคมที่เกิดขึ้นความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้ได้มากที่สุด

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ
30 ตุลาคม 2549

คำสำคัญ (Tags): #ทุนนิยม#บ่าง
หมายเลขบันทึก: 56372เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2006 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท