Trigger Point ปวดเรื้อรัง ภัยเงียบชาวออฟฟิศ


ชีวิตคนทำงานยุคนี้ นับวันก็ยิ่งสะดวกสบายมากขึ้น เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ก็ทำประโยชน์ได้สารพัด แต่เพราะการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นนี้แหละ ทำให้โรคมาเข้าคิวรอพนักงานออฟฟิศกันเป็นแถวเช่นกัน และหนึ่งในอาการที่คนออฟฟิศเป็นกันบ่อย ๆ ก็คือ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง


ที่มารูปภาพ : http://www.siamhealt...g/LBP/index.htm 

 โดยปกติแล้ว คนทำงานออฟฟิศนั่งจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนบน ไล่มาตั้งแต่ คอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น เราก็มักจะใช้วิธีการนวด ทายาคลายกล้ามเนื้อ หรือรับประทานยา รวมทั้งประคบด้วยความร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวแล้วจะรู้สึกดีขึ้น แต่ก็ช่วยได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น 

Trigger Point เกิดขึ้นได้อย่างไร
คนทำงานออฟฟิศมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (MPS – Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งสะสมต่อเนื่องกัน นาน ๆ เข้าจะเกิดเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บจำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังพืด พอมีจุดกดเจ็บมากขึ้น ออกซิเจนและเลือดจะส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอ เกิดอาการปวด ส่งต่อไปยังบริเวณใกล้เคียงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังตามมา 

อาการที่แสดงว่าเป็น Trigger Point
หากเกิด Trigger Point ขึ้น จะมีอาการปวดร้าวลึกของกล้ามเนื้อ อาจจะปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลานั่งทำงาน บางคนอาจเป็นหนักจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้ หรือบางคนอาจลามไปถึงปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ มีอาการชาตามมือและแขน ต่อมาอาจส่งผลให้เกิดปัญหาโครงสร้างของร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน นำไปสู่โรคภัยอีกเพียบ

ปัจจัยเสี่ยง โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
พฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการปวดเรื้อรัง และจุดกดเจ็บ ได้แก่
           1. ท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม
           2. ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
           3.การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ
           4. การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง
           5. การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
           6. ขาดการดูแลและบริหารกล้ามเนื้อ ออกกำลังกาย

จะรักษา Trigger Point ได้อย่างไร
หลายคนเข้าใจว่า หากปล่อยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนี้ไว้ หรือนวดบ่อย ๆ น่าจะหายได้เอง แต่ความจริงแล้วเพียงแค่ช่วยบรรเทา หลังจากนั้นไม่นานอาการปวดเมื่อยสามารถกลับมาเป็นได้อีก เพราจุด Trigger Point ยังอยู่ ซึ่งจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง และหากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่รักษาจะทำให้ Trigger Point ใหญ่ขึ้นและแน่นขึ้น จนไปกดทับเส้นเลือด และเส้นประสาท อาจนำมาสู่อาการปวดศีรษะ ไมเกรน หากไปกดทับเส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง นอกจากนั้นยังอาจมรอาการชา ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ ได้ด้วย เพราะเลือดไหลเวียนไม่สะดวก

 

แหล่งที่มาของข้อมูล http://health.kapook.com/view16035.html

 

หมายเลขบันทึก: 563692เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2014 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2014 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณครับที่มีการเตือนภัยของปัญหานี้ ในฐานะที่ผมเป็นเทรนเนอร์ซึ่งเคยมีปัญหานี้และสามารถรักษาตนเองให้หายได้ด้วยการออกกำลังกายและฝึกโยคะ จึงอยากแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเริ่มจากการจัดปรับท่านั่งทำงานให้เหมาะสมเพื่อให้ถนัด ตลอดจนการออกกำลังกายและฝึกโยคะโดยมีครูผู้เชี่ยวชาญคอยกำกับดูแลให้ทำได้อย่างถูกวิธีและไม่หักโหมด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท