งานปอยบ้านเฮา


เมื่อสองวันที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปร่วมงานบุญที่วัดใกล้บ้านมาค่ะ ซึ่งคนเหนือเรียกงานนี้ว่า "งานปอยหลวง"
ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมานาน เป็นการเฉลิมฉลองการถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดนั้น ๆ

เป็นงานที่หนึ่งปีจะมีหนึ่งครั้ง หรือบางวัดอาจใช้เวลา 2 - 3 ปี ในการจัดงานปอยขึ้นแต่ละครั้ง
เพราะการสร้างถาวรวัตถุบางอย่างต้องใช้งบประมาณและเวลาในการสร้างที่มหาศาล หลังจากสร้างเสร็จ
แต่ละครั้งชาวบ้านจึงต้องมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งไหญ่ตามไปด้วย

งานเปอยหลวงเป็นการทำบุญใหญ่ของชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านที่มาร่วมแสดงความชื่นชมยินดี 
มีการแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่ระหว่างวัดต่าง ๆ ที่รู้จักมักคุ้นกัน และยังถือเป็นการรวมญาติที่อยู่ต่างถิ่น
ให้ได้กลับมาเจอกันอีกด้วย

ภายในงานปอยหลวงก็จะมีการแสดงต้องรับของวัดเจ้าภาพ และการแสดงเพื่อนำขบวนแห่ต้นคัวตานเข้าวัด
ของแต่ละหมู่บ้าน สำหรับวัดบ้านของดิฉันเองก็เป็นการแสดงของกลุ่มแม่บ้าน ในชื่อการแสดง "สาวกันตรึม"
และก็ไม่พลาดที่นำรูปสาว ๆ แม่บ้านมาฝากนะค่ะ

สาวชุดนี้บอกได้เลยค่ะว่าสู้สุดใจ ไม่ยอมแพ้การแสดงของเด็กสาววัยรุ่นหมู่บ้านอื่น ๆ เลยค่ะ
หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเอาความเก๋าเข้าแลก ช่างบรรยากาศงานวัดที่หาที่อื่นไม่ได้นอกกจากเมืองล้านนาเช่นนี้ค่ะ

ช่วงเดือนนี้ก็เป็นช่วงเทศกาลงานปอยหลวงของชาวล้านนาเลยหล่ะค่ะ ใครที่อยากสัมผัสบรรยากาศงานวัด
แบบล้านนา ๆ แบบนี้ก็ลองมองหาตุงยาว ๆ สวย ๆ ข้างทางดูนะค่ะ เพราะว่าสัญลักษณ์ของงานปอยที่สังเกตได้ง่ายคือ
ตุงแบบล้านนาสวย ๆ ข้างถนนสายหลักเนี้ยแหละค่ะ

หมายเลขบันทึก: 563484เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2014 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2014 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท