การประเมินและจำแนกประเภทของโรคอ้วน


มีวิธีการประเมินโรคอ้วนหลายรูปแบบด้วยกันนะครับ วันนี้จะมาแนะนำว่ามีอะไรบ้างผมขอเสนอดังต่อไปนี้ครับ 

1. การประเมินโดยใช้ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและประหยัด การหาดัชนีมวลกายในผู้ใหญ่สามารถคำนวณได้จาก การใช้น้ำหนักตัวที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง(เมตร2) ซึ่งผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./ม.2เป็นภาวะโรคอ้วนระดับที่ 1 และให้ทุกคนเริ่มตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพเมื่อมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก./ม2

2. การประเมินโดยใช้การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference) มีการจำแนกเส้นรอบเอวในกลุ่มผู้ใหญ่ชาวเอเชียโดยองค์การอนามัยโลกไว้ดังนี้ ผู้ชายควรมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 90 เซนติเมตร และสำหรับผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตร

3. อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก สามารถใช้เป็นตัวกำหนดภาวะโรคอ้วนซึ่งคำนวณได้จากเส้นรอบเอวหารด้วยเส้นรอบสะโพก โดยวัดเส้นรอบเอวระดับสะดือ และวัดเส้นรอบสะโพกส่วนที่นูนที่สุดของสะโพก เส้นรอบเอวเป็นดัชนีที่คาดคะเนมวลไขมันในช่องท้อง และไขมันในร่างกายทั้งหมด ส่วนเส้นรอบสะโพกให้ข้อมูลด้านมวลกล้ามเนื้อ และโครงสร้างกระดูกบริเวณสะโพก สำหรับค่าปกติในผู้ชายไม่ควรมากกว่า 1 และในผู้หญิงไม่ควรมากเกินกว่า 0.8

4. การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (% body fat)เป็นการวัดโดยเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องวัดไขมันในร่างกาย หรือ เครื่อง Bioelectrical impedance analysis; BIA โดยเกณฑ์วินิจฉัยโรคอ้วน คือ มีระดับไขมันในร่างกายร้อยละ 25 ในเพศหญิง และร้อยละ 32 ในเพศชาย จะถือว่าเป็นโรคอ้วน

วิธีการที่ง่ายที่สุดจะเป็นแบบที่ 1 นะครับ แต่อาจจะไม่ได้แสดงว่าจะเป็นคนอ้วนนะครับ เพราะบางคนที่เล่นฟิตเนสและมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อาจจะทำให้ BMI มากกว่าค่าปกติได้ ซึ่งวิธีการวัดแบบที่ 1 อาจจะยืนยันว่าคุณเข้าสู่ภาวะอ้วนได้นะครับ แนะนำว่าควรจะต้องใช้การประเมินแบบที่ 2-4 ร่วมในการวินิจฉัยภาวะอ้วนด้วยถึงจะดีนะครับ 

สำหรับวันนี้ขอนำเสนอเพียงเท่านี้นะครับ แล้วจะมาแนะนำเกี่ยวกับอ้วนเพิ่มมากขึ้นนะครับ ว่ามีผลกระทบต่อร่างกายยังไงบ้างนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 563196เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2014 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประเมินโรคอ้วนประเมินยากจัง แต่ประเมินการบริหารรัฐบาลพอเห็นว่ามีคนบางตาก็คิดว่าแพ้ ข้าพเจ้าคนหนึ่งที่ยังไม่ได้ออกไปร่วม

จริงๆ ไม่ได้ยากนะครับ ลองนำไปใช้ดูนะครับ ขอบคุณนะครับ ที่มาช่วยแสดงความคิดเห็นเป็นคนแรกของปีนี้สำหรับผมนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท