เวลาของการเปลี่ยนแปลงงานเภสัชกรรม ฉบับ 2014


งานเภสัชกรรมถึงเวลา ต้องเปลี่ยนแปลง เภสัชกร ต้องเป็นผู้นำ ในการปรับระบบยาในโรงพยาบาล เพื่อประโยชน์ ของคนป่วย หมดยุคงานตั้งรับ และเน้นแค่จ่ายยาตามใบสั่งยา และ แค่สั่งซื้อยาอีกแล้ว การทำงานจะยึดหลักวิชาการ และ จริยธรรมวิชาชีพ โดยมีความเปลี่ยนแปลง คือ


1 การจ่ายยา จากข้อมูลตามใบสั่งยาไม่เพียงพอต่อ การให้บริการทางเภสัชกรรมแบบมืออาชีพอีกแล้ว

เนื่องจากในใบสั่งยาจะมีข้อจำกัด ก็คือ โดยทั่วไป ใบสั่งยาจะมีเพียงแค่ ชื่อผู้ป่วย อายุ ที่อยู่ รายการยา และ การวินิฉัยโรคเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ ที่ขาดไปได้แก่ 

  • ประวัติการแพ้ยา
  • ประวัติการรักษาที่ผ่านมา
  • รายการยาอื่นๆ ทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้
  • โรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
  • การทำงานของไต และ ตับผู้ป่วย


   หากเภสัชกร ไม่เข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วย อย่างสะดวก แล้ว ก็ยาก จะทำให้เกิดการใช้ยาอย่างปลอดภัยได้ ที่ชัดเจนมาก ก็คือปัญหาเรื่อง contraindication การที่เภสัชกร ไม่รู้ว่า ผู้ป่วยแพ้ยาอะไรหรือไม่ ตรงนี้ อันตรายมาก เพราะในหลายๆ ครั้งผู้ป่วยจำไม่ได้ว่าตนแพ้ยาหรือ ไม่ หรือแพ้อะไร ซึ่งพบได้บ่้อยมาก นอกจากนี้ ในกรณีืั้ที่ผู้ป่้วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง  และเป็นโรคเบาหวาน ยาที่นิยมใช้กันมากก็คือ ยา metformin หาก ค่า Cr ของผู้ป่วยสูง การจ่ายยา metformin ให้ผู้ป่วยถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตผู้ป่วยได้ นอกจากนี้  การรู้ว่าผู้ป่้วยมีโรคประจำตัวอะไรบ้าง เภสัชกรก็จะช่วยประเมินว่า ผู้ป่วยได้รับยาที่จำเป็นพอเพียง แล้วหรือ ยัง ยกตัวอย่างมีผู้ป่วยรายหนึ่งมารับยาเบาหวานทั่วไป  แพทย์ก็สั่งยา gliben metformin ธรรมดา แต่การที่เภสัชกร พบว่า คนไข้มีประวัติโรคตับแข็ง ก็เลยสอบถามดู ทำให้ผู้ป่วยรายนี้ ต้องได้รับยาในโรคตับแข็งเพิ่มเติม อีก 2 ชนิด และหลีกเลี่ยงการใช้ยา metformin อีกด้วย และ ที่อำเภออุบลรัตน์ ทำมันมาแล้ว เป็น 10 ปี พบว่าการอ่านทบทวนเวชระเบียน ก่อนจ่ายยา นั้น มีคุณูปการมากมายครับ 

2 การส่งมอบยา แบบเดิมๆ แค่ บอกชื่อยา วิธีใช้ยา และคำเตือน ตรวจสอบความถูกต้อง เภสัชกรทำ แค่นั้น อาจไม่มีที่ยืนในระบบโรงพยาบาล เพราะ job แบบนี้ ระบบ IT ที่ดี สามารถทำงานแทน เภสัชกร ได้เกือบ 100% สิ่งที่ต้องทำก็ คือ 

* การประเมินผลผู้ป่วย ก่อนจ่ายยา ว่าีปัญหาอะไรหรือไม่ และหากมี จะจัดการอย่างไร ตรงนี้ จะแสดงความเป็น มืออาชีพของเภสัชกรได้ดีมาก และมันโดน ครับ 

* การอธิบายโรคและอาการ ของผู้ป่วยเพื่อที่จะทำให้ให้ผู้ป่วยเข้าใจ ได้ว่ายา มันจะไปช่วยรักษาผู้ป่วยอย่างไร เมื่อผู้ป่วย get แล้ว ความร่วมมือ การใช้ยาจะเพิ่มขึ้น แน่นอน
* การคำนึงถึง ประโยชน์ ของผู้ป่วย บางครั้งผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ยา บางชนิดที่แพทย์ยังไม่ได้สั่งยาให้ หรือ ต้องตรวจ lab เพิ่มเติม ซึ่งมีความจำเป็นตาม standard of care จุดนี้เภสัชกร ต้อง กล้าพูดคุยกับแพทย์ทันที 

3 การทำงานเชิงลุกในกรรมการ PTC และ PCT เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างเหมาะสม จำเป็นต้อง
3.1 จัดการ ป้องกัน แก้ไข ปัญหาความปลอดภัยด้านยา(อันนี้ เภสัชกรเริ่มทำกันแล้วหลายปี)
3.2 ส่งเสริม การใช้ยาที่จำเป็นต้องใช้ ตาม CPG ของประเทศไทยเพื่อ ประโยชน์ ในการรักษาของคนไข้
3.3 การคัดเลือกยาที่จำเป็น เข้าโรงพยาบาล และการตัดยาออกจากกรอบโรงพยาบาลโดยเฉพาะยา NED

 

4 การใส่ใจความทุกข์องผู้ป่วย แต่เดิม เภสัชกร มีหน้าที่ส่งมอบยาให้ผู้ป่วย หรือ ไม่ก็มีการจัดการปัญหาที่สืบเนื่องจากยา ( DRP )ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการทำหน้าที่เภสัชกร แต่สำหรับ เภสัชกรที่มุ่งมั่น จะพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมให้ก้าวหน้า  และได้รับการยอมรับ จากสังคมมากขึ้น เภสัชกร จำเป็นต้องใส่ ใจรับฟัง ค้นหา ความทุกข์ยากของผู้ป่วย หรือ จะพูดเท่ห์ ว่า patient suffering ความทุกข์ของผู้ป่วยมากมายเกิดจากยา หรือ สามารถเยียวยา บรรเทาได้ ด้วยการใช้ยา การที่เภสัชกร ไปทำหน้าที่ตรงนี้ อย่างแข็งขัน จะทำให้เภสัชกร ได้รับการยอมรับ ได้รับความรักจากผู้ป่วยในทันที เลยครับ ไม่เชื่อก็ลองดูครับ 

หมายเลขบันทึก: 563030เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2014 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2014 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจที่เภสัชกรคิดได้ครอบคลุมมาก แต่ทำยังไงดีคะ ถึงจะทำได้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท