แผนงาน การจัดระเบียบสังคมประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗


แผนงาน           การจัดระเบียบสังคมประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗

หน่วยงาน         ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากการรายงานสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในพื้นที่ ๕ ภูมิภาค/๕ รุ่น ของนายประชา  เตรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่องการปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ประเด็นที่ ๗ ปัญหาความเปราะบางด้านสิ่งแวดล้อมธุรกิจบริการบันเทิงและอบายมุขในสังคม

สถานการณ์ปัญหายาเสพติด ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังปรากฏข้อมูลว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา และกลุ่มวัยแรงงาน เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ยาบ้า) เป็นผู้เสพติดรายใหม่ มากขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่ทำให้ปัญหาด้าน  Demand  ยังไม่ลดลง  ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกันปัญหาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และ สังคม ยังคงเป็นเงื่อนไขผลักดันให้เด็กและเยาวชนตกเป็นกลุ่มเสี่ยงและเข้าสู่วงจรปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะความอ่อนแอของสถาบันสังคมและครอบครัว ปัญหาความยากจน ปัญหาความไม่เป็นระเบียบและการปล่อยปละละเลยต่อการปฏิบัติการตามกฎหมายของสถานบันเทิงสถานบริการ หอพัก และแหล่งมั่วสุ่มต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมและจัดระเบียบปัญหา เพื่อมิให้พื้นที่เสี่ยงดังกล่าวเป็นแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด

ตามคำสั่งศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ที่      ลงวันที่          ๒๕๕๖  เรื่องแผนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ ๓  ปี ๒๕๕๗ ได้กำหนดกรอบความคิดทางยุทธศาสตร์  ยังคงยึดกรอบความคิดทางยุทธศาสตร์ ในปี ๒๕๕๖  ๓ ยุทธศาสตร์ คือ  ๑.ยุทธศาสตร์ต่อเนื่อง ๒.ยุทธศาสตร์ป้องกัน และ ๓.ยุทธศาสตร์เสริมสร้าง    แผนงานที่ ๓ การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด (Potential Demand) กำหนดมาตรการ แนวทางดำเนินงาน  การควบคุมพื้นที่/ปัจจัยเสี่ยง ด้วยการจัดระเบียบสังคม เน้นให้ ศพส.จ. จัดระเบียบสังคม อย่างจริงจัง ขจัดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อเยาวชน 

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ที่จะต้องรีบดำเนินการป้องกันและแก้ไขโดยผนึกกำลังของทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การจัดระเบียบสังคมเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการควบคุมหรือลดพื้นที่เสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดและการเพิ่มปัจจัยบวกหรือพื้นที่บวกเพื่อป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การจัดระเบียบสังคมให้ได้ผลจะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนและจะต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่

แนวความคิดและแนวทางปฏิบัติ

กลยุทธ์การปฏิบัติงาน    “ร่วมจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ เพื่อลูกหลานและเยาวชน  ยึดงานคุณภาพ แก้ปัญหาตรงจุด บูรณาการครบวงจร ”

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์มีองค์กรและกลไกเฝ้าระวัง กลุ่มเป้าหมายและมีกระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ อย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน และต่อเนื่อง

/๒. เพื่อรณรงค์ กระตุ้น...

 

                                                         

 

                                                             -๒-

 

๒. เพื่อรณรงค์ กระตุ้น สร้างกระแสปลุกจิตสำนึกให้ประชาชน สถานประกอบการ พ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมแบบบูรณาการอย่างจริงจัง

เป้าหมายการดำเนินงาน          

๑.ดำเนินงานต่อปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อปัญหายาเสพติด ได้แก่ สถานบันเทิงที่ฝ่าฝืนระเบียบกฎหมาย หอพักและที่พักอาศัยเชิงพาณิชย์ ร้านเกมส์/อินเตอร์เน็ต แหล่งมั่วสุ่มของเยาวชน การรวมกลุ่มรถซิ่งต่างๆ การพนัน/ตะพนันบอลฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กวดขัน มิให้มีปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษา

๒.เน้นหนักในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษา

๓. เน้นกลุ่มเด็กและเยาวชน ช่วงอายุระหว่าง ๑๐-๒๔ ปี /กลุ่มผู้ใช้แรงงาน/คนว่างงาน/คนต่างด้าว และผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

กรอบแนวทางปฏิบัติ

            ๑.แต่งตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน ๑ ชุดปฏิบัติการ(จำนวน ๑๒ นาย) ให้ชัดเจน เน้นการส่งเสริมให้ภาคสังคม/ประชาชนร่วมเฝ้าระวัง(ตามผนวก ก)

            ๒.มอบหมายให้ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ ตามข้อ ๑ ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเป้าหมายปัจจัยเสี่ยงให้ชัดเจน เน้นพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์และบริเวณโดยรอบสถานศึกษา

            ๓. ประสานงานด้านข้อมูลปัจจัยเสี่ยงตามข้อ ๒ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

            ๔. เน้นการดำเนินกิจกรรมเชิงคุณภาพ  อาทิ  รณรงค์ประชาสัมพันธ์ การอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด/อำเภอ  การจัดทำแผนปฏิบัติการออกตรวจจัดระเบียบสังคม ฯลฯ

            ๕.การออกตรวจ เน้นให้ป้องปราม ตักเตือน แนะนำให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย    

            ๖.ให้บังคับใช้กฎหมายทันทีเมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่ง อย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม

            ๗.การรายงานให้ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจฯ สรุปผลการออกตรวจทุกครั้งและนำเสนอข้อมูลในที่ประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุตรดิตถ์และคณะกรรมการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์

            ๘.ติดตามประเมินผลและดำเนินงานให้มีความต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่  ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕   

 

 

 

-๓-

 

งบประมาณดำเนินการ

- งบประมาณจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี ๒๕๕๖

- งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก ป.ป.ส.

- งบประมาณในส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติการ      

-ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดอุตรดิตถ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            -เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานการจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ กรอบการดำเนินงาน และแนวทางปฏิบัติเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

            - พื้นที่เชิงลบมีการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการประกอบการน้อยลงและพื้นที่เสี่ยงลดลง

-ประชาชนโดยทั่วไปเกิดความพึงพอใจ นโยบายการจัดระเบียบสังคม เกิดความผาสุกในครอบครัวและมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 562935เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2014 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2014 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท