จัณฑาล


 

หนังสือเล่มโตๆ เล่มนี้...แค่ชื่อ และกลิ่นอายของหนังสือ

ก็ทำให้ผม..ควักกระเป๋าตังค์อย่างง่ายดาย

เมื่อกลับมาถึงบ้าน...ผมอยากรวดเดียวในบ่ายของวันหนึ่งในฤดูร้อน

 

ความรู้สึกเศร้าอย่างมาก...กับเรื่องราวความกลิ่นที่เกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้

บางหน้า...บางประโยค ก็ทำให้ผมเกิดอาการมวนท้อง และคลื่นไส้ กับการต่อสู้ของพวกเขา

แต่เมื่ออ่านจบแล้ว...ผมต่างหากกลับพบว่า....ความหมายของชีวิตในนัยยะหนึ่งที่ได้

คือ ความงดงาม...การต่อสู้...เพื่อจะได้พบความรื่นรมย์ และการมีที่ยืนของทุกๆ ชีวิต

 

ความเป็นจัณฑาลในหนังสือนั้น...ชีวิตที่ของพวกเขาไม่ใช่พลเมืองชั้นสอง

แต่คนในวรรณะอื่นมองเขาไม่ต่างจากกับ...ความสกปรกโสมม...

แม้แต่เงาของจัณฑาลก็อย่าได้เข้าใกล้...

การกิน...การอยู่...การศึกษา...อาชีพ...และอื่นๆ มากมาย

ที่ทำให้พวกเขาไร้ตัวตนบนโลก....โลกที่ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน...ไม่ใช่หรือ?

 

...”ฉันไม่เข้าใจว่าใครเป็นคนตัดสินให้ทุกอย่างเป็นเช่นนี้

ฉันเองก็สงสัยเช่นกันว่า...จัณฑาลอย่างเรามันแย่กว่าสัตว์เดรัจฉานหรือ

ฉันอดทนยอมรับในสิ่งที่เขาว่า...

เพราะบาปมหันต์ในชาติก่อน ชาตินี้ถึงเกิดเป็นจัณฑาล...”

 

หนังสือเล่มนี้เปิดโลกจัณฑาลกว่า 165 ล้านคนในอินเดีย นับพันๆ ปีมาแล้วที่คนวรรณะต่ำสุดอย่างจัณฑาล

ถูกปฏิบัติราวไม่ใช่มนุษย์    ผู้เขียนถ่ายทอดเรื่องราวจากสมุดบันทึกของพ่อ

ที่ตะเกียกตะกายฝันจะได้รับความเท่าเทียมในสังคมเพื่อปลดแอกลูกๆจากระบบวรรณะของจัณฑาลผู้ไร้ทางสู้

 

ถ้าใครมีหัวใจ...ที่รู้สึกเจ็บ...ที่รู้สึกปวด...กับชีวิตที่ไม่มีตัวตน

ไม่มีทางสู้...ไม่มีที่ยืนในสังคม...

ทุกคนจะต้องร้องไห้ไปกับพวกเขา...เพราะชีวิตจัณฑาล...ทุกทางเดินของชีวิตเขาล้วนเจ็บปวด....

 

...อยากให้ทุกท่านได้อ่านจังครับ...สุขสันต์กับการอ่านนะครับ....

 

.....................................

จัณฑาล

ผู้เขียน : นเรนทรา จาดฮาฟ

ผู้แปล : วีระยุทธ  เลิศพูนผล
สำนักพิมพ์ :อรุณการพิมพ์

พิมพ์ครั้งที่ 2 ปีที่พิมพ์ : 2550 จำนวน 328 หน้า

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 562849เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 05:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 05:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ

-หนังสือน่าสนใจมาก ๆครับ

-เกี่ยวกับเรื่อง"จัณฑาล"

-ขอบคุณครับ

ไม่แต่เฉพาะในสังคมอินเดียนะคะ

ลักษณะนี้ในสังคมของไทยเราก็มีให้เห็นใจเช่นเดียวกันค่ะ

"พวกจัณทาล/ ไพร่ " คนไทยยังใช้เป็นคำด่าดูถูกเหยียดหยามคนอืนเลยค่ะ

สุดท้ายไม่ว่าใคร ชนชั้นวรรณะใดตามที่อุปโลกกันมา เมื่อวันสุดท้ายมาเยือน ...ก็เหมือนกันทุกคนค่ะ


ขอบคุณค่ะ . ... ได้ข้อคิดดีดีจากเรื่องนี้มากๆ ค่ะ



ถ้าเจอหนังสือเล่มนี้......ต้องซื้อแน่ ๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท