ชีวิตที่พอเพียง : ๒๑๐๗. สัปดาห์แห่งการรับใช้มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ(๓) วันแรกของ PMAC 2014


 

          Keynote Lecture เปิดงานเรื่อง Transformative Learning for Health Equity โดย Prof. Julio Frenk  เช้าวันที่ ๒๙ ม.ค. ๕๗ มีความชัดเจน และใช้เทคโนโลยีช่วยการนำเสนอได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ    ผมถ่ายรูปสไลด์ไว้หมด และจะมี powerpoint ของท่านขึ้นเว็บ ให้ download ได้ ที่นี่    ผมจดหัวใจของเรื่องที่ผมติดใจไว้ดังนี้

    •     From Tube to Open Architecture
    •         Open architecture & Systems approach
    •         T-shape competence  คือต้องมีสมรรถนะทั้งทางลึกและทางกว้าง
    •         Harvard Humanitarian Academy   เป็นตัวอย่างพื้นที่พัฒนาจิตอาสา
    •         Engaged learning    ที่เราเรียกว่า active learning นั่นเอง
    •         Teaching – Research congruence   คืออาจารย์ทำหน้าที่สอนกับวิจัยไปพร้อมกัน

 

         ตามด้วย Plenary 1 Transformative Learning for Health Equity : Working beyond Customaries / Breaking Down the Boundaries / Opening New Possibilities    โดยมี นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ วาดลวดลายการทำหน้าที่ moderator ที่ทั้งให้ความสนุกสนานและสาระ

 

       ฟังแล้วเกิดจินตนาการ เห็นลู่ทางทำงานสร้างสรรค์การเรียนรู้แบบใหม่    หลากหลายแบบ ไร้ขอบเขตจำกัด    เพื่อสนองสถานการณ์ที่แตกต่างกัน    โดยสนองเป้าหมายคือ ความเป็นธรรมในสังคม ด้านสุขภาวะ   ซึ่งก็ตีความได้กว้าง และหลายมุม    พอจะสรุปประเด็นสำคัญคือ

    •         เป้าหมายที่พื้นที่ยากจน ห่างไกล ด้อยโอกาส
    •         ก้าวข้ามพรมแดนทั้งหลาย
    •         ใช้พลัง ICT ทำให้ไกลกลายเป็นใกล้   เรียนแบบ interactive, engaged learning ได้สะดวก
    •         พัฒนา บุคลิก/ทักษะ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง    และอุดมการณ์เพื่อสังคม ตั้งแต่เรียนชั้นประถมและมัธยม
    •         ระบบแรงจูงใจ เพื่อการทำงาน ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
    •         ความไม่เป็นธรรมในสังคม เป็นตัวฉุดรั้ง “สุขภาวะ”  
    •         เน้น partnership    อย่าลืม นศ. เป็นภาคีการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังมาก    หากปลุกพลังขึ้นมาได้    และประชาชน/ชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของภาคี ของระบบสุขภาพ และระบบการศึกษา

 

          จบจาก PL 1 เพื่อรับเสด็จองค์ประธานในพิธีเปิด คือสมเด็จพระเทพรัตน์    แล้วเป็นพิธีเปิดที่ทรงพลัง อย่างยิ่งในการสื่อสาระของความจำเป็นและหลักการของ Transformative Learning for Health Equity   โดยมีผู้พูด และเรื่อง ดังนี้

 

    •         Keynote โดยผู้ได้รับพระราชทานรางวัล คือ Anthony S. Fauci เรื่อง Ending the HIV/AIDS Pandemic : From Scientific Advances to Public Health Implementation   ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวเลขของ care continuum ของคนติดเชื้อ เอ็ชไอวี ในสหรัฐอเมริกา    คนที่ติดเชื้อ ๑๐๐ คน    เพียง ๘๒ คนได้รับการวินิจฉัย หรือรู้ตัวว่าติดเชื้อ,    ๖๖ คน ได้รับการรักษา,    ๓๗ คนได้รับการดูแลต่อเนื่อง,    ๓๓ คนได้รับยาต้านไวรัส,    และ ๒๕ คนที่เชื้อไวรัสในเลือดต่ำกว่า ๒๐๐ ตัว/มล.   ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนภาพ health inequity ในสหรัฐอเมริกาอย่างแรง     ความหวังในระยะยาวคือหาทางรักษาให้หายขาด ปลอดเชื้อไปเลย    กับการพัฒนาวัคซีน
    •         Keynote โดย Paul Farmer เรื่อง Advancing an Equity Agenda in Global Health and Medical Education  สาระสำคัญคือความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติ    โดยมี service delivery platform เน้นบริการในชุมชน    โยงกับสถานีอนามัย    สู่โรงพยาบาล    โดยอาศัยข้อมูลภาระโรค เอามาเคลื่อนไหวสังคม    จนเกิดระบบบริการที่ดี    เขายกตัวอย่าง ประเทศรวันดา ที่เพิ่งมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี ๒๕๓๗   แต่เดี๋ยวนี้อัตราตายของเด็กอายุ ๐ - ๕ขวบ ลดลงมาเท่าของประเทศอังกฤษ    และอัตราตายจากเอดส์ก็ลดลงมาก
    •         Keynote โดยศาสตราจารย์ Yang Ke, Executive Vice President, Peking University Health Science Center  เรื่อง Medical Education Reform at Peking University – To Meet the Social Needs   สรุปได้ว่า มีการปฏิรูปหลักสูตรตามแนวทางของ Commission Report
    •         Keynote บอกความฝันของคนรุ่นใหม่ ที่เป็น นศ. สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๔ คน จาก ๔ ประเทศ    ที่ต้องการเห็นความเป็นธรรมของระบบสุขภาพ    ที่ถ้อยคำอันจับใจทำให้ ผู้เข้าร่วมประชุมน้ำตาซึมไปตามๆ กัน

 

         ตอนบ่ายเริ่มด้วย Keynote โดยศาสตราจารย์ Keizo Takemi เรื่อง Global Political Leadership for Promoting Implementation of Transformative Education for Health Equity   ท่านเหมาะที่จะพูดเรื่องนี้ เพราะเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข    และเวลานี้ก็เป็นผู้แทนราษฎรของโตเกียว   ท่านบอกว่า ประเทศญี่ปุ่นกำหนดนโยบายเรื่องสุขภาพโลกไว้ในนโยบายต่างประเทศ    และกำหนดการคุ้มครองสุขภาพ ถ้วนหน้าเป็นนโยบายสาธารณสุขของประเทศ   

 

          หัวใจสำคัญของ health equity คือ การคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า    ซึ่งเป็นนโยบายที่นักการเมือง ใช้หาเสียงได้ผลมาก (ดังกรณีประเทศไทย)    และการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพโลกผ่านประเด็น health equity จะมีพลังมาก

          Plenary 2  Implementing Global Human Resource for Health Education Reform : Examining Experiences and Evidence   ซึ่งเป็นการนำตัวอย่างในแต่ละประเทศมานำเสนอ    moderate โดยรอง ผอ. ใหญ่องค์การอนามัยโลก    ซึ่งเป็นคนฝรั่งเศส   โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกมานำเสนอ ๔ เกณฑ์คือ  (๑)​ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างชัดเจน  (๒)​ มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจังต่อเนื่อง  (๓) ลดอัตราตกออกของ นศ. (๔) ประสิทธิภาพในภาพรวมเพิ่มขึ้น 

          ผู้นำเสนอกรณีตัวอย่างท่านหนึ่งเสนอเรื่องของ Walter Sisulu University School of Medicine, South Africa ได้เงินสนับสนุนจาก USAID ผ่านโครงการ CapacityPlus    จัดการศึกษาผลิตแพทย์เพื่อพื้นที่ยากจน    มีนวัตกรรมคือ คัดเลือก นศ. จากพื้นที่ขาดแคลน, จัดการเรียนการสอนแบบ student-centered, และ จัดการฝึกทักษะแบบฝังตัวในพื้นที่ กระจายไปตามระบบบริการในพื้นที่ขาดแคลน    ผลชัดเจนว่า ลด นศ. ตกออก  และลดค่าใช้จ่าย    ค่าใช้จ่ายต่อหัวบัณฑิตในหลักสูตร ๕ ปี เท่ากับ $ 162,000 หรือประมาณ ๕ ล้านบาทเศษ

          อีกท่านหนึ่งเสนอโครงการ CapacityPlus    ที่สหรัฐอเมริกาใช้ความช่วยเหลือด้านการผลิตบุคลากร สุขภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั่นเอง   

          ที่ผมชื่นชมที่สุดคือเรื่องราวของ Northern Ontario School of Medicine  แคนาดา    ที่รัฐตั้ง โรงเรียนแพทย์ขึ้นมาผลิตแพทย์ให้แก่คนในพื้นที่ที่มีคนเพียง ๘ แสนคนกระจัดกระจายอยู่ใน พื้นที่กว้างใหญ่ เท่ากับประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศสรวมกัน   นี่คือโรงเรียนแพทย์ชนบทตัวจริง    และใช้หลักสูตรการเรียนการสอน แบบที่ล้ำหน้า ไม่เหมือนโรงเรียนแพทย์ใดๆ ในแคนาดา    ที่เขาเรียกว่า community-engaged education    Roger Strasser คณบดี ไปจากออสเตรเลีย    ผมไปพบที่บราซิล   ท่านได้รับรางวัลครูตัวอย่างจาก PMAC 2014 ด้วย

          PS 2.4 What Difference Can Transformaive Learning Make to Improving Performance of Health Workers?    ผมไปเข้าห้องย่อยนี้ (มีทั้งหมด ๗ ห้องย่อยพร้อมกัน) เพราะอยากรู้วิธีวัด performance ของบัณฑิต    ซึ่งจากการประชุม ผมสรุปว่าไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว    พวกนักวิชาการสายพัฒนา อยากได้เครื่องมือวัด ที่ใช้เปรียบเทียบกันได้    แต่ผมว่าผลกระทบที่ระบบสุขภาพดีขึ้น สุขภาพของผู้คนดีขึ้น คือตัววัดที่แท้จริง

          เป็นอันจบการประชุมวันแรก

          แต่ไฮไล้ท์ อยู่ที่พิธีเลี้ยงรับรองตอนค่ำ ที่มี Dinner Talk โดย Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลก   ที่กล่าวถึงเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็ได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ    คือการรักษาผู้ติดเชื้อ เอ็ชไอวี    กับระบบ คุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าของไทย    พลังใจจากความสำเร็จทั้งสองเรื่อง น่าจะเป็นตัวอย่างให้เรื่องยากยิ่ง ที่เราไปประชุมกัน คือ การเปลี่ยนโฉมการศึกษา เพื่อความเป็นธรรมด้านสุขภาพ (Transforming Education for Health Equity) ให้สำเร็จได้    อ่านต้นฉบับปาฐกถาได้ ที่นี่ 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑ ก.พ. ๕๗

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562684เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2014 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2021 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท