เถรวาท


เมื่อพระพุทธองค์ใกล้จะดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงบอกกับพระอานนท์ไว้ว่า ... อานนท์ ในกาลข้างหน้า ถ้าสงฆ์ต้องการจะ "เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย" ก็จงเพิกถอนเถิด...
คำว่า เถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ หมายความว่า พระอานนท์และพระเถระอื่นๆ ได้ประชุมกันรวบรวมพระพุทธพจน์ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้นๆเอามาจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ท่องจำสืบต่อกันมา
ต่อมาได้มีนิกายย่อยๆ เกิดขึ้นมากหลาย ประมาณร้อยปีนั้น มีนิกายที่แตกแยกออกไปถึง ๘ นิกาย แต่ว่านิกายเหล่านั้นแตกแยกออกไปแล้ว ในที่สุดก็สลายตัวหมด คงเหลือแต่เถรวาท มาภายหลังเมื่อเกิดมหายานขึ้น มหายานก็เลยเรียกเถรวาท หรือพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนี้ว่าเป็น หินยาน แล้วก็เรียกตัวเองว่า มหายาน แปลว่า ยานใหญ่
ส่วนหินยานแปลว่า ยานเลวหรือว่ายานเล็กๆน้อยๆ คือสมัยที่เกิดการแก่งแย่งกันขึ้นเลยเรียกเถรวาทด้วยชื่อที่ไม่ดี แต่ว่าในครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เรามีการรวบรวมพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกบรรดามีมาประชุมร่วมกัน ที่เรียกว่าพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist) ในครั้งแรกนั้นก็ได้มีการเสนอญัตติขอให้เลิกเรียกคำว่าหินยาน เพราะว่าเป็นการเรียกแบบดูหมิ่นกัน หรือว่าเป็นการแสดงความแข่งขันทะเลาะวิวาทกันใ ห้คงเรียกเถรวาทตามเดิม คือวาทะของพระเถระที่ท่องจำพระพุทธวจนะสืบต่อกันมาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธวจนะที่นำสืบต่อกันมาทางสายเถรวาทนี้ได้พยายามรักษาของเก่าดั้งเดิมไว้ทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทนี้ในปัจจุบันก็มีอยู่คือ ประเทศไทย ประเทศลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวม ๕ ประเทศด้วยกัน ส่วนประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายมหายานนั้นก็ได้แก่ ธิเบต ญวน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จำนวนก็จะพอๆ กัน แต่ว่าวิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุเกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มีครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ในฝ่ายเถรวาทซึ่งท่านใช้ภาษาบาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคอนเซอร์เวตีฟก็ได้
http://dharma-gateway.com
    เมื่อพระพุทธองค์ใกล้จะดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงบอกกับพระอานนท์ไว้ว่า ... อานนท์ ในกาลข้างหน้า ถ้าสงฆ์ต้องการจะ "เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย" ก็จงเพิกถอนเถิด...
    แต่หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว...
    พระภิกษุกลุ่มหนึ่งมีความเห็นที่จะไม่เปลี่ยนแปลงสิกขาบทต่างๆ โดยยึดคำสั่งสอนจากการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกเป็นหลัก เพื่อรักษาความถูกต้องดั้งเดิมให้แก่คนรุ่นหลัง
    กลุ่มนี้คือ เถรวาท
    พระภิกษุอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าควรมีการเพิกถอนสิกขาบทได้ตามพุทธดำรัส ทำให้มีการเพิกถอนสิกขาบทต่างๆนานา เกิดนิกายมากมาย
    บางนิกายถึงขั้นให้ภิกษุแต่งงานได้
    กลุ่มนี้คือ มหายาน
    อยากให้อ่านรายละเอียดในกระทู้นี้ด้วยนะครับ
    http://larndham.net/index.php?showtopic=22169&st=0
    ____________________________________
    กุสีตัสสะ อนุปปันนา เจวะ อกุสลา ธัมมา อุปปัชชันติ
    อุปปันนา จ กุสะลา ธัมมา ปริหายันติ
    เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว
    อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
    และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป
    เอกนิบาต 20/11
เครื่องวัดความก้าวหน้าปี 49
ดูว่าโกรธน้อยลงไหม - เอาแต่ใจตัวน้อยลงไหม
เป็นสมาธิได้แบบไม่โลภไหม - ระหว่างวันเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตอยู่เรื่อยๆไหม
...........................................
เราปฏิบัติไม่ใช่เอาดี ไม่ใช่เอาสุข ไม่ใช่เอาสงบ ไม่ใช่เอาเที่ยง -พระอ.ปราโมทย์ ปาโมชโช
ผมว่าเหตุการณ์ที่ได้แบ่ง เถรวาท กับ มหายาน(อาจริยวาท)  ชัดเจนที่สุดน่าจะอยู่ที่
คัมภีร์ กถาวัตถุ
         พระอภิธรรมปิฏก คัมภีร์ที่ ๔
http://larndham.net/index.php?showtopic=11438&st=0&hl=กถาวัตถุ
                  ในร้อยแห่งปีที่  ๒  (คือ  ภายในพระพุทธศักราช    ๒๐๐  ปี)   อาจริยวาท (ลัทธิแห่งอาจารย์)   ทั้งหมดรวม  ๑๘  นิกาย  คือ  ๑๒  นิกายที่แยกมาจากเถรวาทเหล่านี้    และนิกายอาจริยวาท  ๖  (ที่แตกแยกมาจากตระกูลอาจารย์มหาสังฆิกะทั้งหลาย)  ฉะนี้แล ฯ
                    คำว่า  นิกาย  ๑๘  นิกายก็ดี   ตระกูลอาจารย์  ๑๘  ตระกูลก็ดี   เป็นชื่อของนิกายที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น   นั่นแหละ ฯ   อนึ่งบรรดานิกาย  ๑๘  นิกายเหล่านั้น   ๑๗  นิกายบัณฑิตพึงทราบว่า  เป็นนิกายที่แตกแยกกันมา   ส่วนเถรวาท  บัณฑิตพึงทราบว่า  เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน ฯ
                                           พระราชาผู้ทรงธรรม
หมายเลขบันทึก: 56246เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท