ธรรมะจัดสรร ส่งตรงจาก Facebook


ธรรมะไม่ได้มีแค่ในวัด แต่ธรรมะยังมีให้ศึกษาใน Facebook ด้วย

ที่มา : http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=14925

 

งานวิจัย เรื่อง "การเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี"

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบ เนื้อหา ภาษา ที่ใช้สื่อสารเพื่อเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (2) เพื่อศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับสารที่มีต่อการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาในแง่ของผู้ส่งสาร โดยศึกษาผลงานของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ที่เผยแผ่ทางสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2555 การศึกษษวิจัยในแง่ของผู้รับสาร โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่าง อายุ 18-24 ปี จำนวน 8 คน และอายุ 25-34ปี จำนวน 8 คน รวม 16 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่เป็นเฟซบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

ผลงานวิจัยพบว่า

รูปแบบของการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ใช้กรอบแนวคิดการนำเสนอแบบมัลติมีเดียพบว่าเฟซบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีมีการใช้มัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์ทุกรูปแบบ โดยเป็นการกระจายไปยังเมนูต่าง ๆ อย่างครบถ้วน โดยมีการใช้ข้อความตัวอักษร (text) มากที่สุดจำนวน 10 เมนู รองลงมาคือ การใช้รูปภาพ (Image) จำนวน 8 เมนู วิดีโอ ลิงค์ดาวน์โหลด (Video Link Download) จำนวน 6 เมนู และการใช้เสียง (sound) จำนวน 5 เมนู และยังพบอีกว่าในแต่ละเมนูมีการนำเสนอแบบมัลติมีเดียมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งเป็นการผสมผสานเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และดึงดูดเป้าหมายให้เข้าใช้งาน

ด้านเนื้อหาจากการศึกษาพบว่าภายในเมนูไทม์ไลน์ เฟซบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fan Page) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นเนื้อหาประเภทข้อคิด หลักธรรม คำสอนมากที่สุด

ด้านภาษาจากการศึกษาพบว่า ภาษาที่ใช้ในการเผยแผ่ธรรมะส่วนใหญ่ใช้ภาษาแบบที่ไม่เป็นทางการ จำนวน 35 หัวข้อ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั้นกระชับ และคล้องจอง ส่วนภาษษที่เป็นทางการ จำนวน 8

จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างถึงความต้องการและความพึงพอใจต่อการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี และอายุ 25-34 ปี มีความต้องการและความพึงพอใจ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการเข้าใช้งานประมาณ 3-9 เดือน และสนใจต่อรูปแบบการนำเสนอ ด้วนการใช้ภาษาที่เรียบง่าย มีการสอดแทรกภาษาบาลี และภาษาอังกฤษพร้อมคำแปล โดยกลุ่มตัวอย่างจะเน้นไปที่การอ่านข้อความเพื่อทำความเข้าใจด้วยตนเอง และจะไม่มีการโต้ตอบกลับไปยังข้อความที่โพสต์ขึ้น หากพึงพอใจก็จะทำการถูกใจ (Like) เท่านั้น และเห็นว่าข้อคิดคำคมที่นำมาเผยแผ่นั้นเป็นประโยชน์ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงานได้

 

เฟซบุ๊ค แฟนเพจ : https://www.facebook.com/v.vajiramedhi

ดาวน์โหลดเอกสาร : การเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

 

บรรณนุกรม

ธนิพร จุลศักดิ์. (2554). การเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี.
          วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศสตร์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ:
          วิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท