สรุปความรู้จาก 2006 Hangzhou World Leisure Expo


ตัวอย่างของผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมที่ผมต้องการช่วยเหลือ เช่น เด็กและวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรค Autism, Depression, Psychosis, Chronic Fatigue Syndrome เป็นต้น หากท่านใดที่กำลังดูแลหรือรู้จักผู้ป่วยดังกล่าว ก็ช่วยประชาสัมพันธ์ให้มาลงชื่อเพื่อรับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดต่อไปครับ http://www.ptms/mahidol.ac.th
 Edgar L. Jackson, University of Alberta กล่าวว่า  

การให้คำจำกัดความ Leisure ยังคงมีข้อสรุปไม่แน่นอน เนื่องจากสาเหตุของปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างชาติตะวันออกและชาติตะวันตก เช่น วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา และการจัดการทางการเมือง

 

โดยความหมายกว้างๆ Leisure คือ การใช้เวลาว่างนอกเหนือจากการทำงานหรือการทำกิจกรรมที่มีข้อตกลงกัน และการจัดการปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ Leisure ในสังคมหนึ่งๆ นั้นต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยผลกระทบของ Leisure ต่อนโยบายและการจัดการปัจจัยหลักทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาตัวแปรของการเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรมของคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เวลาว่าง (leisure-related behavior) และนโยบาย/การจัดการกิจกรรมที่เกิดจากการใช้เวลาว่าง (leisure management-planning-policy)

 

Yoshitaka Iwasaki, Temple University กล่าวว่า

ทัศนคติสากลของความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม เน้นกลไกของการให้ความหมายที่ชัดเจนของ Leisure ที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรโลก เช่น ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ดีและมีความสุข (emotions and well-being) จากการใช้เวลาว่างที่มีประโยชน์ การรู้จักตนเองและความภาคภูมิใจของตนเอง (self identity and self-esteem) จากการใช้เวลาว่างที่มีประโยชน์ การเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการของคนเราทุกเพศทุกวัย (learning and human development across life-span) จากการใช้เวลาว่างที่มีประโยชน์ 

Karla A. Henderson, North Carolina State University กล่าวว่า

การให้การศึกษาเรื่อง Leisure ควรกระทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนเราทุกเพศทุกวัย โดยมีพัฒนาการมาจากความเชื่อและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล มีการนำเสนอในรูปแบบเฉพาะตัวหรือแบบสากลที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมนันทนาการ (recreation) กิจกรรมการใช้เวลาว่าง (leisure) กีฬา (sport) และการท่องเที่ยว (tourism) มีการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลต่อปัจจัยทางสังคมและนิเวศวิทยา 

 

Roger C. Mannell, University of Waterloo กล่าวว่า

Leisure ไม่ได้มีผลกระทบโดยอัตโนมัติต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะพฤติกรรมของคนเราที่แตกต่างกันในการเลือกกิจกรรมที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ ดังนั้นตัวเลือกและกิจกรรมการใช้เวลาว่าง (leisure choices and activities) อาจสามารถส่งผลกระทบอย่างเป็นกลาง (neutral impact) หรือทางลบ (negative impact) ได้ หลายงานวิจัยสรุปผลดีของการใช้เวลาว่างในรูปแบบกิจกรรมการออกกำลังกาย แต่ประโยชน์ของการใช้เวลาว่างต่อสุขภาพทางจิตยังคงต้องวิจัยศึกษากันต่อไป นักวิจัยบางท่านแนะนำถึงประโยชน์ของการใช้เวลาว่างในรูปแบบกิจกรรมที่สนุกสนานต่อการลดความเครียดและความเจ็บป่วย แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพทางจิตสังคมระหว่างตัวผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และสังคมที่ผู้ป่วยดำรงชีวิต ก็เป็นรายละเอียดที่เราต้องศึกษาในอนาคต

 

บันทึกนี้เป็นตัวอย่างของการรวบรวมความคิดเห็นของศาสตราจารย์ที่ทำงานทางด้าน Leisure ในระดับนานาชาติ ผมเองก็กำลังจะจบงานเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง Leisure & Health-related quality of life in Fatigue secondary to chronic conditions และในปีหน้า ผมกำลังจะเริ่มงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัดและหลักสูตรกิจกรรมบำบัดของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเน้นการให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคมรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสามารถมีความสุขในการทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้ 

หมายเลขบันทึก: 56148เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • รอดู  Leisure & Health-related quality of life in Fatigue secondary to chronic conditions
  • ครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท