ประชุมสมาคมรังสีหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย


APCCVIR 2006

ประชุมสมาคมรังสีหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย

ประชุมสมาคมรังสีหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย จัดที่ รร.ดุสิต รีสอร์ท พัทยา ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2549 นี้ ทางชมรมก็จะไปร่วมประชุมด้วย มีอะไรจะมาบอกเล่ากันนะครับ ครั้งนี้เป็นประชุมนานาชาติ APCCVIR 2006 ด้วยนะ

ทางชมรมฯได้พบบทบรรยายที่น่าสนใจ จึงขอสรุปมาให้อ่านกันนะครับ
Josef Rosch , USA
ได้บรรยายเรื่อง ประวัติศาสตร์ระดับโลกของรังสีร่วมรักษา

โดยเริ่มว่า รังสีร่วมรักษาได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในราวช่วงปี 1950 ในประเทศสวีเดน จากการคิดเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า seldinger’s technique ซึ่งเป็นการสอดใส่สายสวนหลอดเลือดผ่านเข้าทางผิวหนัง และ การพัฒนาสายสวนหลอดเลือดให้ทึบรังสีโดย Odman และได้รับการเพิ่มพูนความสำคัญจาก Charles Dotter ในราวปี 1963 -64 เกี่ยวกับ cardiac catheterization และได้เริ่มทำหัตถการขั้นสูง เช่น transluminal angioplasty ซึ่งต่อมา Margulis ได้เปลี่ยนมาใช้เทอมว่า interventional radiology (รังสีร่วมรักษา) ต่อจากนั้นการทำรังสีร่วมรักษาก็ได้เริ่มขยายไปในญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกา

ในราวปี 1970 ได้มีการคิดค้นวัสดุสำหรับการอุดเส้นเลือดโดย Djindjan and Merland ได้นำเสนอ gelfoam และ acrylate glue ,
การใช้ balloon เสนอโดย Serbenenko
Stent ชนิด nitinol โดย Dotter and Cragg ในปี 1983 ,
balloon stent โดย Palmaz,
medinvent นำเสนอ wallstent ,
Gianturco นำเสนอ Z stent and flex stent , Strecker นำเสนอ balloon tantalum stent , Parodi นำเสนอ stent graft ,

และได้มีการเพิ่มหัตถการขั้นสูงอื่นๆ เช่น pulmonary AVM embolization โดย White,
Uterine fibroid embolization โดย Merland, Goodwin and Spies,
การรักษามะเร็ง tumor embolization โดย Wallace’s group , Yamada and Uchida ในด้านการรักษามะเร็งตับ hepatoma
Allison, Kaufman, Keller, Park, Reidy, Tan, Vaeusorn and Yakes สำหรับหัตถการแบบ percutaneous embolization

อีกทั้งเกิดการจัดตั้งสมาคมรังสีร่วมรักษา เช่น
SIR ในอเมริกา
CIRSE ในยุโรป
APCCVIR ในเอเชียแปซิฟิก

คำสำคัญ (Tags): #ir
หมายเลขบันทึก: 56137เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2006 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท