"อายุมิใช่เป็นเพียงตัวเลข" หนังสือดีที่น่าอ่าน


วันนี้นำเนื้อหาจากหนังสือเลมหนึ่งมาถ่ายทอดค่ะ

 “อายุมิใช่เป็นเพียงตัวเลข”

“Don’t  grow old but grow up” (ชื่อเดิมคือ"อย่าแก่ลง แต่จงเติบโตขึ้น") เขียนโดยมิสซิส เดล คาร์เนกี แปลและเรียบเรียงโดย เศียรเศวต

จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ P.S.GROUP

 

 

       เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้บอกถึงเคล็ดลับที่จะทำให้โตขึ้นด้านความคิด ปัญญาและจิตใจตามอายุที่เพิ่มขึ้น  มี17 บท ทุกบทมีตัวอย่างและหยิบยกสถานการณ์มาประกอบค่ะ

บทที่ 1 อย่าเตะเก้าอี้

        ก้าวแรกเราต้องรับผิดชอบตนเอง ยอมรับความผิดพลาดและเผชิญกับผลที่จะตามมา อย่าโทษคนอื่น

บทที่ 2 ลูกตุ้มถ่วงชีวิต

        สิ่งที่เราอาจมองเป็นลูกตุ้มเช่นปัญหา อุปสรรคแม้แต่อายุเอง  เอามาเป็นเครื่องกระตุ้น ส่งเสริมกำลังใจ ไม่บ่นว่าเหตุการณ์ต่างๆเอาอุปสรรคมาให้เรา

บทที่ 3 หลัก5ประการ

        การยอมรับการสูญเสีย เราต้องก้าวไปข้างหน้า เคราะห์กรรมมิได้เป็นสิ่งที่ร้ายกาจเสมอไป มีหนทาง5ประการเอาชนะหรืออยู่เหนือเคราะห์กรรมคือ ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้น ให้เวลาเยียวยา ปฏิบัติบางอย่างเพื่อต่อสู้ความเดือดร้อนยุ่งยาก ง่วนอยู่กับการช่วยเหลือคนอื่น จงใช้ชีวิตทั้งหมดของเราอย่างดีทีสุดขณะยังมีลมหายใจอยู่และจงนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ยังคงเป็นของเราอยู่

บทที่ 4 ศรัทธาคือรากฐาน

       หลายคนผ่านเคราะห์ร้ายมาได้เพราะมีศรัทธาต่อการไม่ยอมจำนน

บทที่ 5 วิเคราะห์ก่อนปฏิบัติ

        ไม่หุนหันพลันแล่น หรือด่วนตัดสินใจอะไร การหยั่งรู้ รอบรู้ รอบคอบ

บทที่ 6 คำพูด...เปลี่ยนแปลงชีวิต

         การมีจิตใจเป็นผู้ใหญ่ ย่อมมีสมรรถภาพในการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งทันทีเมื่อจำเป็น  อย่ากลัวที่ต้องตัดสินใจ อย่ากลัวการรับผิดชอบที่จะตามมา

บทที่ 7 รู้จักตนเอง

          รู้จักตัวเอง เพื่อรอบรู้ในเรื่องความมีจิตใจเป็นผู้ใหญ่  ยอมรับนับถือคนอื่น สำนึกในความเป็นมนุษย์ของเราตลอดเวลา ทำความรู้จักมักคุ้นกับตัวเราเอง มีมุมเงียบสงบของตนเอง ทำลายความเคยชินและค้นหาว่าสิ่งใดให้ความพึงพอใจแก่เราอย่างลึกล้ำ

บทที่ 8  ชอบตนเอง 

          ทำนุบำรุงลักษณะนิสัยดีงามที่สุดของเราให้เป็นประโยชน์  อย่าวิตกกังวลอยู่แต่เรื่องความพลาดพลั้งและ                ความบกพร่องในอดีต เราอาจทำสิ่งต่างๆม่สมบูรณ์ได้เป็นเรื่องธรรมดา เราต้องชอบตนเอง เคารพตัวเอง หาความสนุกเพลิดเพลินด้วยตัวของเราเอง

บทที่ 9 เป็นตัวของตัวเอง

         เชื่อมั่นในตนเอง  แค่มีคนไม่เห็นพ้องกับเรา เราอย่าเข้าใจว่าเราเป็นฝ่ายผิดเสียแล้ว บ่อยครั้งที่การคล้อยตามมีสาเหตุมาจากความหวาดหวั่น

บทที่ 10 อย่าก่อความรำคาญ 

          กล่าวถึงเทคนิคการสนทนาที่น่าเบื่อ เช่น พูดถึงลูกหลานหรือสัตว์เลี้ยงโดยไม่รู้จักจบสิ้น หนีจากจุดสนทนา แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ พูดแต่สิ่งที่ตนนิยมเท่านั้น โต้แย้งอย่างไม่ยอมลดละในสิ่งที่หยิบยกขึ้นมาสนทนา เป็นผู้มองสิ่งต่างๆในแง่ร้ายตลอดกาล

บุคคลที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วยจิตใจที่พัฒนาแล้ว สามารถสนทนาเกือบทุกเรื่องโดยไม่ทำความรำคาญให้คู่สนทนา

 

 

บทที่ 11 การผจญกับสิ่งที่น่าตื่นเต้นในชีวิตผู้ใหญ่

         การศึกษาและการปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น การลงทุน การพัฒนา พัฒนาจิตใจ พัฒนาสติปัญญา  พัฒนานิสัยการอ่าน เป็นพฤติกรรมที่น่าตื่นเต้น กระโจนเข้าสู่การผจญภัยแห่งการศึกษาเล่าเรียน

บทที่ 12 ความว้าเหว่

          เมื่อมีการสูญเสีย ถ้าเราจะเอาชนะความว้าเหว่เราต้องสลัดเงาดำทมึนแห่งความสมเพชตนเองทิ้งเสีย มีความกล้าสู่มิตรภาพใหม่ๆ พบปะผู้คน มีความเฉลียวฉลาดในการใช้ชีวิต

บทที่ 13 ความน่าพิศวงของมนุษย์

          มนุษย์มีปะปนกันไป เราต้องใคร่ครวญ เข้าใจธรรมชาติ สมรรถภาพของบุคคล มองภาพรวม ไม่ด่วนสรุปคน "นกนางแอ่นบินมาตัวเดียวมิได้หมายถึงฤดูร้อนกำลังมาถึง" บุคคลที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมองเห็นซึ้งและยอมรับพื้นฐานความดีคนอื่น

บทที่ 14 ทำไมผู้อื่นจะต้องขอบคุณ?

          เคล็ดลับความสุข  การรักผู้อื่นด้วยความสุจริตใจ มีวิธีสร้างมิตรภาพ ผูกมิตรที่ดี ใส่ใจบริการ มุ่งมั่นการให้มากกว่ารับ มีเทคนิคการพูดต่อหน้าคนอื่น ความรักเป็นรากฐานความก้าวหน้าของมนุษย์และความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องวัดความเจริญของจิตใจ

บทที่ 15 กลัวความแก่

         วัยชราสร้างแรงกระตุ้นและพลังก่อประโยชน์ของเราเอง  เราทำลายความหวาดกลัวอันไร้ประโยชน์ จดจ่ออยู่เฉพาะการปฏิบัติตนในสิ่งที่จะพัฒนาความเติบโตของจิตใจและความเจริญของวิญญาณ

บทที่ 16 อยู่ให้ถึง100ปี

         คนอายุยืนมักจะมีการปฏิบัติตนด้านปรับปรุงบุคลิกลักษณะ การปรับปรุงอารมณ์ให้ดี  มีเสรีภาพในการดำรงชีวิต เป็นมิตรกับคนทั่วไป ชอบและรักงานของตน มีสุขภาพดีพอควร สนใจอย่างยิ่งต่อความเป็นไปของชีวิต สามารถดูแลตนเองได้และสนใจในการดำรงชีวิตยิ่งกว่าจะหวาดกลัวความตายมีโอกาสมีชีวิตยืนยาว

บทที่ 17 อย่าหลงใหลในเก้าอี้โยก

         การทำงานเป็นหลักการเบื้องต้นแห่งการดำรงชีวิต มีสุขภาพดีและเกิดประโยชน์ ทำให้เราแก่ช้าลง  การมีนิสัยชอบทำงาน พาตัวเราหลุดพ้นความเครียด การทำงานด้วยมือหรือด้วยสมองเป็นพลังอันทรงอำนาจที่สุดของธรรมชาติในการดูแลเราให้มีอายุมากด้วยจิตใจที่เติบโตแล้ว ส่งเก้าอี้โยกคืนและทำตัวเป็นคนมีภาระยุ่งอยู่เป็นประจำ 

 

 

อ่านแล้วได้เตือนตน

หลายข้อเรามีแล้ว หลายข้อเราละเลยและหลายข้อเราทำอยู่ 

เปิดโลกกว้างทางปัญญา อ่านหนังสือวันละนิด จิตแจ่มใสค่ะ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 560765เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 06:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

_สวัสดีครับ...

_เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากนะครับ

_ขอบคุณบทสรุปสั้นๆได้ใจความ....จากบันทึกนี้ครับ

_เปิดโลกกว้างทางปัญญา....

_ขอบคุณคร้าบ....

ขอบคุณมากค่ะคุณเพชรน้ำหนึ่ง

วันหยุดได้ค้นหนังสือดีๆมาปัดฝุ่น อ่านรอบสอง ดีค่ะ อ่านคราวนี้ได้บันทึกไว้

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์อ.นุ

อาจารย์ Wasawat Deemarn

และคุณมะเดื่อค่ะ

แค่เห็นบทสรุปก็น่าสนใจและอุ้ม อยากอ่านฉบับจริงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท