Change to the Best กับ งานส่งเสริมการเกษตร


ขอนำเอานโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร มาบันทึกไว้บนพื้นที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้นี้ซักหนึ่งบันทึกนะครับ...ทั้งนี้เพื่อต้องการแบ่งปันและส่งต่อนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของผมมาเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัิติให้บรรลุผลในระดับพื้นที่ และบันทึกไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานของตัวผมในฐานะ "นักส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่"ด้่วยคร้าบ!!!!

                                -ขอนำเอาเรื่องราวของ Change to the Best กับงานส่งเสริมการเกษตร มาฝากกันในบันทึกนี้ซักหน่อยก็แล้วกันนะครับ สำหรับเรื่องราวที่ผมจะได้นำมาแบ่งปันให้ผู้อ่านได้ติดตามกันในวันนี้ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับผมในฐานะของ"นักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่"ครับ..เอาเ็ป็นว่าวันนี้เรามาร่วมกันเรียนรู้ถึงแนวทางการดำเนินงานของระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ที่มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า MRCF System ระบบที่จะทำให้พวกเราชาว"ส่งเสริมการเกษตร"ได้รับการยอมรับและมีความชัดเจนในสายตาของบุคคลภายนอกองค์กรได้เห็นถึง บทบาท และอัตลักษณ์ของนักส่งเสริมการเกษตรอย่างชัดเจนในฐานะของ"ผู้จัดการการเกษตรในพื้นที่"และ"ผู้นำการเปลี่ยนแปลง"คร้าบ!!!!!

                                 เกริ่นนำกันไปเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ หรือ MRCF System ให้ได้คุ้นเคยกันไปแล้ว เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าระบบ MRCF คืออะไร? และจะนำไปขับเคลื่อนเพื่อสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างไรบ้าง....งานนี้ก็คงต้องมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ....

                                ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมรับฟังนโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบใหม่นี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาครับ...และได้ตั้งใจเอาไว้ว่าจะนำมาบันทึกไว้เพื่อแลกเปลี่ยนกับมิตรรัก G2K และผู้ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ โดยเฉพาะพี่น้องชาวส่งเสริมการเกษตรที่อาจจะผ่านเข้ามาอ่านและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานเพิ่มเติมจากบันทึกนี้ได้ ซึ่งผมในฐานะ"นักส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่"ก็จะขอนำเอา"นโยบาย"ที่ได้รับฟังมาปรับ"สู่การปฏิบัติ"ในแบบฉบับของ"เพชรน้ำหนึ่ง"ให้ได้ร่วมติดตามชมกันครับ...เอาเป็นว่าพร้อมแล้ว ตามผมไปศึกษาข้อมูลกันต่อได้เลยคร้าบ!!!!

                               "Mapping Remote Sensing Community Participation Specific Field Service"เป็นชื่อเต็มของระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่นี้ครับ โดยเรียกย่อๆ ว่าระบบ MRCF เ็ป็นระบบการทำงานที่จะเริ่มใช้ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งผู้บริหารของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ตั้งใจเอาไว้ว่าจะใช้ระบบการทำงานนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่ และเพื่อให้เห็นภาพของการทำงานในระบบการส่งเสริมแบบใหม่นี้แบบง่าย ๆ ผมจึงขอนำเอาตัวอย่างและแนวทางการปฎิบัติงานมาบันทึกไว้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่สนใจและเรียนรู้ระบบใหม่ ไปพร้อมๆ กับผมครับ...

1.Mapping  คือ การนำเอาข้อมูลแผนที่และใช้แผนที่ มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการข้อมูลในระดับพื้นที่ครับ.... สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในการนำเอาข้อมูลแผนที่มาใช้ในงานส่งเสริมการเกษตรก็คือ การชี้เขตพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล ที่ต้องการให้มีข้อมูลที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ว่ามีพื้นที่กรเกษตรจริง สามารถกำหนดจุดตำแหน่งในแผนที่ได้ และยังรวมไปถึงการนำข้อมูลที่ได้จากพื้นที่จริง เช่น ข้อมูลทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม มาเชื่อมโยงกับข้อมูลในพื้นที่ เืพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายของการทำงาน และวางแผนการพัฒนา รวมทั้งวางแผนการแก้ไขปัญหาได้ด้วยครับ....

 

  

 

2.Remote Sensing คือ การนำเอาข้อมูลและการสื่อสารระยะไกล เข้ามาใช้สำหรับการประสานและการให้บริการเกษตรกรโดยนักส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรสามารถเ้ข้าถึงข้อมูลหรือติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้มีช่องการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ หรือสื่อต่าง ๆ ที่กำลังเ็ป็นที่นิยม ก็สามารถนำมาเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างเกษตรกรและนักส่งเสริมการเกษตรได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และประหยัดเวลารวมทั้งสามารถสื่อสารข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ครับ....

 

3.Community Participation  คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ข้อนี้เป็นการนำเอาการทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่มาช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายของนักส่งเสริมการเกษตรครับ...ซึ่งจะเน้นให้มีส่วนร่วมในการ"รับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์"ซึ่งผลที่ได้ก็คือการได้ัรับประโยชน์ร่วมกันหรือ win win situation ครับ...

4.Speccific Field Service คือ การให้บริการทางการเกษตรแบบเฉพาะเจาะจง มีเป้าหมายชัดเจน ถือเป็นข้อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องการให้นักส่งเสริมการเกษตรเข้าพื้นที่อย่างมีเป้าหมาย เพื่อให้การส่งเสริมมีประสิทธิภาพและกลุ่มเป้าหมายได้รับผลประโยชน์พร้อมๆ  กับเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลัก ๆของนักส่งเสริมการเกษตร คือ กลุ่้มส่งเสริมการเกษตร,กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร,กลุ่มยุวเกษตรกร,หรือ"กลุ่มวิสาหกิจชุมชน"ที่ถือเป็นองค์กรเกษตรกรที่รอการพัฒนาและเพิ่มเติมความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ หากนักส่งเสริมการเกษตรมีเป้าหมายในการส่งเสริมแล้ว ก็จะทำให้ประสบผลสำเร็จในการปฎิบัติงานได้อย่างไม่ยากนัก...

                             และนี่ก็คือ ความหมายและการนำเอาหลักการของระบบ MRCF มาสู่การปฏิบัติในพื้นที่ของนักส่งเสริมการเกษตร อาจจะเป็นสิ่งใหม่ที่ตัวผมเพิ่งได้ทำความรู้จัก แต่การที่ได้เรียนรู้และนำเอานโยบายมาปรับใช้ในระดับพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรมประเพณีของพื้นที่ ก็จะพยายามนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกรมากที่สุดครับ....เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็น  Change to the Best ของงานส่งเสริมการเกษตรนั้นเองคร้าบ!!!

                              สำหรับวันนี้ ขอจบบันทึกเกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ เอาไว้หลังจากที่นำเอาหลักการและแนวคิดต่าง ๆ ลงไปสู่การปฎิบัติงานในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว จะทยอยนำมาบันทึกให้ท่านได้ติดตามอ่านกัน ตามวิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมการเกษตรที่บอกเอาไว้ว่า"กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นองค์กรที่มุ่งมั่น ในการส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน"และพัฒนานักส่งเสริมให้ไปสู่การเป็นนักส่งเสริมมืออาชีพ หรือ Smart officer ต่อไปในอนาคต นั่นเองครับ...

                             ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติติดตามอ่านบันทึกนี้ด้วยนะครับ

 

                                                                                              สวัสดีครับ

                                                                                            เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                          17/01/2557



ความเห็น (23)

ขอบคุณแนวคิดดีๆเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฎิบัติในการพัฒนาเกษตรสู่ความยั่งยืน ขอบคุณค่ะ


ได้รับตอบ e-mail แล้วนะคะ .... ขอบคุณ....เรื่องราวดีดีนี้ค่ะ

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานจ้าาา

...ชื่นชมมิติใหม่ ด้านการส่งเสริมการเกษตรที่จะพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรสู่มืออาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดทางการเกษตรนะคะ

ดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆและDDDDDDDDDDD..........เปลี่ยนแปลงไปในทาง..ที่ดีกว่า......

ยอดเยี่ยมมากๆกับการถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ด้านการเกษตรไทย ขอบคุณและให้กำลังใจเสมอครับผม

อ่านแล้วพอสรุปสั้นๆ ได้ว่า เป็นการจัดระบบการทำงานให้มีแบบแผนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดแยกเป็น

๑.การวางแบบแปลนการพัฒนาในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอย่างชัดเจน ว่าพื้นที่ดังกล่าวสามารถปลูก ทำอะไรได้บ้าง

๒.ใครจะรับผิดชอบงานนั้น หรือจะรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด

๓.เมื่อปลูกหรือทำสิ่งใดแล้วติดขัดก็ให้มีการติดต่อประสานงานกันให้ได้อย่างสะดวก หลายแนวทาง

๔.ส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรให้ตรงกับความต้องการเป็นราย ๆ หรือกลุ่ม ๆ เช่น ปลูกผัก เพาะเห็ดลม ทำของขวัญของแม่บ้าน เป็นต้น

พี่หนานไม่ค่อยถนัดด้านภาษาอังกฤษเท่าไหร่ แต่อยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มตรงนี้สักนิด คือ ในฐานะที่เราเป็นนักส่งเสริมหรือที่ปรึกษาทางการเกษตร ๑. เราสามารถแนะนำให้ชาวบ้านหรือเกษตรกร สามารถเพาะเมล็ดพันธุ์หรือเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ ทั้งพันธุ์ผัก พันธุ์เห็ด พันธุ์ข้าว ข้าวโพด โดยไม่ต้องไปหาซื้อในท้องตลาด(ประหยัด) ๒.เราสามารถเปิดช่องทางการทำการเกษตรให้กับเกษตรกรได้หรือไม่ คือทำแล้วขายได้หรือไม่ ได้ราคาอย่างไร มีตลาดรองรับไหม ๓. ราคาข้าวอย่างทุกวันนี้ สามารถให้คำแนะนำได้หรือไม่ว่าชาวนาต้องทำนาแบบไหน ข้าวอะไร ทำเพื่อขายหรือ ทำเพื่อกิน และ ๔.อยากให้เสนอแนะแนวทางการทำบัญชีกับชาวบ้านให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะชาวบ้านมีหนี้สินกันมากเหลือเกิน ฤดูแล้งที่ไม่ได้ทำนาแบบปีนี้ เกษตรกรควรทำอะไรดี...

อย่าพึ่งเครียดหรือหลับเสียก่อนนะครับ...ในฐานะคนใชนชนบทคนหนึ่งที่ปรารถนาอยากให้ส่งเสริมหรือทำเป็นแนวทางกันอย่างจริงจัง...พรานกระต่ายอาจจะไม่มีปัญหาเหมือนบางแห่งก็ได้นะ...ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณมากนะคะ ที่นำ "Chang (Change หรือเปล่าคะ) to the Best กับงานส่งเสริมการเกษตร" มาสื่อสารให้เกษตรกรอย่างอาจารย์แม่ไอดินฯ ได้รับรู้ อาจารย์แม่ไอดินฯ ว่า "Change to be Better" ก็น่าจะพอนะคะ

วันที่ 25-27 มกราคม อาจารย์แม่ชวนพ่อใหญ่สอไปดูงานเกษตรฯ ที่ ม.ขอนแก่น และตั้งใจจะสมัครเข้ารับการอบรมนวัตกรรมการปลูกผักและเลี้ยงปลาในวันที่ 27 ด้วย เขาประชาสัมพันธ์ใน GotoKnow เมื่อ 2-3 วันก่อนค่ะ

อาจารย์แม่ไอดินฯ ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง (แทนประเทศไทย) ที่คุณเพชรฯ ได้ปฏิบัติตนทั้งในหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิตส่วนตัว เป็นแบบอย่างแก่อนุชนอย่างครบถ้วนตามคำขวัญวันเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งกว่าการกำหนดคำขวัญหลายเท่านัก นอกจากนั้นยังเป็นแบบอย่างของข้าราชการที่ทำงานเชิงรุก ลงพื้นที่เข้าถึงชาวบ้านแบบเป็นกันเอง และใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามคำสอนของพ่อหลวง เป็นข้าราชการในอุดมคติของอาจารย์แม่ไอดินฯ จริงๆ ค่ะ

ให้กำลังใจพี่เพชร สนับสนุน MRCF

แนวคิดนี้ดีมากเลยครับพี่


-สวัสดีครับป้าใหญ่..

-ถือเป็นแนวคิดที่ดีและจะบรรลุผลตามแนวคิดเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติครับ...

-ขอบคุณป้าใหญ่ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจในบันทึกนี้ครับ...

-สวัสดีครับคุณ nobita

-ขอบคุณที่มาช่วยยืนยันระบบ MRCF ครับ

-ท่านคงมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้...ขอคำแนะนำด้วยนะครับ..

-สวัสดีครับพี่หมอเปิ้น..

-ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับพี่หมอ..

-จะได้นำไปเป็นแนวทางในการวางแผนครั้งต่อไปครับ..

-ขอบคุณที่มาให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับครูมะเดื่อ

-ขอบคุณกรอบรูปสวย ๆนะครับ

-ดูสวยดีนะครับ

-ฝีมือเด็ก ๆ ใช้หรือเปล่าครับ..

-ขอบคุณที่มาให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ ดร.พจนา

-การส่งเสริมในมิติใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ถือเป็นแนวทางในการทำงานให้มีระบบและบรรลุผลตามเป้าหมายได้ง่ายและมีประสิทธิภาพครับ

-อาจจะต้องมีการปรับแนวทางบ้าง..ตามสถานการณ์ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยครับอาจารย์

-ขอบคุณที่มาให้กำลังใจบันทึกนี้นะครับ

-สวัสดีครับยายธี..

-การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี...ย่อมมีแต่สิ่งดีๆ ครับยาย..

-ว่าแต่...บางที..การที่ไม่ยอมรับ"การเปลี่ยนแปลง"ก็เป็นปัญหาในการ"เปลี่ยนแปลง"เช่นเดียวกันครับยาย..

-ขอบคุณยายธีที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับ Dr.Pop

-ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นะครับ

-ระบบงานแต่ละแห่งก็มีแนวทางที่ต้องปฏิบัติ..แต่สิ่งที่คาดหวังเหมือนกันก็คือ"คนสำราญ..งานสำเร็จ"ครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับพี่หนาน..

-ต้องขอขอบคุณพี่หนานที่มาเยี่ยมผมติดต่อกันในหลายๆ บันทึกก่อนหน้านี้ด้วยนะครับ

-สำหรับแนวทางการทำงานที่พี่หนานได้สรุปนั้นถูกต้องแล้วครับ...

-ในข้อเสนอแนะที่พี่หนานได้ให้ข้อคิดและข้อปฏิบัติไว้ ต้องขอน้อมรับไปปฏิบัติและขยายผลกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรครับ..

-สำหรับปัญหาด้านผลผลิตและด้านราคา..ถือเป็นปัญหาที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องและมีอยู่ทั่วประเทศครับ.ข้อนี้มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในระบบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของราคาผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งคงต้องหาทางแก้ไขและต้องช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ครับ.. แต่สำหรับนักส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ สิ่งหนึ่งที่จะทำได้และต้องพยามกันต่อไปก็คือ"การให้ความรู้และความเข้าใจในระบบการเกษตร ของบ้านเราครับ....และคงต้องปรับวิธีการส่งเสริมไปตามสถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย...สิ่งที่เป็นความหวังก็คือ"การใช้ชีวิตแบบพอเพียง..และเพียงพอ..ครับ.

-ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนและรับทราบปัญหาที่สะท้อนกลับมาให้พวกเรานักส่งเสริมการเกษตรได้ใช้เป็นแนวทางในการร่วมคิด ร่วมแก้ไข ในปัญหา ครับ.

-ขอบคุณคร้าบ!!!!

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน..

-ต้องขอขอบคุณ"เพื่อนภาษา"จาก"อาจารย์แม่ไอดิน"อีกครั้งนะครับ..ที่มาช่วยแก้ไขและแนะนำเกี่ยวกับ"ข้อมูลที่ถูกต้อง"ด้านการใช้ภาษา...และผมได้กลับไปแก้ไปขให้ถูกต้องแล้วเมื่อวันก่อน...ตอนนี้ได้ตรวจทานดูแล้ว..ถูกต้อง...แล้วครับ ฮ่า ๆ

-การอบรมนวัตกรรมที่ ม.ขอนแก่น น่าสนใจมาก ๆ นะครับ..เอาไว้จะรอติดตามบันทึกของอาจารย์แม่นะครับ...คาดหวังเอาไว้ว่าอาจารย์แม่ไอดินคงจะนำมาบันทึกเพื่อแบ่งปันกันผ่านบันทึกด้วยนะครับ..

-ได้เห็นประโยคที่อาจารย์แม่ไอดินบอกว่าเป็นตัวแทน"ขอบคุณผม..แทนประเทศไทย"นั้น มันดูยิ่งใหญ่มากๆเลยนะครับ...รู้สึก"เขินๆ"ยังไงบอกไม่ถูกครับ ฮ่า ๆ ๆ

-สำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตนั้น ผมต้องขอขอบคุณตัวอย่างและคำแนะนำดี ๆจากผู้ใหญ่หลาย ๆท่านที่ได้ให้คำแนะนำไว้น่ะครับ..และถือว่าผมได้มีโอกาสดีในการทำงานด้านนี้ครับ..และน้อง ๆ สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรก็น่ารักพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อม ๆกับผมครับ.

-ปีนี้อาจารย์แม่ไอดินรวมรูปให้ผมเป็นครั้งที่สองแล้ว...ต้องขอขอบคุณมาก ๆนะครับ

-ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้ครอบครัวเล็ก ๆของผมด้วยนะคร้าบ...

-สวัสดีครับคุณลูกหมูเต้นระบำ

-ขอบคุณที่มาให้กำลังใจและสนับสนุนแนวคิดนี้นะครับ

-ผมว่าอาจารย์คงจะมีแนวทางในการปฏิบัติงานด้านนี้ด้วย..

-ต้องขอคำแนะนำด้วยนะครับ..

-สวัสดีครับท่านเขียวมรกต

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมบันทึกนี้เช่นกันครับ

-Change to the Best


มาเป็นวิทยากรที่พะเยาได้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท