บทวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุ เมืองไทยวัยเก๋า วัยเก๋าทั่วไทย สูงวัยใช่เลย สูงวัยได้เกินร้อย อาวุโสโอเคและประกันชีวิต 50 อัพ


    ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับแบบประกันผู้สูงอายุ “อาวุโส โอเค” ของเอไอเอไปแล้วครั้งหนึ่ง ปรากฏว่ามีผู้อ่านสนใจในเนื้อหาอย่างล้นหลาม และถามถึงประเด็นอื่นๆเกี่ยวกับแบบประกันดังกล่าวเข้ามามากมาย ผมยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปตอบ วันนี้ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมและตอบคำถามที่มีผู้อ่านถามไว้จากบทความอัน ก่อน รวมทั้งนำเอาแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุของบริษัทประกันเจ้าอื่นมาเปรียบ เทียบถึงข้อดีข้อเสียระหว่างแบบประกันในกลุ่มนี้ด้วยกัน

    บ้านเราได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 10 ของประชากรในประเทศมาตั้งแต่ปี 2548ซึ่งตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่กำหนดไว้ว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้นประเทศไทยจึงนับได้ว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วโดยในปี 2555 จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 12.7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 8.6 ล้านคน (1)

    จากการที่บ้านเรามีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นนี่เอง ทำให้เจ้าของกิจการมองเห็นถึงโอกาสในการผลิตสินค้าเพื่อนำมาเสนอให้กับผู้ สูงอายุเหล่านี้ เราจึงได้เห็นสินค้าต่างๆมากมายที่เน้นจับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าประเภทประกันต่างๆ ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น

    เมื่อประมาณสัก 5 ถึง 10 ปีก่อนหน้านี้ ผู้ที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณที่มีอายุประมาณ 50ปีขึ้นไปจนถึงวัยเกษียณอายุ มักไม่ค่อยได้รับความสนใจจากบริษัทประกันชีวิตสักเท่าใดนัก เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังมีจำนวนไม่มาก ที่สำคัญคือคนที่มีอายุมาก ย่อมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมาด้วย เพราะผู้ที่อยู่ในวัยดังกล่าวส่วนใหญ่มักประสบกับการเสื่อมสภาพของร่างกาย และมักมีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งโรคอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับอายุที่เพิ่มขึ้นและความเสื่อมของร่างกาย ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งภาวะต่างๆเหล่านี้ในกลุ่มผู้สูงอายุจะมีความชุก (Prevalence) สูงกว่าวัยอื่นๆ นั่นย่อมทำให้ความเสี่ยงของการเสียชีวิตและทุพลภาพของผู้สูงอายุ สูงกว่าวัยอื่นๆตามไปด้วย บริษัทประกันชีวิตจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ เนื่องจากการรับประกันคนกลุ่มนี้อาจทำให้บริษัทประกันชีวิตประสบกับปัญหา อัตราการเสียชีวิตที่สูง ซึ่งนั่นย่อมทำให้โอกาสในการจ่ายค่าสินไหมมรณกรรมของบริษัทประกันชีวิตต้อง สูงตามไปด้วย

    แต่สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วนับตั้งแต่บ้านเราเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุมาได้สักระยะ เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุบ้านเรามีจำนวนมากขึ้น และมากเพียงพอที่บริษัทประกันชีวิตสามารถใช้กฎของจำนวนมาก (Law of Large Number) ร่วมกับกฎแห่งการเฉลี่ย (Law of Average) ในการคำนวณโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้บริษัทต้องจ่ายค่าสินไหมได้ อย่างแม่นยำจากความเสี่ยงของคนในกลุ่มนี้ เช่น โอกาสในการตาย (อัตรามรณะ หรือ Mortality Rate) โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ (Accident Incident) หรืออัตราการเกิดภาวะทุพลภาพ (Disability Rate) เป็นต้น นอกจากนี้การที่มีกลุ่มประชากรของผู้สูงอายุมากเพียงพอก็จะช่วยให้มีการ เฉลี่ยความถี่และความรุนแรงของความเสียหาย(Average frequency and Average severity of loss) ที่จะเกิดขึ้นน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทที่รับประกันมีโอกาสในการทำผลกำไรจากการรับประกันผู้เอา ประกันกลุ่มนี้ได้ อีกทั้งลูกค้ากลุ่มนี้มีเงินเก็บจากการทำงานช่วงก่อนเกษียณ ดังนั้นจึงค่อนข้างมีความมั่นคงทางการเงินดีกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นบริษัทประกันชีวิตจึงได้หันมาสนใจและให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มผู้ สูงอายุในฐานะที่เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ (Potential Customer )ส่วนลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุเองก็มองเห็นถึงความจำเป็นและมีความต้องการที่จะ ทำประกันชีวิตไว้เป็นหลักประกันความคุ้มครองและการออมเงิน เพื่อเก็บไว้เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานและไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลานหากตนเอง เสียชีวิต นอกจากนี้ลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุก็กังวลเรื่องสุขภาพของตน จึงต้องการทำประกันที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพได้ยิ่งดี เมื่อมีอุปสงค์ (Demand) ของลูกค้าที่มากเพียงพอ บริษัทประกันชีวิตก็ย่อมมีอุปทาน (Supply) ด้วยการออกผลิตภัณฑ์มาขาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

      ดังนั้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทประกันชีวิตหลายแห่งจึงเริ่มหันมาพัฒนาแบบประกันที่เน้นกลุ่มลูกค้า ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เอไอเอ เป็นบริษัทประกันชีวิตรายแรกที่ออกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ “อาวุโส โอเค” โดยมีคุณเศรษฐา ศิรฉายา ซึ่งเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของกลุ่มผู้สูงอายุเป็นพรีเซ็นเตอร์ หลังจากนั้นก็มีบริษัทประกันชีวิตอื่นๆทยอยออกแบบประกันเฉพาะผู้สูงอายุมา ขายเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด (Market share) ในแบบประกันกลุ่มนี้ ปัจจุบันพบว่ามีบริษัทประกันชีวิต 3 บริษัทที่ขายแบบประกันที่จับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะโดยที่ผู้เอาประกันไม่ ต้องตรวจสุขภาพหรือตอบคำถามสุขภาพ ได้แก่

1. เอไอเอ มีแบบประกัน “อาวุโส โอเค” และ “ประกันชีวิต 50 อัพ”

2. เมืองไทยประกันชีวิต มีแบบประกัน “เมืองไทยวัยเก๋า” และ “วัยเก๋าทั่วไทย”

3. อลิอันซ์อยุธยาประกันชีวิต มีแบบประกัน “สูงวัยใช่เลย” และ “สูงวัยได้เกินร้อย”

      แบบประกันของทั้งสามบริษัทต่างก็มีคุณลักษณะบางประการที่เหมือนและก็มีบาง คุณลักษณะที่แตกต่างกัน ตามแต่กลยุทธ์ของแต่ละบริษัทในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง (Product differentiation) เพื่อสร้างแรงดึงดูดความสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สิ่งที่เหมือนกันของแบบประกันทั้งสามบริษัท ได้แก่

1. อายุขณะเอาประกัน (อายุที่ถูกคำนวณ ณ วันที่ซื้อประกัน) 50 -70 ปี ยกเว้นแบบประกัน “เมืองไทยวัยเก๋า” และ “วัยเก๋าทั่วไทย” ที่รับประกันอายุ40 – 75 ปี

2. ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และไม่มีการถามคำถามสุขภาพ (ยกเว้นแบบประกัน “สูงวัยใช่เลย” ของอลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิตที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่มีคำถามสุขภาพ)

3. คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี

4. จ่ายเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ต้องจ่ายเบี้ย

5. ความคุ้มครองจากกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 2 ปีแรก (ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุนะครับกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะจ่ายอีกแบบ หนึ่ง) บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายสินไหม 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้ว (ไม่ใช่จ่ายตามทุนประกันนะครับ)

ตัวอย่าง ถ้าผู้เอาประกันซื้อทุนประกันไว้ 300,000 บาท จ่ายเบี้ยปีละ 20,805 บาท ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยปีที่สองไปแล้ว รวมเบี้ยที่จ่ายไปของปีที่หนึ่งและปีที่สองเป็นจำนวน 41,610 บาท หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตภายในปีที่สองพอดี ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินค่าสินไหมจากบริษัทประกัน 102% ของเบี้ยประกัน นั่นคือ 41,610 x 102%  =  42,442.20 บาท)

ตัวอย่าง ถ้าผู้เอาประกันซื้อทุนประกันไว้ 300,000 บาท จ่ายเบี้ยปีละ 20,805 บาท ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยปีที่สองไปแล้ว รวมเบี้ยที่จ่ายไปของปีที่หนึ่งและปีที่สองเป็นจำนวน 41,610 บาท หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตภายในปีที่สองพอดี ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินค่าสินไหมจากบริษัทประกัน 102% ของเบี้ยประกัน นั่นคือ 41,610 x 102%  =  42,442.20 บาท)

    สิ่งที่แตกต่างกันของแบบประกันทั้งสามบริษัท ได้แก่

1. ทุนประกันเริ่มต้น และทุนประกันสูงสุด

2. เบี้ยประกัน

3. ระยะเวลาในการชำระเบี้ย

4. ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในสองปีแรก

5. ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากทุกกรณีในปีที่สามเป็นต้นไป

6. ความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ

7. ผลประโยชน์หากผู้เอาประกันมีอายุอยู่จนครบกำหนดสัญญา (อายุครบ90 ปี)

                                                                           ตารางเปรียบเทียบแบบประกัน (2)

เงื่อนไข

เอไอเอ

เมืองไทยประกันชีวิต

อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต

    อาวุโสโอเค

ประกันชีวิต 50 อัพ

เมืองไทยวัยเก๋า

วัยเก๋าทั่วไทย

สูงวัยใช่เลย

สูงวัยได้เกินร้อย

อายุรับประกัน

50-70

  50-70

 40-75

 50-75

50-70

50-70

ทุนประกัน

50,000-200,000

50,000-300,000

30,000-400,000

30,000-500,000

50,000-200,000

50,000-300,000

 เบี้ยประกันเริ่มต้น (คิดจากเพศหญิงที่อายุเริ่มต้นทำประกันต่ำสุดและทุนประกันต่ำสุดของแต่ละแบบประกัน)

เริ่มต้นวันละ 6 บาท

เริ่มต้นวันละ 9 บาท

เริ่มต้นวันละ 4 บาท

เริ่มต้นวันละ 6 บาท

เริ่มต้นวันละ 6 บาท

เริ่มต้นวันละ 9 บาท

 การเปลี่ยนแปลงของเบี้ยประกัน

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา

 ระยะเวลาในการชำระเบี้ยประกัน

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระเบี้ย 10 ปี

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

 ระยะเวลาคุ้มครอง

ครบอายุ 90 ปี

ครบอายุ 90 ปี

ครบอายุ 90 ปี

ครบอายุ 90 ปี

ครบอายุ 90 ปี

ครบอายุ 90 ปี

 ลักษณะความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคทั่วไปและความชราในปีที่ 1-2

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

บริษัท จ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว

 ลักษณะความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปีที่ 1-2

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100%ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 200% ของทุนประกันชีวิต

 บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

 บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

 บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

 บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

ลักษณะความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 1-2

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 500% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 200% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 200% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต

ลักษณะความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 3 บริษัทจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 4 บริษัทจ่าย 110% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 5 บริษัทจ่าย 120% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 6 บริษัทจ่าย 130% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 7 บริษัทจ่าย 140% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 8 เป็นต้นไปบริษัทจ่าย 150% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

บริษัท จ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 3-5 บริษัทจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 6-8 บริษัทจ่าย 110%  ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 9-11 บริษัทจ่าย 120%  ของทุนประกันชีวิต 

เสียชีวิตในปีที่ 12-14 บริษัทจ่าย 130% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 15-17 บริษัทจ่าย 140% ของทุนประกันชีวิต

เสียชีวิตในปีที่ 18 เป็นต้นไปบริษัทจ่าย 150% ของทุนประกันชีวิต

ลักษณะความ คุ้มครอง กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 3เป็นต้นไป

บริษัทจ่ายเหมือนกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่ายเหมือนกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่าย 200% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย 200% ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่ายเหมือนกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่ายเหมือนกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

เงินคืนระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ

ไม่มี

ไม่มี

ไม่ มี

ไม่มี

ไม่มี

ได้เงินคืนปีละ 0.5% ของจำนวนเงิน เอาประกันภัยตอนผู้เอาประกันมีอายุ 72-75 ปี

ได้เงินคืนปีละ 1.0% ของ จำนวนเงินเอาประกันภัยตอนผู้เอาประกันมีอายุ 76-80 ปี

ได้เงินคืนปีละ 2.0% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยตอนผู้เอาประกันมีอายุ 81-89 ปี

ผล ประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนถึงครบกำหนดสัญญา (อายุครบ90 ปี)

บริษัท จ่าย100%ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย150%ของทุนประกันชีวิต

บริษัท จ่าย100%ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย100%ของทุนประกันชีวิต

บริษัท จ่าย120%ของทุนประกันชีวิต

บริษัทจ่าย150%ของทุนประกันชีวิต

การ ซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้าย

ซ้ือสัญญาเพิ่มเติมแนบไม่ได้

ซ้ือสัญ ญาเพิ่มเติมแนบไม่ได้

ซ้ือสัญญาเพิ่มเติมแนบไม่ได้

มีสัญญา เพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) แนบท้าย

ซ้ือสัญญาเพิ่มเติมแนบ ไม่ได้

ซ้ือสัญญาเพิ่มเติมแนบไม่ได้

การพิจารณา รับประกัน

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ไม่ ต้องตอบคำถามสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ

ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่มีคำถามสุขภาพ

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพและไม่ต้อง ตรวจสุขภาพ

*อุบัติเหตุสาธารณะ ได้แก่

  1. ไฟ ไหม้โรงมหรสพ, โรงแรมหรืออาคารสาธารณะ
  2. อุบัติเหตุอันเกิดแก่ รถไฟหรือรถโดยสารประจำทางที่ได้รับอนุญาตให้รับส่งผู้โดยสารในเส้นทางประจำ ซึ่งผู้เอาประกันภัยอยู่ในฐานะ ผู้โดยสารและเสียค่าโดยสาร
  3. อุบัติเหตุ อันเกิดแก่ ลิฟท์ ซึ่งผู้เอาประกันภัยกำลังโดยสารอยู่ (ยกเว้นลิฟท์ที่ใช้ในเหมืองแร่หรือสถานก่อสร้าง)

    หากดูจากตารางเปรียบเทียบจะพบว่าแต่ละแบบประกันนั้นมีค่าเบี้ยประกันที่ใกล้ เคียงกัน ดังนั้นถ้าต้องการจะรู้ว่าเบี้ยประกันของที่ไหนแพงกว่า ก็อาจเปรียบเทียบง่ายๆจากเบี้ยประกันเริ่มต้นซึ่งคำนวณจากเพศหญิงที่อายุต่ำ สุดและทุนเริ่มต้นต่ำสุดของแบบประกันแต่ละแบบ จะพบว่าแบบประกันเมืองไทยวัยเก๋านั้นเบี้ยเริ่มต้นเพียงแค่วันละ 4 บาทซึ่งดูเหมือนว่าจะถูกกว่าที่อื่น แต่สังเกตให้ดีนะครับว่าเบี้ยประกันดังกล่าวคำนวณจากเพศหญิงที่อายุเริ่มต้น ที่รับประกันของเมืองไทยวัยเก๋าคืออายุ 40 ปีและทุนเริ่ม30,000 บาท ในขณะที่แบบประกันอื่นๆนั้นเบี้ยประกันเริ่มต้นจะคำนวณจากเพศหญิงที่อายุ เริ่มต้น 50 ปีและทุนเริ่ม50,000 บาท ดังนั้นเพื่อเปรียบเทียบได้อย่างถูกต้อง จะต้องมีการคำนวณเบี้ยประกันของเมืองไทยวัยเก๋าสำหรับเพศหญิงที่อายุเริ่มต้น 50 ปีและทุนเริ่ม 50,000บาทเหมือนกับแบบประกันอื่น ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วเบี้ยประกันของเมืองไทยวัยเก๋าจะเริ่มต้นวันละประมาณ 6.6 บาท แสดงว่าที่จริงก็มีราคาเบี้ยประกันที่พอๆกับแบบประกันของที่อื่น ดังนั้นเวลาดูโฆษณานี่ต้องดูข้อมูลดีๆนะครับว่าเบี้ยประกันเริ่มต้นคำนวณจากอะไร อย่าไปฟังจากที่ได้ยินมาอย่างเดียวแล้วเชื่อทันทีว่าแบบประกันอันนั้นจะ ถูกกว่าแบบประกันอันนี้

    พอเห็นเบี้ยประกันเริ่มต้นที่เปรียบเทียบให้ดู บางคนอาจสงสัยว่าทำไมแบบประกันบางแบบถึงจ่ายเบี้ยเริ่มต้นถูกกว่า ทั้งนี้ก็เพราะผลประโยชน์ของแต่ละแบบประกันมีความแตกต่างกันในบางคุณลักษณะนั่นเอง ผมจะลองเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างแบบประกันอาวุโส โอเค กับ แบบประกัน50 อัพ ของเอไอเอ ซึ่งทั้งสองแบบหากคิดเบี้ยจากลูกค้าเพศหญิงที่อายุ 50 ปีเท่ากันและซื้อทุนประกัน 50,000บาทเท่ากัน ลูกค้าที่ซื้อแบบประกันอาวุโส โอเค จะจ่ายเบี้ยเพียงวันละ 6 บาทส่วนลูกค้าที่ซื้อแบบประกัน 50 อัพจะต้องจ่ายเบี้ยวันละ 9บาท สาเหตุที่แบบประกัน 50อัพมีค่าเบี้ยแพงกว่าก็เพราะมีความคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปี ที่ 1-2 ซึ่งบริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและอีก 200% ของทุนประกันชีวิตและหากเป็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 1-2 ปีที่บริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและอีก 500% ของทุนประกันชีวิต นอกจากนี้หากเสียชีวิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป บริษัทก็จะจ่ายผลประโยชน์ให้มากกว่าคือตั้งแต่ 110% ไปจนถึง 150% เมื่อเปรียบเทียบกับแบบประกันอาวุโส โอเค ที่มีความคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปีที่ 1-2 ที่บริษัทจะจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและอีก100% ของทุนประกันชีวิตเท่านั้น ส่วนการเสียชีวิตตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไปบริษัทก็จ่าย100% ของทุนประกันชีวิตเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบเงินผลประโยชน์ตอนครบกำหนดสัญญาที่ผู้เอาประกันมีชีวิต ครบ 90 ปี บริษัทก็จะจ่าย 100% ของทุนประกันชีวิตสำหรับแบบประกันอาวุโส โอเค ส่วนแบบประกัน 50 อัพบริษัทก็จะจ่าย 150% ของทุนประกันชีวิตให้ผู้เอาประกัน ดังนั้นหากใครที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะซื้อแบบประกันไหนดีก็ต้องเปรียบ เทียบข้อมูลให้รอบด้านนะครับ

    ที่นี้ลองมาเปรียบเทียบแบบประกันของแต่ละบริษัทที่มีเบี้ยประกันเริ่มต้น เท่ากันวันละ 6บาท (โดยอ้างอิงการคำนวณเบี้ยประกันเริ่มต้นจากเพศหญิงอายุเริ่มต้นทำประกัน 50ปีและทุน 50,000 บาทเท่ากัน) ดูนะครับ แบบประกันดังกล่าว ได้แก่ อาวุโส โอเค ของเอไอเอ เมืองไทยวัยเก๋าของเมืองไทยประกันชีวิต และสูงวัยใช่เลยของอลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต นั่นเอง แบบประกันอาวุโส โอเค และเมืองไทยวัยเก๋า ต้องชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี แต่ถ้าเป็นแบบประกันสูงวัยใช่เลยจะชำระเบี้ยแค่ 10 ปี ผลเปรียบเทียบดูได้จากตารางครับ

ตัวอย่าง เปรียบเทียบผลประโยชน์แบบประกัน ผู้เอาประกันเพศหญิง อายุ 60 ปี ทุนประกัน 100,000 บาท

 เงื่อนไข

อาวุโส โอเค

เมืองไทยวัยเก๋า

สูงวัยใช่เลย

 เบี้ยประกันปีละ

6,000

6,300

10,962

 ระยะเวลาในการชำระเบี้ย 

ชำระเบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระ เบี้ยถึงอายุ 90 ปี

ชำระเบี้ย 10 ปี

เบี้ยประกันสะสม

อายุ 60 ปี

อายุ 61 ปี

อายุ 62 ปี

อายุ 63 ปี

อายุ 64 ปี

อายุ 65 ปี

อายุ 66 ปี

อายุ 67 ปี

อายุ 68 ปี

อายุ 69 ปี

อายุ 70 ปี

อายุ 71 ปี

อายุ 72 ปี

อายุ 73 ปี

อายุ 74 ปี

อายุ 75 ปี

อายุ 76 ปี

อายุ 77 ปี

อายุ 78 ปี

อายุ 79 ปี

อายุ 80 ปี

อายุ 81 ปี

อายุ 82 ปี

อายุ 83 ปี

อายุ 84 ปี

อายุ 85 ปี

อายุ 86 ปี

อายุ 87 ปี

อายุ 88 ปี

อายุ 89 ปี

อายุ 90 ปี

ปีที่ 1 เบี้ยสะสม6,000 บาท

ปีที่ 2 เบี้ยสะสม12,000 บาท

ปีที่ 3 เบี้ยสะสม18,000 บาท

ปีที่ 4 เบี้ยสะสม24,000 บาท

ปีที่ 5 เบี้ยสะสม30,000 บาท

ปีที่ 6 เบี้ยสะสม36,000 บาท

ปีที่ 7 เบี้ยสะสม42,000 บาท

ปีที่ 8 เบี้ยสะสม48,000 บาท

ปีที่ 9 เบี้ยสะสม54,000 บาท

ปีที่ 10 เบี้ยสะสม 60,000บาท

ปีที่ 11 เบี้ยสะสม 66,000บาท

ปีที่ 12 เบี้ยสะสม 72,000บาท

ปีที่ 13 เบี้ยสะสม 78,000บาท

ปีที่ 14 เบี้ยสะสม 84,000บาท

ปีที่ 15 เบี้ยสะสม 90,000บาท

ปีที่ 16 เบี้ยสะสม 96,000บาท

ปีที่ 17 เบี้ยสะสม102,000 บาท

ปีที่ 18 เบี้ยสะสม108,000 บาท

ปีที่ 19 เบี้ยสะสม114,000 บาท

ปีที่ 20 เบี้ยสะสม120,000 บาท

ปีที่ 21 เบี้ยสะสม126,000 บาท

ปีที่ 22 เบี้ยสะสม132,000 บาท

ปีที่ 23 เบี้ยสะสม138,000 บาท

ปีที่ 24 เบี้ยสะสม144,000 บาท

ปีที่ 25 เบี้ยสะสม150,000 บาท

ปีที่ 26 เบี้ยสะสม156,000 บาท

ปีที่ 27 เบี้ยสะสม162,000 บาท

ปีที่ 28 เบี้ยสะสม168,000 บาท

ปีที่ 29 เบี้ยสะสม174,000 บาท

ปีที่ 30 เบี้ยสะสม180,000 บาท

กรมธรรม์ครบสัญญา

ปีที่ 1 เบี้ยสะสม6,300 บาท

ปีที่ 2 เบี้ยสะสม12,600 บาท

ปีที่ 3 เบี้ยสะสม18,900 บาท

ปีที่ 4 เบี้ยสะสม25,200 บาท

ปีที่ 5 เบี้ยสะสม31,500 บาท

ปีที่ 6 เบี้ยสะสม37,800 บาท

ปีที่ 7 เบี้ยสะสม44,100 บาท

ปีที่ 8 เบี้ยสะสม50,400 บาท

ปีที่ 9 เบี้ยสะสม56,700 บาท

ปีที่ 10 เบี้ยสะสม 63,000 บาท

ปีที่ 11 เบี้ยสะสม 69,300 บาท

ปีที่ 12 เบี้ยสะสม 75,600 บาท

ปีที่ 13 เบี้ยสะสม 81,900 บาท

ปีที่ 14 เบี้ยสะสม 88,200 บาท

ปีที่ 15 เบี้ยสะสม 94,500 บาท

ปีที่ 16 เบี้ยสะสม 100,800 บาท

ปีที่ 17 เบี้ยสะสม 107,100 บาท

ปีที่ 18 เบี้ยสะสม 113,400 บาท

ปีที่ 19 เบี้ยสะสม 119,700 บาท

ปีที่ 20 เบี้ยสะสม 126,000 บาท

ปีที่ 21 เบี้ยสะสม 132,300 บาท

ปีที่ 22 เบี้ยสะสม 138,600 บาท

ปีที่ 23 เบี้ยสะสม 144,900 บาท

ปีที่ 24 เบี้ยสะสม 151,200 บาท

ปี ที่ 25 เบี้ยสะสม 157,500บาท

ปีที่ 26 เบี้ยสะสม 163,800 บาท

ปีที่ 27 เบี้ยสะสม 170,100 บาท

ปีที่ 28 เบี้ยสะสม 176,400 บาท

ปีที่ 29 เบี้ยสะสม 182,700 บาท

ปีที่ 30 เบี้ยสะสม 189,000 บาท

กรมธรรม์ ครบสัญญา

ที่ 1 เบี้ยสะสม 10,962 บาท

ปีที่ 2 เบี้ยสะสม 21,924 บาท

ปีที่ 3 เบี้ยสะสม 32,886 บาท

ปีที่ 4 เบี้ยสะสม 43,848 บาท

ปีที่ 5 เบี้ยสะสม 54,810 บาท

ปีที่ 6 เบี้ยสะสม 65,772บาท

ปีที่ 7 เบี้ยสะสม 76,734 บาท

ปีที่ 8 เบี้ยสะสม 87,696 บาท

ปีที่ 9 เบี้ยสะสม 98,658 บาท

ปีที่ 10 เบี้ยสะสม 109,620 บาท

กรมธรรม์ ครบสัญญา

ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคทั่วไปและ ความชราในปีที่ 1

บริษัทจ่าย 6,120 บาท            (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

บริษัทจ่าย 6,426 บาท          (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

บริษัทจ่าย 11,182 บาท      (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

ความ คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคทั่วไปและความชราในปีที่ 2

บริษัทจ่าย 12,240 บาท           (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

บริษัทจ่าย 12,852 บาท        (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

บริษัทจ่าย 22,362 บาท      (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้ว)

ความ คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปีที่ 1

บริษัท จ่าย106,120 บาท         (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 106,426 บาท      (บริษัท จ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัท จ่าย 111,182 บาท (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต จากอุบัติเหตุในปีที่ 2

     บริษัทจ่าย112,240 บาท         (บริษัท จ่าย102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัท จ่าย 112,852 บาท      (บริษัทจ่าย102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 122,362 บาท  (บริษัท จ่าย102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

ความ คุ้มครอง กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 1

บริษัทจ่าย106,120 บาท      (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 206,426 บาท      (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 111,182 บาท    (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

ความ คุ้มครอง กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 2

บริษัท จ่าย112,240 บาท         (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 212,852 บาท      (บริษัท จ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัท จ่าย 122,362 บาท   (บริษัทจ่าย 102% ของเบี้ยประกันที่ชำระแล้วและ 100% ของทุนประกันชีวิต)

ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคหรืออุบัติเหตุในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่าย 100,000 บาท        (100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 100,000 บาท     (100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 100,000 บาท   (100% ของทุนประกันชีวิต)

ความ คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสาธารณะในปีที่ 3 เป็นต้นไป

บริษัทจ่าย 100,000 บาท        (100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 200,000 บาท       (200% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 100,000 บาท    (100% ของทุนประกันชีวิต)

ผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนถึงครบกำหนดสัญญา (อายุครบ 90 ปี)

บริษัทจ่าย 100,000 บาท        (100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 100,000 บาท     (100% ของทุนประกันชีวิต)

บริษัทจ่าย 120,000 บาท   (120% ของทุนประกันชีวิต)

    เหตุผลที่ผมเอาแบบประกันทั้งสามแบบของทั้งสามบริษัทมาเปรียบเทียบให้ดูก็ เพราะทั้งสามแบบมีผลประโยชน์ที่ใกล้เคียงกัน ลองสังเกตดูจากตารางจะเห็นว่าแบบประกันสูงวัยใช่เลยจะมีเบี้ยแพงกว่าแบบ ประกันอีกสองแบบที่เหลืออีกสองแบบ ทั้งนี้เพราะสูงวัยใช่เลยจ่ายเบี้ยแค่ 10 ปีเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าอีกสองแบบ พอจ่ายเบี้ยครบปีที่ 10 หรือผู้เอาประกันอายุครบ 69 ปี เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกัน ส่วนเมืองไทยวัยเก๋าเบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกันตอนปีที่ 16 หรือผู้เอาประกันอายุครบ 75 ปีและอาวุโส โอเค เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกันปีที่ 17 หรือผู้เอาประกันอายุครบ 76 ปี เมื่อไหร่ที่ลูกค้าจ่ายเบี้ยประกันสะสมเกินทุนประกันนั่นหมายความว่าลูกค้า ที่เสียชีวิตหรือแม้จะอยู่ครบสัญญาก็ถือว่าขาดทุนเพราะเบี้ยประกันที่จ่าย สะสมมาตั้งแต่ปีแรกสูงกว่าทุนประกัน แต่เมื่อเสียชีวิตจะได้ผลประโยชน์ตามทุนประกันเท่านั้น

    การที่เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกันเมื่อไหร่นั้นอาจใช้ระยเวลาไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับอายุตอนเริ่มต้นทำประกันนะครับ ทั้งนี้เพราะถ้าเริ่มเอาประกันตั้งแต่อายุยังน้อย เบี้ยประกันเริ่มต้นก็จะถูก ก็จะใช้เวลานานกว่าเบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกัน

ยกตัวอย่างเช่น

แบบประกัน อาวุโส โอเค

ถ้าผู้เอาประกันเพศชายเริ่มทำประกันนี้ตอนอายุ 50 ปี ทุน 100,00 บาท ซึ่งจะจ่ายเบี้ยประกันปีละ 5,200 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกันตอนปีที่ 20 หรือตอนผู้เอาประกันอายุครบ 69 ปี

แต่ ถ้าผู้เอาประกันเพศชายเริ่มทำประกันนี้ตอนอายุ 60 ปี ทุน 100,00 บาท ซึ่งจะจ่ายเบี้ยประกันปีละ 7,300 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกันตอนปีที่ 14 หรือตอนผู้เอาประกันอายุครบ 73 ปี

จะเห็นว่าถ้าผู้เอาประกันเริ่มต้นเอาประกันที่อายุ 50 ปีใช้เวลานานถึง 20 ปีซึ่งนานกว่าผู้เอาประกันเริ่มต้นเอาประกันที่อายุ 60 ปีที่ใช้เวลาเพียง 13 ปีในการที่เบี้ยประกันสะสมจะเกินทุนประกัน นอกจากนี้ข้อดีของการทำประกันอายุน้อยแต่เกิดอายุยืนคือจะจ่าบเบี้ยประกันสะสมน้อยกว่าคนที่ทำประกันตอนอายุมากกว่าแต่ดันอายุยืนเหมือนกัน เช่น สมมติว่าทั้งสองคนมีชีวิตอยู่จนอายุครบ 90 ปีเหมือนกัน

ตัวอย่าง

แบบประกัน อาวุโส โอเค

ถ้า ผู้เอาประกันเพศชายเริ่มทำประกันนี้ตอนอายุ 50 ปี ทุน 100,00 บาท ซึ่งจะจ่ายเบี้ยประกันปีละ 5,200 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันสะสมเมื่อผู้เอาประกันอายุครบ 90 ปี คือ 208,000 บาท

แต่ ถ้าผู้เอาประกันเพศชายเริ่มทำประกันนี้ตอนอายุ 60 ปี ทุน 100,00 บาท ซึ่งจะจ่ายเบี้ยประกันปีละ 7,300 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันสะสมเมื่อผู้เอาประกันอายุครบ 90 ปี คือ 219,000 บาท

ซึ่งหากอยู่จนครบกำหนดสัญญาบริษัทประกันจะจ่ายเงินคืน 100 เปอร์เซ็นของทุนประกันคือจ่ายเพียง 100,000 บาท(ตามทุนประกัน) ดังนั้นโอกาสที่จะขาดทุนก็จะยิ่งสูงตาม

    ย้ำอีกทีนะครับว่าแผนประกันที่ผมนำมาเปรียบเทียบนี้เป็นแผนประกันที่ผู้เอา ประกันสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพและ/หรือตอบคำถามสุขภาพใดๆ ทั้งนี้เพราะต้องการจับกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพแต่ต้องการทำประกันชีวิต ไว้เพื่อเป็นมรดกและไม่ต้องการเป็นภาระลูกหลาน ดังนั้นเบี้ยประกันของแบบประกันเหล่านี้จึงแพงกว่าแบบประกันอื่นๆที่ลูกค้า ต้องตอบคำถามสุขภาพและ/หรือตรวจสุขภาพด้วย เพราะแบบประกันที่ลูกค้าต้องตอบคำถามสุขภาพและ/หรือตรวจสุขภาพนั้น บริษัทผู้รับประกันมีโอกาสในการคัดเลือกความเสี่ยง (Risk selection) ด้วยการให้ลูกค้าตอบคำถามสุขภาพและ/หรือตรวจสุขภาพ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถประเมินระดับความเสี่ยง (Risk classification) ของลูกค้าได้จึงสามารถคิดเบี้ยได้ตามความเสี่ยงของลูกค้า อย่างถูกต้อง ลูกค้าที่มีความเสี่ยงมากก็ต้องจ่ายเบี้ยแพงกว่าลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อย นอกจากนี้การที่ผู้เอาประกันสามารถคัดกรองลูกค้าตามระดับความเสี่ยงได้ แบบประกันดังกล่าวจึงสามารถให้ลูกค้าซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ด้วยหากลูกค้าไม่ มีปัญหาสุขภาพ ส่วนแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุนั้นเนื่องจากให้ผู้เอาประกันสามารถซื้อได้ โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพและ/หรือตอบคำถามสุขภาพใดๆ ดังนั้นบริษัทจึงไม่สามารถคัดเลือกความเสี่ยง (Risk selection) หรือจัดระดับความเสี่ยง (Risk classification) ของลูกค้าได้ ดังนั้นเบี้ยประกันของแบบประกันนี้จึงต้องแพงกว่าแบบประกันทั่วไป อีกทั้งแบบประกันแบบนี้ไม่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ถึงแม้ลูกค้าคนนั้นจะมีสุขภาพดีก็ตาม ดังนั้นผมจึงอยากแนะนำว่าใครที่เป็นผู้สูงวัยแต่ยังมีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาสุขภาพใดๆ หากต้องการซื้อประกันก็ควรซื้อแบบประกันที่มีการตรวจสุขภาพจะดีกว่าครับ เพราะค่าตรวจสุขภาพที่บริษัทประกันเรียกให้เราไปตรวจนั้น บริษัทประกันก็จะเป็นผู้ออกให้ ถือเสียว่าเราได้ตรวจสุขภาพฟรีๆ แถมยังได้จ่ายเบี้ยถูกกว่าที่จะมาซื้อแบบประกันสำหรับผู้สูงอายุ อีกทั้งยังสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมต่างๆ เช่น สัญญาคุ้มครองสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองอุบัติเหตุ และค่าชดเชยรายวันได้อีกด้วยครับ

References

1. กลุ่มสถิติแรงงาน สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2555.

2. ข้อมูลแบบประกันแต่ละแบบหาได้จากเวบไซต์ของแต่ละบริษัท

หมายเลขบันทึก: 559080เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2014 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2014 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นประโยชน์มากครับ

เป็นการเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ให้ความรู้และข้อมูลอย่างเป็นกลาง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะตัดสินใจทำประกันเป็นอย่างมากค่ะ ขอบคุณจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะค่ะ

อ่านเข้าใจง่าย มีการเปรียบเทียบด้วย เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจได้ดีมากเลยค่ะ

พี่คะอยากทราบว่าอายุ68ปีอยามซื้อเพิ่มในกรณีเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้วทางประกันจ่ายให้มีไหมคะตอบด้วยนะคะต้องการทำประกันคะด่วน

แม่อายุ 62 มีโรคประจำตัว ผ่าตัดสมองมาแล้วอาการดีขึ้นมากแล้วค่ะ ตอนนี้ส่งประกันของบริษัท....ปีละ 50,000 แต่จะเลิกส่ง ต้องการทำประกันใหม่ให้แม่ ขอคำแนะนำควรเลือกทำประเภทไหนดีค่ะ

เป็นประโยชน์มากค่ะ ดูจากตาราง ตัดสินใจทำประได้ง่ายขึ้นเลยค่ะ ขอบคุณจิงๆ

อายุมากขึ้นความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยเฉพาะในกลุ่ม 3 โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ อย่าง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง หากเป็นโรคร้ายแรงเหล่านี้ในตอนที่เกษียณแล้ว จะหาเงินที่ไหนรักษา
ดูสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองได้ที่นี่ http://goo.gl/CNF3zd

เดือน น่ะค่ะ ตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อลิอัลส์อยุธยา ยินดีให้คำปรึกษาค่ะยิ่งไครที่มีกรมธรรรม์หลายตัว ยินดีสรุปผลประโยชน์ให้ค่ะจะได้ไม่ซื้อซ้ำซ้อนหรือเสียผลประโยชน์ค่ะ 0926280855 ยินดีให้บริการ ไม่ว่างจะบริษัทใหนค่ะ


ก็ยังเลือกไม่ถูกเลยครับ พ่ออายุ 65 ปี ยังแข็งแรงอยู่ ควรทำประกันแบบไหนครับที่จ่ายน้อย รักษาฟรี ประกันชีวิต ใครให้ข้อมูลได้โปรดติดต่อ 082-4527214 ต้น ขอบคุณครับ

อ่านแล้วเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตมากขึ้น กำลังมองหาประกันให้แม่ แม่อายุ69 สินใจง่ายขึ้น ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากคะ ที่เสียสละเวลารวบรวม เนื้อหา มีประโยชน์มากคะ กำลังหาให้คุณพ่อพอดี ขอบคุณนะค

ขอบคุณครับทำให้เข้าใจและเปรียบเทียบได้ชัดเจนมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท