บทความกิจกรรมบำบัด กับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุหลังเกษียณ


บทความกิจกรรมบำบัด กับ การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุหลังเกษียณ

 

 

 
 

ประวัติและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ

          จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่อยู่ในภูมิภาคเหนือ คือ นายจำนงค์ กุลวาชัย หรือที่หลายๆคนเรียกว่า “ตานงค์” วัย 76 ปี ข้าราชการครูบำนาญ อยู่ที่ ตำบล ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย อาศัยอยู่กับ ครอบครัวบุตรสาว และภรรยา โรคที่เป็นคือ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจขาดเลือด งานอดิเรก เลี้ยงไก่ ปลา ทำสวน ทำบุญ ช่วยลูกสาวดูแลร้านขายของ และความสามารถพิเศษ เป็นวิทยากรอบรมหน่วยงานต่างๆ เช่น ไทยอาสาป้องกันชาติเยาวชนอาสารักษาดินแดน หมู่บ้านชายแดน ลูกเสือชาวบ้าน โดยเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม และเป็นวิทยากรสนาม และแต่งบทร้อยกรอง เป็นต้น

          คุณตาได้เล่าการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและผลกระทบที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณตา โดยด้านร่างกาย เมื่อก่อนคุณตาเป็นคนที่ค่อนข้างแข็งแรงมากโดยเป็นนักกีฬา เล่นกีฬาได้ในทุกๆประเภท ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ฟุตบอล ปิงปองตะกร้อ วิ่ง มวย เป็นต้น เคยเข่าหลุดตอนเด็กแต่ไม่ยอมไปรักษา และเมื่อตอนที่รับราชการใหม่ตอนเป็นหนุ่ม คุณตามักจะเข้าสังคมกับเพื่อนๆและมีการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เล่นการพนัน และเที่ยวกลางคืน ส่วนการรับประทานอาหารของคุณตา คุณตาชอบรับประทานอาหารหวาน มีไขมัน และรับประทานจำนวนมากต่อครั้ง

          จึงส่งผลกระทบต่อร่างกายตอนนี้ คือ เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ต้องควบคุมอาหารการกิน ต้องรับประทานยาตลอดชีวิต ผิวหนังเหี่ยวย่น การมองเห็นลดลง สายตายาว เวลาอ่านหนังสือพิมพ์ก็ต้องใส่ตลอดเวลา มีการได้ยินลดลง ต้องพูดใกล้ๆและเสียงดังชัดเจน กระดูกเสื่อมลง ส่วนสูงลดลง ขาโก่ง เจ็บหัวเข่า ทำให้สามารถเคลื่อนไหวช้า เดินช้าลง นั่งที่พื้นไม่ได้ เช่น การนั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไม่ได้ และอาจมีการหกล้มในบางครั้ง ในขณะที่ขึ้นและลงบันได 

สามารถวิเคราะห์ตามกรอบอ้างอิง Person-Environment-Occupation-Performance ;PEOP Frame of Reference ดังนี้

Personหรือตัวบุคคล คุณตา เนื่องจากการที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเคยทำการรักษาการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือ Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty (PTCA) โดยต้องรับประทานยาตลอดชีวิต

Environment หรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น อาศัยอยู่กับลูกหลาน มีลูกหลานคอยดูแลเอาใจใส่ ให้ความรัก ความอบอุ่น เข้าใจท่านและคอยช่วยเหลือเป็นอย่างดี ปัจจัยทางด้านกายภาพ ที่บ้านมีบันไดที่ทางขึ้นแต่พื้นบันไดลื่นจึงทำให้คุณตามีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

Occupation หรือกิจกรรม เมื่อก่อนคุณตาเป็นอาจารย์ใหญ่ แต่ตอนนี้เป็นข้าราชการบำนาญจึงหันไปทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ เช่น เช่น การให้ข้าว ดูแล ไก่ ปลา ที่เลี้ยงไว้ เก็บกวาดทำความสะอาดรอบบริเวณบ้าน รดน้ำต้นไม้ที่สวน และทำบุญตักบาตร เป็นต้น

Performance หรือความสามารถในการทำกิจกรรม จากการที่คุณตามีข้อจำกัดจากโรคในการทำกิจกรรมต่างๆ คุณตาจึงไม่สามารถทำกิจกรรมที่หนักๆเหมือนเมื่อก่อน และต้องมีการพักผ่อนระหว่างวัน

          จากกรอบอ้างอิงการฟื้นฟู Rehabilitation Frame of Reference กรอบอ้างอิงที่ใช้นี้เพื่ออธิบายการฟื้นฟู การส่งเสริม และป้องกัน โดยเน้นให้คุณตาซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกายและมีความเจ็บป่วย ให้ตระหนักถึงความสำคัญ และการมีความสนใจในการทำกิจกรรมด้วยตนเองให้สอดคล้องกับความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยอาจใช้เทคนิคต่างๆเข้ามาช่วย เช่น เทคนิคการฟื้นฟู ช่วยปรับปรุงทักษะความสามารถที่ทำได้อยู่แล้วให้ดีมากขึ้น โดยการปรับปรุง ปรับเปลี่ยนกิจกรรม การปรับสิ่งแวดล้อม ส่วนเทคนิคการป้องกัน และการส่งเสริม ให้คุณตามีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ป้องกันความเจ็บป่วยซับซ้อนที่เข้ามา เช่น การใช้วิธีชดเชย (compensatory technique) สงวนพลังงาน โดยในแต่ละกิจกรรมหรือการทำงานไม่ควรทำนานเกินไป ควรมีช่วงเวลาที่พักบ้าง การจัดการเวลา (time management) ให้มีการพักผ่อนให้เพียงพอและเหมาะสม การใช้วิธีการดัดแปลงสภาพแวดล้อม (environmental adaptation or modification) จากการสัมภาษณ์และการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม โดยใช้แบบประเมิน Berg Balance Scale ซึ่งคุณตาได้คะแนนต่ำกว่า 45 คะแนน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการหกล้มสูงเนื่องจากคุณตามีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว จึงแนะนำให้เพิ่มทำราวบันไดที่ทางเข้าหน้าบ้าน เสริมราวจับ และเสริมแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ เพื่อป้องกันการลื่นล้มของคุณตา และวิธีการสอน การให้ความรู้ (teaching & learning process) เช่น การแนะนำท่าออกกำลังกาย การให้ข้อมูลโรค และอาจแนะนำกิจกรรมยามว่างหรือ กิจกรรมนันทนาการ เช่น การร้องเพลง การท่องเที่ยว การเข้าชมรมต่างๆ การเล่นหมากรุก อาสาสมัคร เป็นต้น เพื่อทำให้คุณตาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง มีจิตใจที่ดีและมีความสุขในการดำเนินชีวิต

 

 

 

 
 

 เอกสารอ้างอิง

ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ;2557 [เข้าถึงเมื่อ2557 มกราคม 12]เข้าถึงจาก: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/soongwai/topic006.php

 

 บทความผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง

http://www.gotoknow.org/posts/559079

http://www.gotoknow.org/posts/559069

http://www.gotoknow.org/posts/559042

http://www.gotoknow.org/posts/559081

http://www.gotoknow.org/posts/559033 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 559070เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2014 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2014 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท