อิทธิพลของพุทธศาสนากับปรัชญาตะวันตก


ผมสนใจอยากเปรียบเทียบพุทธศาสนาต่อปรัชญาตะวันตก อ่านไปมา ก็เจอความคล้ายกันของปรัชญาตะวันตกกับพุทธศาสนาหลายประเด็น แม้ต้ังแต่ปรัชญาสมัยกรีกเป็นต้นมา (ว่างๆ จะมาลองเขียนดู แต่วันนี้ยัง) ส่วนปรัชญาตะวันตกในยุคหลัง แม้จะเห็นว่ามีแนวทางแบบ อเทวนิยมมากขึ้นในสองร้อยปีที่ผ่านมา ผมก็ได้แค่รู้สึกระแคะระคายอยู่ในใจตัวเองว่าพุทธศาสนาอาจจะไปมีอะไรอยู่บ้างไหม

จนมาถึงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ลงเอยผมไปเจอเปเปอร์หนึ่ง ที่น่าสนใจ หาอ่านออนไลน์ได้ที่เดียวที่ JStore เป็นของ Heinrich Dumoulin (1905-1995) ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๑ (กว่า ๓๒ ปีมาแล้ว) ซึ่งเขาเป็นบาดหลวงเยซูอิต ชาวเยอรมัน และต่อมาไปสอนที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ศึกษามากเรื่อง เซ็น แกเขียนบทความนี้ ซึ่งว่าด้วย พุทธศาสนากับนักปรัชญาเยอรมันสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๙

บทความของ ดูเมอร์ลิน นี้ เขาพูดถึงนักปรัชญาดังๆ แค่ ๔ คน คือ Kant, Hegel, Schopenhauer, Nietzsche ตามลำดับ แต่ก็พอเพียงสำหรับเราได้เข้าใจปรัชญาตะวันตกทั้งหลาย เพราะ ๔ คนนี้มีอิทธิพลทางความคิดมาก มีนักปรัชญาตะวันตกอีกมากที่ได้แนวคิดไปจากพวกเขา ผมคิดว่า หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว นอกจากตัวเองจะได้เข้าใจบริบทเชิงประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์เมื่อราว ๒๐๐ ปีก่อน ทำให้ผมมีโอกาสเข้าใจว่า ฝรั่งน่าจะได้รู้เรื่องพุทธ(น้อย)แค่ไหน แล้วก็จะได้มีโอกาสทบทวนถ้อยคำสำคัญของนักปรัชญาตะวันตกหลักๆ อีกด้วย

ในการอ่านก็ไม่สะดวกหากไม่ได้อยู่ในสถาบันที่เป็นสมาชิก ใครอยากได้ก็ต้องเสียเงินเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร ผมเลยอาศัยถ่ายรูปหน้าจอมาไว้เป็นภาพของแต่ละหน้าเสียเลย แล้วก็เลยตัดสินใจแกะภาพเบลอ ออกมาแปลเป็นภาษาไทย เอาไว้อ่านทบทวนด้วย ตนจะได้เข้าใจลึกขึ้น เพราะว่าต้องพิจารณาถ้อยคำทุกๆ คำอย่างละเอียด

ผมอ่านแล้ว พอสรุปย่อสุดได้ว่า นักปรัชญาเยอรมันในศตวรรษที่ ๑๙ ตอบรับสนใจพุทธศาสนาแบบมหายานดี และบางคนก็ตีความบางอย่างในแง่ลึกได้ด้วย แม้จะมีข้อมูลเพียงสั้นๆ แต่บางคนก็ตีความผิดๆ หรือคิดตามตรรกะของตัวต่อไปเป็นหลักปรัชญาของตนไป ผมคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์จะทำให้เราพอเข้าใจพื้นฐานความคิดของฝรั่งได้ เพราะว่าเขายังเข้าใจหลักทางพุทธผิดๆ อยู่มาก แม้แต่ทางมหายานก็ตาม นี่ยังไม่ได้พูดถึงทางเถรวาท พออ่านจบผมก็นึกสงสัยว่า ดูมูลิน ตอนเขาเขียนนี่เขายังเป็นบาดหลวงเยซูอิตอยู่ หรือว่าตอนแก่แกเปลี่ยนกลายเป็นชาวพุทธแบบเซ็นไปแล้วก็ไม่รู้

ใครสนใจอยากอ่านร่างบทแปลของผม (ขัดเกลามาหลายรอบ) เรื่อง พุทธศาสนากับนักปรัชญาเยอรมันสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๙ เปิดดูได้ หากเจอที่ผิด หรือมีคำแนะนำ แจ้งมาให้ผมทราบก็จะขอบคุณมากครับ

ต้องออกตัวว่า ร่างแปลงานเขียนของ ดูมูลิน บทความนี้ แรกจะเอาไว้อ่านเองคนเดียว แล้วก็ตัดสินใจออกมาแบ่งปัน เห็นประโยชน์เป็นผลพลอยได้ก็คือ จะได้มีเอกสารภาษาไทยเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์กับคนไทยผู้จะศึกษาพุทธศาสนาเปรียบเทียบกับปรัชญาตะวันตกต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมเชื่อว่าคงจะต้องมีพระภิกษุสามเณรบางรูป ที่อาจมาเจอบทแปลไทยนี้เข้า และอาจนำไปใช้ศึกษาต่อยอดของท่านได้ต่อไป เพราะนอกจากต้นฉบับภาษาอังกฤษก็เข้าถึงได้ยากแล้ว กำแพงภาษาก็อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับบางท่าน โดยเฉพาะศัพท์ในบทความทางปรัชญาก็ไม่ได้ใช้ภาษาง่ายนัก การมีเอกสารแปลภาษาไทยจากคนที่ถนัด อาจจะช่วยนักศึกษาเหล่านั้นได้บ้างในการต่อยอดทำเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของท่าน (ไม่ว่า การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะเอื้อให้ท่านจะหลุดพ้นทุกข์ไปจากสังสารวัฏฏ์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่ผมก็เห็นว่าการศึกษาเพื่อความรู้ก็จะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่พุทธศาสนาต่อไปในทางอ้อม) ซึ่งหากเป็นจริงดังคาด ผมก็ขออนุโมทนากับท่านเหล่านั้นไว้ล่วงหน้า

หมายเลขบันทึก: 557573เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2013 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2016 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีครับอาจารย์ อยากให้หาแนวคิดแบบนี้มาบันทึกบ้างนะ จะได้รู้กระบวนการคิดของฝรั่งและจะเห็นกระแสคิดคนไทยด้วย ขอบคุณครับ

ระยะเวลา เต็มประวัติศาสตร์ ยังไม่เคยพบ อเทวะนิยมเลย มีแต่สรรพเทวะยิยม กับ เอกะเทวะนิยมเท่านั้น

แต่สรรพเทวะนิยมนั้น มุ่งแสวงหาเทวะ หรือ พระเจ้า ที่เขาไม่รู้จักเท่านั้นเอง. นามพระเจ้าสร้างโลกนั้น มีมาตั้งแต่ยังไม่มีการตั้งสากยะวงศ์ หรือ โกลิยวงศ์ ก่อนการอพยพ เข้ามาในอินเดียของเผ่าอารับมัดยัน(อารยัน) อีก แต่รูปนั้น ยังไม่มีใครได้รับโอกาสพบเลย

การไปพบผู้มีอำนาจที่เราไม่รู้จัก หากต้องจ่ายใต้โต๊ะ มีผู้รับใต้โต๊ะ ท่านว่า เรานั้นส่งเสริมคอรัปชั่นหรือไม่ล่ะ ปล้วหากผู้รับใต้โต๊ะนั้น เป็นพ่อแม่เรา เป็นพี่น้องเรา เป็นลูกหลานเรา เรายินดีต่อญาติพี่น้อง พ่อแม่ ลูกหลานหรือ

เช่นเดียวกัน เราสามารถเข้าพบพระเจ้าได้พร้อมๆกัน อาจจะ6500กว่าล้านคน ก็ได้ ไม่ต้องผ่านตัวแทนนายหน้าใดใด ไม่ต้องมีสภาวะเป็นนายเป็นทาสต่อกันเลย

ถึงคุณผู้ใช้นามว่า "ไม่มีอเทวะนิยม"

ผมไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจความคิดของคุณหรือไม่

การพิมพ์ความเห็นเข้ามาในบริบทของบทความวิชาการ แต่การสะกดคำไทยของคุณพิมพ์ผิดเยอะเต็มไปหมด (แม้จะเป็นไปได้ว่าคุณใช้ "มือถือ ทำให้พิมพ์ผิดมากก็ตาม) ทำให้มองดูได้ว่าเจตนาของคุณไม่ค่อยจะ "ซีเรียส" เท่าไร ผมเลยจะยังไม่เสียเวลาคิดหาประเด็นความเห็นของคุณไปก่อน

ขอบคุณอาจารย์มากครับ ใน 4 นักคิดฝั่งตะวัน Kant, Hegel, Schopenhauer, Nietzsche เอามาเปรียบเทียบก็เห็นภาพได้อย่างมากครับอาจารย์ ผมเคยอ่านแต่นานมากแล้วมีอีกคที่น่าสนใจครับ ของ Michel foucault ที่วิพากษ์ในเชิงตรรกะนิยมไว้อยู่.... และสวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์

ขอบคุณครับคุณลูกหมูเต้นระบำ สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ

ผมซื้อหนังสือเล่มใหญ่ของฟูโกต์เขียนเองแต่แปลเป็นอังกฤษมาเล่มหนึ่ง แต่ยังอ่านไม่ไปถึงไหน คงรออีกสักพักครับ ตอนนี้ ยังไม่มีเวลาศึกษางานเขาครับ ขออ่านที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก่อน

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗ สุข สดชื่น สุขภาพกาย และใจสมบูรณ์แข็งแรงนะคะอาจารย์...ขอบคุณสำหรับ

ร่างบทแปล เรื่อง พุทธศาสนากับนักปรัชญาเยอรมันสมัยคริสตศตวรรษที่ ๑๙ มากๆค่ะ...

สวัสดีปีใหม่ 2557 โชคดี มีสุข ตลอดไป คุณมะเดื่อ

สวัสดีปีใหม่จ้ะท่าน ดร.ขณะนี้ 22.30 น. ในทีวีกำลังมีถ่ายทอดสดการสวดมนต์ข้ามปี

อีกไม่นานก็จะปีใหม่แล้ว ... นับเป็นสิ่งดี ๆ รับปีใหม่ของคุณมะเดื่อที่ท่านให้เกียรติไป

เยี่ยมเยียนทักทายและอวยพรปีใหม่ในบันทึกของคุณมะเดื่อ...ขอบคุณมากมายจ้ะ

ขอให้ท่านและครอบครัวจงรับแต่สิ่งดี ๆ มีแต่ความสุข สุขภาพแข็งแรงตลอดปี ตลอดไป

นะจ๊ะ...คุณมะเดื่ออยู่เมืองสามอ่าว...ประจวบคีรีขันธ์ จ้ะ ดินแดนแห่งภูเขา จังหวัดที่ยาว

ที่สุด แคบที่สุดในประเทศไทยจ้ะ ขอบคุณมาก ๆ อีกครั้ง สวัสดีปีใหม่จ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท