ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

FTA ดารรุ่งพุ่งแรงตามเศรษฐกิจโลก


ทิศทางการค้าโลกมีแนวโน้มจะเป็นเสรียิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี 2544

ซึ่งสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO ประกาศเปิดการเจรจาเปิดเสรีการค้าหลายฝ่ายรอบใหม่หรือที่เรียกว่ารอบโดฮา (เพราะประชุมกันที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์) แต่การเจรจาไม่คืบหน้า ทำให้ประเทศสมาชิกหันมาทำความตกลงเปิดเสรีกันสองประเทศหรือกลุ่มประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนเกือบ 300 ความตกลง ซึ่งร้อยละ 70 เป็นความตกลงสองสองฝ่าย โดยมีทั้งประเทศใหญ่กับประเทศเล็ก เช่น สหรัฐฯกับลิงค์โปร์  ญี่ปุ่นกับเม็กซิโก รวมทั้ง กลุ่มภูมิภาคเช่น เขตการค้าเสรีอเมริกา เอเซียน-จีน เป็นต้น            

              เขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ คงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุในขณะนี้ ในเวลาที่ประเทศต่างๆ ทั่งโลก  ต่างได้ให้หรือกำลังจะให้ผลประโยชน์ด้านภาษีและอื่นๆ ซึ่งกันและกัน หากไทยนิ่งเฉย ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และเสียเปรียบคู่แข่งขันที่มีแต้มต่อจากการทำเอฟทีเอ ครั้นจะหันไปพึ่ง WTO ก็ยังชะงักอยู่  ปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก  เพื่อหารายได้เข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น  เมื่อทิศทางของโลกเดินไปในทางที่จะเปิดเสรีเร็วขึ้นและมากขึ้น การจัดทำเขตการค้าเสรีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก หากเราทำโดยมีการวางแผน เตรียมตัว และปรับตัวย่อมดีกว่าไม่ได้ตั้งตัวแล้วถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ที่ประเทศคู่ค้าวางไว้                

                การทำเขตการค้าเสรี นอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางการค้าแล้ว ยังช่วยในการหาตลาดใหม่ๆ ทำให้เรามีแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ที่ราคาถูกและหลากหลายมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นที่จะช่วงชิงโอกาสทางการค้า  ผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตภายในให้เหมาะสมและเป็นการส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากนานาประเทศการทำเขตการค้าเสรี ไม่ใช่เรื่องใครได้ใครเสีย แต่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศที่เข้าร่วมกันของประเทศที่เข้าเจรจา ซึ่งการเจรจาจะเป็นในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างได้ คงไม่มีประเทศไหนยอมเจรจาด้วย 

                          ที่มา จากหนังสือร้อยเรื่องเมืองพาณิชย์ จากท่าเตียน...สู่สนามบินน้ำ    ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์  

หมายเลขบันทึก: 55721เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะคุณปารินุช 

  • ถ้าทุกคนร่วมมือกัน  ประเทศชาติก็เจริญ  อย่าต่างคนต่างทำใช่ไหมคะ
  • ขอบคุณนะคะทีเข้าไปอ่านบันทึกครูอ้อย 
  • เรียนเชิญอ่านบันทึกนี้นะคะ
ขอบคุณ คุณสิริพรมากนะค่ะ สำหรับข้อคิดเห็นค่ะ
  • สวัสดีคะคุณอุ๋ย
  • การค้าเสรี เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม  การค้าเสรีบางอย่างที่เปิดมากมาย คนไทยจับจ่ายซื้อของที่นั่นมาก (คงไม่ต้องเอ่ยชื่อก็พอจะทราบกันนะคะ) โดยเฉพาะคนในส่วนภูมิภาค ผลกระทบที่ตามมาอย่างไม่น่าเชื่อคือ ร้านค้าโชห่วยในชุมชน  ที่เคยทำรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว กลับต้องถูกยุบ และเจ๊งไปหลายร้านมาก  คนเหล่านั้นเกิดความเดือดร้อนค่ะ น่าเห็นใจค่ะ  

ขอบคุณมากค่ะ คุณอ้อ ที่ติดตามอ่านและแสดงความคิดเห็นค่ะ

หวัดดีครับอุ๋ย

นอตอ่ะอิจฉากระทรวงเพื่อนมากๆ  ตรงนั้นอ่ะนะความรู้เกี่ยวกับการค้าการขายระหว่างประเทศกองอยู่เป็นพะเนิน  ก็คราวก่อนไปประชุมได้หนังสือกลับมาเพียบเลย  นี่ว่าจะรีบอ่านแล้วเอามาลง Go2Know บ้าง  โดยเฉพาะของกรมเจรจาอ่ะนะ โหของฟรีๆตู้ม  ลองดูลองดู

 สำหรับบทความนี้นอตเห็นว่าระบบการค้าท้ายที่สุดแล้วผลประโยชน์ทั้งปวงก็ยังคงอยู่ในกำมือของประเทศมหาอำนาจที่มีกำลังต่อรองอยู่ดี  ขึ้นอยู่กับว่าวันนี้พรุ่งนี้เขาต้องการอะไรจากประเทศด้อยพัฒนากว่าเขามากน้อยเพียงใด  ประเทศสหรัฐอเมริกาตระเวนเปิดโต๊ะเจรจาการค้าเสรีไปทั่ว  เขาเริ่มจากบ้านเขาก่อน  จับมือกับคานาดาสำเร็จก็เหล่ลงทางใต้  สุดท้ายทวีปนั้นก็มีการค้าการขายที่ต้องอิงกับตลาดของอเมริกาทั้งสิ้น

แต่ถ้าเพื่อนสังเกตดีดี  ทำไมสหภาพยุโรปถึงไม่ปรากฏการทำ FTA กับประเทศอื่นๆบ้างเลย  นั่นสินะ  เพราะอะไร  เด๋วมีโอกาศนอตจะมาแสดงความเห็นเพิ่มเติมนะครับ

นอต

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้ กำลังทำรายงานเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตรพอดีเลยถ้ามีข้อมูลสินค้าเกษตรก็ส่งมาให้ด้วย จะขอบคุณยิ่งเลยค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ คุณเรณู ที่มาติดตามอ่านค่ะ

อื่ม สู้ๆๆนะเพื่อน เป็นเรื่องที่ดีนะเนี่ย น่าสนใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท