ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น


วิจัยชุมชน

         อาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556 ได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์หมอน (คุณบุญเสริฐ เสียงสนั่น) จากสถาบันเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน อาจารย์กาญจนา ทองทั่ว และนักวิจัยชุมชนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

                                   

 

ทำไมต้องทำวิจัยชุมชน

มักมีคำถามเสมอว่า...ทำไมถึงต้องวิจัยชุมชน คำตอบก็คือว่า...เพื่อให้ชุมชนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วยพลังของชุมชน...

 ทำแล้วได้อะไร

        อาจารย์หมอน และอาจารย์นา ได้อธิบายต่อว่าหากชุมชนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้แล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับตนเองและชุมชนได้ อันจะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีต่อไปในอนาคต

 กระบวนการวิจัยทำอย่างไร

       จากแนวทางการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถสรุป ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยได้ 9 กระบวนการ ประกอบด้วย

1. การพัฒนาโครงการ ต้องร่วมกับชุมชน และปัญหาต้องมาจากชุมชน

2. การเตรียมการ

3. การรวบรวมข้อมูล

4. สรุปวิเคราะห์ข้อมูล

5. หาทางเลือกและกำหนดแผนงาน

6. ปฏิบัติการ

7. สรุปวิเคราะห์ผลการศึกษา

8. การนำไปใช้

9. การเผยแพร่

 

 เส้นทางการวิจัย 

                                                        

ตอนบ่าย....

          เป็นการนำเสนอข้อมูลที่นักวิจัยชุมชนพยายามที่จะศึกษา และหาทางออกร่วมกันกับชุมชน ประกอบด้วย

1. เรื่อง...รูปแบบการจัดการน้ำบาดาลให้ถูกหลักสุขาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน นำเสนอโดย อาจารย์จิราภรณ์ หลาบคำ หัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งอาจารย์พยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการศึกษา เพราะหากไม่ศึกษาแล้วจะก่อให้เกิดข้อเสียและผลกระทบต่อชุมชน ดังนั้น อาจารย์จึงพยายามที่จะศึกษาอันจะนำไปสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย การศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนและการจัดการน้ำบาดาลของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาสภาพแวดล้อมและการจัดการสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบาดาล การศึกษาคุณภาพน้ำบาดาลที่ชุมชนใช้ในการอุปโภคบริโภค และการหารูปแบบการจัดการน้ำบาดาลให้ถูกหลักสุขาภิบาลของชาวบ้านบ้านเก่าน้อยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

2. เรื่อง...รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะแก่ครูผู้สูงอายุในการใช้ ICT เพื่อสนับสนุนงานบริหารและงานการเรียนการสอน กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านธาตุ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชาญชัย ศุภอรรถกร เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อสร้างเสริมสร้างศักยภาพให้กับครูผู้สูงอายุในการใช้ ICT ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. เรื่อง...รูปแบบบริหารจัดการพลังงานทางเลือกระดับตำบลอย่างมีส่วนร่วม นำเสนอโดย คุณทิพย์พร บุญมา และอาจารย์ ดร.สุขวิทย์ โสภาพล หัวหน้าโครงการวิจัย เนื่องจากพลังงานเริ่มหมดไป และมีราคาสูงขึ้นดังนั้น ชุมชนต้องให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานอย่างไรจึงจะทำให้ชุมชนสามารถมีพลังงานใช้ได้อย่างยั่งยืน หากชุมชนมีพลังงานทดแทนจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ และสามารถนำรายได้ไปจ่ายอย่างอื่นที่มีความจำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การศึกษาสภาพการใช้พลังงานของชุมชน การสร้างแผนการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน การศึกษากิจกรรมและเงื่อนไขการใช้พลังงานทางเลือก กระบวนการ เงื่อนไข และแผนงานการสนับสนุนของ อปท. แลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าต่อการเลือกใช้พลังงานทางเลือก

4. เรื่อง แผนการตั้งรับและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านการเกษตรของตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

        สืบเนื่องจากผลกระทบที่เกษตรกรได้รับจากภัยธรรมชาติ (ฝนตก ฝนแล้ง น้ำท่วมซ้ำซาก) น้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร ป่าไม้ชุมชนขาดความอุดมสมบูรณ์ ปัญหาการเลี้ยงปศุสัตว์ ปัญหาจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร จากสภาพปัญหาดังกล่าวเกษตรกรจะปรับตัวได้อย่างไร เกษตรกรจะทำอย่างไร เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง แมงกิน เกษตรกรจะต้องปรับตัวเช่น ทำแก้มลิง พืชที่ใช้น้ำน้อย หาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมต่อพืชแต่ละชนิด หรือศึกษาช่วงการปลูกที่ไม่มีแมลงกิน หรือพืชที่ทนต่อโรคแมลง ดังนั้นต้องเก็บ ฐานทรัพยากร ปริมาณน้ำ ทิศทางน้ำ

         การปรับตัว ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเมื่อก่อนเกษตรกรทำอย่างไร เกิดอะไรขึ้น มีคนปรับตัวไหม (ต้องดูว่าที่ผ่านมาเกษตรกรทำอย่างไร) หากไม่พอจะไปหาต่อได้อย่างไร การปรับตัวเป็นการประเมินอนาคต จากที่ผ่านมาการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในอดีต และปัจจุบัน ดังนั้นในอนาคตเกษตรกรจะต้องทำอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร

 

 

จากนั้นอาจารย์ได้ชี้ให้เห็นถึงเครื่องมือที่จะต้องใช้ในกระบวนการวิจัย อันจะเป็นการตอบโจทย์ให้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

      

    • โสเหล่ (Focus group)
    • ฮมกัน (Group Interview)
    • เว้าสู่ฟัง (Oral History)
    • ส่อ (Indept-interview)
    • ซอมเบิ่ง(Participant observation)
    • จอบเบิ่ง(Observation)
    • เดินสำรวจ (Servey)

        จากแนวทางดังกล่าว ตนเองในฐานะนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นรุ่นใหม่ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงาน อันจะนำไปสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทำงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อันประกอบด้วย นักวิจัยและชุมชนอย่างแท้จริง

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

หมายเลขบันทึก: 557059เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2013 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2013 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
        • โสเหล่ (Focus group)
        • ฮมกัน (Group Interview)
          • เว้าสู่ฟัง (Oral History)
          • ส่อ (Indept-interview)
          • ซอมเบิ่ง(Participant observation)
          • จอบเบิ่ง(Observation)
          • เดินสำรวจ (Servey)

          เป็นกระบวนการที่น่าชื่นชมครับ

ขอบคุณมากครับคุณลูกหมูเต้นระบำ ที่เข้ามาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท