ทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม (COGNITIVISM)


แนวคิดทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม

การพัฒนาผู้เรียนหรือพัฒนาความคิดของคนทั่วไป   ซึ่งเป็นการกระทำหรือพฤติกรรมทุกอย่างต้องมาจากจิต  นักจิตวิทยาปัญญานิยมมีความเชื่อว่า มนุษย์นั้นมีพัฒนาการตามวุฒิภาวะ มนุษย์มีสติปัญญาหรือโครงสร้างของสติปัญญาที่สามารถปรับให้เกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมได้ตามระดับวุฒิภาวะหรือความพร้อม นักจิตวิทยาพวกนี้ไม่ปฏิเสธอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธความเป็น "มนุษย์" และความต้องการพื้นฐานของคน

        พฤติกรรมและพัฒนาการของมนุษย์นั้นเกิดตามความสามารถที่มนุษย์จะเรียนรู้ โดยปรับโครงสร้าง สติปัญญา (Accommodation) ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

           บรูเนอร์ (Bruner) เลวิน (Lewin) จีน เพียเจย์ ( Jean Piaget ) และลอเรนซ์ โคลเบอร์ก (Lawrence Kohlberh) เชื่อว่า มนุษย์เป็นผลิตผลของการปรับตนในสภาพแวดล้อม Piaget นักจิตวิทยาผู้นำของกลุ่มนี้ได้อธิบายถึงเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาอันเป็นรากฐานของการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ว่า ประสบการณ์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญาขึ้น การพัฒนาด้านสติปัญญา และความคิดจะเริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม แต่บุคคลมีพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ฉะนั้นพัฒนาการทางสติปัญญาจึงแตกต่าง

            สำหรับ Bruner (พรรณี ช. เจนจิต, 2528: 117 -118) มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้และปรับโครงสร้างทางสติปัญญานั้น ก็โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การกระทำ (Acting) การสร้างภาพในใจ (Imagine) และการใช้สัญลักษณ์ (Symbolizing) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต  

ทฤษฎีและนักจิตวิทยาในกลุ่มปัญญานิยม ได้แก่

                  2.1  ทฤษฎีพัฒนาเชาว์ปัญญาของ  พีอาจ์ และ  วิก็อทสกี้

                  2.2  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์

                  2.3  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซุเบล

                  2.4  ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของวัลลัช และ เทย์เลอร์

                  2.5  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์

                  2.6    ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก

หมายเลขบันทึก: 556997เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท