คุยกับ ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ


 

          วันที่ ๑๘ พ.ย. ๕๖  หลังจบการประชุมคณะกรรมการตัดสินผลงานวิจัยเด่น สกว.   ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กับผมถือโอกาสอยู่คุยกันต่อ    เรื่องแนวทางส่งเสริมการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          เรามีความเห็นพ้องกันว่า ความเข้มแข็งทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง    หรือมองมุมกลับ หากยังปล่อยให้การวิจัยด้านนี้ยังอ่อนแอ อย่างในปัจจุบัน    จะมีผลร้ายต่อสังคม

          ผมให้ความเห็นกับท่านว่า    สกว. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริหารงานวิจัย อย่างน่าชื่นชมมาก    แต่ความสำเร็จนั้น เอียงไปข้างสาขาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี    สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ได้รับอานิสงส์เท่าที่ควร    สะท้อนว่า แนวทางการจัดการงานวิจัยของ สกว. นั้น  น่าจะยังไม่เหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติของงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

          จึงน่าจะมีการพัฒนาองค์กร และระบบบริหารงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขึ้นมาในสังคมไทย   แบบเดียวกับที่ผมและคณะพัฒนา สกว. และระบบการจัดการงานวิจัยของ สกว. ขึ้นเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว

          เราคุยกันถึงองค์กรแบบ The Social Science Research Council ในสหรัฐอเมริกา     The Social Science and Humanities Research Council ของแคนาดา    Arts and Humanities Research Council ของอังกฤษ

          ดร. ธเนศ เอ่ยถึงตัวอย่าง ARI  NUS   ที่เริ่มต้นด้วยการไปดึงตัว Prof. Anthony Reid มาจาก ANU   โดยที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์ให้งบประมาณหนุนการจัดตั้ง ARI (Asia Research Institute) เต็มที่    ผมให้ความเห็นว่า กรณีเช่นนั้นเกิดยากในประเทศไทย   เพราะรัฐบาลไม่มองมหาวิทยาลัยและวิชาการเป็นเครืองมือ ในการสร้าง ความเข้มแข็งของประเทศ    บางรัฐบาลระแวงมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ

          ผมชี้ให้เห็นว่า การมี สกว. ในสังคมไทยเป็นอุบัติเหตุ หรือเหตุบังเอิญ    เกิดจากการมีรัฐบาลอานันท์ และมี ศ. ดร. ไพจิตร เอื้อทวีกุล ที่มีสายตากว้างไกล   ผมยังมองไม่เห็น ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ในสภาพปัจจุบัน จะเห็นความสำคัญของการก่อตั้ง สำนักงานสนับสนุนการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          แต่เราก็ไม่สิ้นหวัง    เราต้องช่วยกันคิดหาช่องทางสร้างความเจริญด้านวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น Knowledge-Based Society   หลุดพ้น  middle-incoem trap ให้ได้

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๙ พ.ย. ๕๖

 

หมายเลขบันทึก: 556829เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ ผมเข้าไปดูเวปไซด์ สกว. และสังเกตลักษณะนี้ครับครับ อาจารย์ จากประกาศการให้ทุนกลุ่มเรื่องเร่งด่วน 2556 ประกอบด้วย

0d215f2525

ประกาศ

เรื่อง ผลการคัดเลือกข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย

ประจำปีงบประมาณ 2556 (11 กลุ่มเรื่องเร่งด่วน)

: กลุ่มเรื่องข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

การบริหารจัดการการท่องเที่ยว สุขภาพและชีวเวชศาสตร์ อ้อยและน้ำตาล อาหาร

การวิจัยพื้นที่สูง ปาล์มน้ำมัน การคมนาคมขนส่งระบบราง

ระบบงานนั้นเน้นไปที่เรื่องวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางสังคมหากดูตามโครงสร้าง สกว. นั้น ที่เห็นชัดเจน ในเชิงการพัฒนาพื้นที่ ฝ่ายวิจัยท้องถิ่น เป็นต้น แต่หากเด่นชัดนั้นยังไม่ปรากฏออกมามากนักครับอาจารย์อาจด้วยเหตุผลหลายประการทั้งในเรื่อง ประเด็นจการัฐบาล หรือเรื่องอื่นๆ ทำให้ศาสตร์ที่เป็นการมองเชิงสังคมเหล่านี้อ่อนลงไปเป็นอยากมา หรือแม้กระทั้ง สสส. ที่มองเชิงสังคมสุขภาวะประการหนึ่งนั้นก็มีลักษณะการมองเชิงที่เป็นผลผลิตเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสังคมสุขภาวะ

ด้วยความเคารพอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท