เทคนิคการสอนจากหะดีษนบี


การสร้างความพร้อม การรับรู้ การจูงใจ สร้างความคุ้นเคย(ขจัดความกลัวและความแคลงใจ) การเสริมแรง การสร้างบทบาทสมมุติ

คำสอนในอิสลามมีสองอย่างที่มุสลิมทุกคนปฏิเสธไม่ได้ คือ คำสอนที่มาจากอัลกุรอานกับคำสอนที่มาจากหะดีษศอฮีฮฺ(ถูกต้องเป็นที่ยอมรับ)

        หะดีษนบี คือ คำสอนของศาสดาหรือของนบีมูฮำหมัด จะมีในลักษณะที่แตกต่างกัน บางครั้งนบีจะสอนตรงๆ บางครั้งจะสอนโดยการ ทำให้ดู แม้การที่ท่านนิ่งเฉยก็เป็นแบบอย่างอย่างหนึ่ง

        มีหะดีษหนึ่งซึ่งรายงานโดยสาวกที่ใกล้ชิดท่าน คือ ท่านอุมะร์ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ โดยท่าน อุมะร์ได้เล่าว่า

        ในระหว่างที่พวกเรานั่งอยู่กับนบีในวันหนึ่ง อยู่ๆ ก็มีชายแปลกหน้าปรากฏตัวขึ้นมาคนหนึ่ง ใส่เสื้อผ้าขาวมาก ผมดำสนิท และไม่มีร่องรอยของการเดินทาง พวกเราก็ไม่มีใครรู้จักชายคนนั้น จนกระทั่งเขามานั่งใกล้นบี ถึงขนาดเอาเข่าชนกัน และวางมือบนตัก(ลักษณะของคนพร้อมที่รับรู้) และถามนบีว่า

            “โอ้มุฮำหมัด จงบอกแก่ฉันเกี่ยวกับอิสลาม”

ท่านนบี(ศอลฯ) ก็ตอบว่า “อิสลาม คือ ...

  1. เจ้าต้องปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮำหมัด(ศอลฯ)นั้นเป็นรอซูล(ศาสนทูต)ของอัลลอฮฺ 
  2. เจ้าต้องดำรงละหมาด
  3. ต้องจ่ายซากาต (ภาษีในอิสลาม)
  4. ต้องถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน
  5. และต้องไปทำฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮฺหากเจ้าสามารถทำได้

             เขาก็ตอบว่า “ถูกต้อง” ท่านอุมาร์รายงานต่อว่า พวกเราแปลกใจกับเขามาก เขาถามแล้วเขายอมรับว่าถูก

             เขากล่าวต่ออีกว่า “ จงบอกฉันเกี่ยวกับอีมาน(การศรัทธา)”

          นบีก็ตอบว่า

  1. “เจ้าต้องศรัทธาต่ออัลลอฮฺ
  2. มะลาอิกะฮฺของพระองค์
  3. คัมภีร์ของพระองค์
  4. บรรดารอซูลของพระองค์
  5. วันสิ้นโลก
  6. และศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะที่ดีและไม่ดีของมัน”

            เขาก็ตอบว่า “ถูกต้อง

              และกล่าวต่อว่า “จงบอกฉันเกี่ยวกับอิฮฺซาน

             นบีก็ตอบว่า “เจ้าแสดงความภักดี(ทำอิบาดะฮฺ) เหมือนว่าเจ้าเห็นพระองค์ แม้นว่าเจ้าไม่สามาถมองเห็นพระองค์ได้ พระองค์ก็จะเห็นเจ้า

               เขาก็กล่าวต่อว่า “จงบอกฉันเกี่ยวกับวันกิยามะฮฺ(วันสิ้นโลก)”

              ท่านนบี(ศอลฯ) ตอบว่า “ผู้ที่ถูกถามถึงสิ่งที่ถามมานั้น ไม่ได้รู้มากกว่าผู้ถาม

               เขาก็กล่าวต่อว่า “ดังนั้นจงบอกแก่ฉันถึงสัญญาณของมัน”

               ท่านนบีตอบว่า

  •  “ ทาสหญิงคลอดลูกเป็นนายของนาง
  • และเจ้าเห็นคนเท้าเปล่า เสื้อผ้าขาดๆเป็นคนที่เลี้ยงแพะ(หมายถึงคนชนบทยากจน) แข่งขันสร้างตึกสูงๆ”

          และเขา(ชายคนนั้น)ก็ได้เดินไป อุมะร์ ก็เล่าต่อว่า ฉันนิ่งเงียบอยู่นาน ท่านนบี(ศอลฯ)ก็ได้ถามฉันว่า

            “นี่ อุมะร์ เจ้ารู้ไหมว่าใครคือผู้ถามคนนั้น”

             ฉันก็ตอบว่า “อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เท่านั้นที่ทราบ”

              ท่านนบีตอบว่า “เขาคือ ญิบรีล(มะลาอิกะฮฺ) เขามาหาพวกเจ้า เพื่อที่จะสอนเรื่องศาสนาแก่พวกเจ้า” (หะดีษนี้บันทึกโดย มุสลิม)

 

                 หะดีษนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ศึกษาเน้นหะดีษโดยตรงหรือผู้เริ่มศึกษาอิสลามจะต้องเรียนรู้หะดีษนี้หรือไม่ก็เนื้อหาของหะดีษนี้ 

                  แต่โดยทั่วไปแล้วเวลาศึกษาหะดีษนี้จะศึกษาในเนื้อหาของหะดีษเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับว่าเป็นแกนหลักของอิสลาม อันประกอบด้วย

  • หลักอิสลาม(รุกุน)อิสลามทั้งห้า
  • หลักศรัทธา(รุกุนอิมาม)
  • หลักอัลอิฮซาน
  • และสัญญาณวันกิยามะฮฺ(วันสิ้นโลก) 

           ฉะนั้นเนื้อหาของหะดีษนี้จะไม่กล่าวในที่นี้ แต่จะไปดูอีกมุมหนึ่งที่เป็นแบบอย่างการสอนที่ได้ผลดีที่สุดอีกวิธีการหนึ่ง ดังที่ท่านนบีได้กล่าวในตอนท้ายของหะดีษนี้ว่า

  أَتَاكُمْيُعَلِّمُكُمْ دِيْنَكُمْ

(เขามาหาพวกเจ้า เพื่อนที่จะสอนเรื่องศาสนาแก่พวกเจ้า)

          

  • ·หะดีขึ้นต้นด้วยการใช้หลักการรับรู้ สร้างความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะรับฟังและรับรู้

بَيْنَمَانَحْنُعِنْدَرَسُولِاللَّهِ‏صَلَّىاللَّهُعَلَيْهِوَسَلَّمَ‏ذَاتَيَوْمٍإِذْطَلَعَعَلَيْنَارَجُلٌشَدِيدُبَيَاضِالثِّيَابِشَدِيدُسَوَادِالشَّعَرِلَايُرَىعَلَيْهِأَثَرُالسَّفَرِوَلَايَعْرِفُهُمِنَّاأَحَدٌ

(ระหว่างที่พวกเราอยู่กับรอซูลุลลอฮฺ(ศ็อลลอลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม : ขออัลลอฮฺโปรดปรานและสันติแด่ท่าน)ในวันหนึ่ง พวกเราได้เห็นชายคนหนึ่งสวมเสื้อที่ขาวมาก ผมดำสนิท ไม่มีร่องรอยของการเดินทาง และไม่มีผู้ใดเลยในกลุ่มพวกเราที่รู้จักเขา)

1.       เป็นชายแปลกหน้า

2.       เสื้อที่เขาใส่ก็สีขาวมากสร้างความจูงใจ

3.        ผมเขาก็ดำสนิท

4.       น่าจะเป็นผู้มาไกลแต่แปลกไม่มีร่องรอยการเดินทางเลยสร้างความฉงนชวนสงสัยมาก

5.        ที่สำคัญเขาเป็นคนที่กลุ่มเศาะฮาบะฮฺด้วยกันไม่รู้จัก

             จากจุดนี้เป็นแบบอย่างแก่ครูทุกคนในการทำให้นักเรียนสนใจและพร้อมที่จะรับเรื่องที่ครูจะสอน พอสรุปได้ดังนี้ 

1.สร้างความเด่นโดยใช้สี (ในหะดีษนี้เสื้อสีขาวโดดเด่นตัดกับผมดำสนิท) 

2.สร้างความแปลใหม่ชวนติดตาม (ไม่มีร่องรอยของการเดินทาง และไม่มีผู้ใดเลยในกลุ่มพวกเราที่รู้จักเขา)

  • ·สร้างความใกล้ชิด จนผู้เรียนรู้สึกไว้วางใจ ยอมรับฟังในสิ่งที่ครูสอน

‏ ‏حَتَّى جَلَسَ إِلَى النَّبِيِّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ

(จนกระทั่งเขามานั่งใกล้นบี และเอาเข่าชนเข่านบีน และวางมือบนตัก )      

มีงานวิจัยได้ทำการวิจัยกับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่าเด็กจะเชื่อฟังคนที่เด็กรู้จักมากกว่าคนแปลกหน้า   ในหะดีษนี้แม้จะมาในรูปชายแปลกหน้าแต่เวลาสอนชายแปลกหน้าจะแสดงความใกล้ชิดกับนบีที่พวกเขานับถือแสดงความสนิทสนมกัน

นอกจากนี้แล้ว ในบทนี้ของหะดีษนี้ เป็นการสอนให้แก่ผู้เรียนด้วย โดยให้สัญญาณว่าผู้เรียนที่ดี ควรจะน้อบน้อมครูบ่าอาจารย์ โดยเอามือวางบนตัก และแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะรับงฟังคำสอนของครู

 

  • ·เสริมแรง (Reinforcement) ทุกครั้งที่ลูกศิษย์ทำดี ควรเสริมแรง และในหะดีษ ใช้การเสริมแรงที่เป็นคำชม

قَالَ صَدَقْتَ

(เขาก็ตอบว่า “ถูกต้อง”)

 

  • ·การสอนด้วยบทบาทสมมุติ

فَإِنَّهُ ‏ ‏جِبْرِيلُ ‏ ‏أَتَاكُمْيُعَلِّمُكُمْ دِينَكُمْ

(เขา(ชายคนนั้น)เป็นญิบรีล(ทูตของอัลลอฮฺ) เข้ามาหาพวกเจ้า เพื่อสอนศาสนาแก่พวกเจ้า)

หมายเลขบันทึก: 55660เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณค่ะในความรู้เรื่องศาสนาอิสลามนะค่ะ

และขอขอบคุณสำหรับตัวอย่างการใช้ Arabic Font ใน GotoKow ค่ะ เป็นการยืนยันให้ผู้ใช้ท่านอื่นเห็นว่า GotoKnow เป็น Multilingual System ที่ดีค่ะ :)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ 

ผมยังพิมพ์ไม่เสร็จ และยังไม่ได้ตรวจปรูฟ ไม่ได้พิมพ์ไว้ที่อื่นด้วย กลัวจะหายเซฟ ไว้ก่อน มีอะไรช่วยแนะนำด้วยครับ

 

ด้วยความยินดีค่ะ มีข้อสงสัยใดๆ ถามเข้ามาได้ค่ะที่ http://tutorial.gotoknow.org ค่ะ

สลาม...ไม่ทราบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการสอนอัลหะดิษอีกไหม? พอดีต้องการข้อมูลด่วนจะเอาไปทำรายงาน

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

มีครับ

กำลังรวบรวมอยู่

แตช้าหน่อย เพราะตอนนี้กำลังรวมเรื่องการแนะแนวในอิสลาม

อินชาอัลลอฮฺ และขอให้ดูอาให้ด้วยนะครับ

หะดีษที่สองที่ขอยกมาในที่นี้

‏عَنْ ‏أَبِي هُرَيْرَةَ
‏أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏دَخَلَ الْمَسْجِدَ فَدَخَلَ رَجُلٌ فَصَلَّى ثُمَّ جَاءَ فَسَلَّمَ عَلَى النَّبِيِّ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلَامَ فَقَالَ ‏ارْجِعْ فَصَلِّ فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ فَرَجَعَ الرَّجُلُ فَصَلَّى كَمَا كَانَ صَلَّى ثُمَّ جَاءَ إِلَى النَّبِيِّ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏فَسَلَّمَ عَلَيْهِ فَرَدَّ عَلَيْهِ السَّلَامَ فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ارْجِعْ فَصَلِّ فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ حَتَّى فَعَلَ ذَلِكَ ثَلَاثَ مِرَارٍ فَقَالَ لَهُ الرَّجُلُ وَالَّذِي بَعَثَكَ بِالْحَقِّ مَا أُحْسِنُ غَيْرَ هَذَا فَعَلِّمْنِي فَقَالَ إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلَاةِ فَكَبِّرْ ثُمَّ اقْرَأْ بِمَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنْ الْقُرْآنِ ثُمَّ ارْكَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ رَاكِعًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَعْتَدِلَ قَائِمًا ثُمَّ اسْجُدْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ سَاجِدًا ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ جَالِسًا وَافْعَلْ ذَلِكَ فِي صَلَاتِكَ كُلِّهَارواه الترمذي  

รายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ(รอฎิฯ) ว่า..

ท่านเราะซูลุลลอฮฺได้เข้าไปในมัสยิด แล้วมีชายคนเข้าไปในมัสยิดเหมือนกัน ชายคนนั้นก็ละหมาด หลังจากละหมาดเสร็จชายคนนั้นก็ได้ไปหานบี(ศ็อลฯ) นบีก็ตอบสลามเขา และกล่าวว่า "เจ้าจงกลับไปละหมาดแท้จริงเจ้ายังไม่ละหมาดเลย" ชายคนนั้นกลับไปละหมาดใหม่ หลังจากละหมาดเสร็จเขาก็ได้ไปหานบีและให้สลาม นบีก็ตอบสลาม และกล่าวเหมือนเดิมอีกว่า "เจ้าจงกลับไปละหมาด แท้จริงเจ้ายังไม่ได้ละหมาด" ไปมาแบบนี้ถึงสามครั้ง และสุดท้ายชายคนนั้นก็กล่าวว่า "แท้จริงเจ้าถูกบังเกิดขึ้นเพื่อความจริง จงสอนฉันเถิด" ท่านนบีก็สอนว่า "เมื่อเจ้าลุกขึ้นละหมาดแล้ว เจ้าก็ตักบีรฺแล้วอ่านอัลกุรอานเท่าที่เจ้ามีอยู่ แล้วเจ้าจงก้มคำนับและหยุดสงบระยะหนึ่งในการก้มคำนับนั้น จากนั้นเจ้าก็ลุกขึ้นยืนตรง แล้วก็จงก้มกราบ(สุยุด)หยุดสงบสักระยะหนึ่งในระหว่างกราบอยู่นั้น จากนั้นก็ลุกนั่งและหยุดสงบสักระยะหนึ่งในระหว่างการนั่ง และทำแบบนี้ตลอดการละหมาด "  หะดีษนี้ บันทึกโดย อัตตัรมีซียฺ

หะดีษนี้ ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้สอนวิธีการละหมาดแก่ชายผู้นั้น แต่การสอนของท่าน เป็นไปอีกในแนวหนึ่ง หรืออีกวิธีการหนึ่ง คือ ท่านไม่ได้ให้ชายคนนั้นทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งท่านจะทำแบบนั้นก็ได้ แต่ท่านเลือกสอนโดยให้ชายคนนั้นลองผิดลองถูกไปก่อน ซึ่งผลของมันจะทำให้ชายคนนั้นจดจำตลอด อันนี้คงคล้ายๆกับวิธีการสมัยใหม่ที่นำเสนอโดยนักจิตวิทยาที่โลกรู้จักกันดี เช่น ธอร์นไดค์ คือการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก(Trail&Error) และการศึกษาอย่าง จอห์นดิวอี้ ทีมีแนวคิดการสอนโดยใช้ประสบการณตรง (Leraning by doing)

อยากได้หะดีษ จังเลยค่ะ

ขอข้อมูลเกี่ยวกับการสอนของท่านนบีมูฮำหมัดไครมีข้อมูลบ้างละ

อัลลาฮํมดูลิลลาฮฺ และ ขอขอบคุณกับบทฮาดีส ดีดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท