การใช้ภาษาในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ๑ : มุมมองที่แตกต่าง


ตั้งใจจะเขียนเรื่องการใช้คำหรือภาษาในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเป็นชุด ด้วยเหตุผลสองข้อ ข้อแรกเพราะอยากได้เสื้อฟรี ข้อสองเพราะเกิดแรงบันดาลใจหลังจากได้อ่านรายงานฉบับนี้

More Care, Less Pathway : A Review of The Liverpool Care Pathway

 

ปีนี้ มีข่าวใหญ่ที่คนในวงการ pallaitve care ฮือฮากันทั่วโลก ก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดข้ึนในประเทศอังกฤษ ประเทศแม่แบบของวงการ palliatie care และได้ชื่อว่ามีระบบบริการด้านนี้ดีที่สุด

สืบเนื่องมาจากเมื่อปลายปีที่แล้ว เกิดเรื่องร้องเรียนจากญาติผู้ป่วยในประเทศอังกฤษทำนองว่า โรงพยาบาลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างน่าสงสัย เพราะใช้ Liverpool Care Pathway ตามรูปข้างล่าง

ภาพจาก http://i.dailymail.co.uk

 

Liverpool Care Pathway คืออะไร

ขออธิบายสั้นๆแล้วกันนะครับว่า Liverpool Care Pathway เป็นแนวทางปฏิบัติและประเมินกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในโรงพยาบาล ที่นำต้นแบบมาจากสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งกำหนดไว้ว่า เมื่อวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้แล้ว จะต้องดำเนินการอะไรบ้าง ซึ่งดูแล้วก็น่าจะดี และมีคนนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมาหลายปี

 

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศแม่แบบ เกิดจากการเอาไปใช้กันอย่างผิดๆ จึงเกิดปัญหาให้รัฐบาลอังกฤษต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อสอบสวนและสัมภาษณ์ผู้คนจำนวนมากในเหตุการณ์ดังกล่าว จนในที่สุด มีรายงานฉบับข้างบน ออกมาเดือนกรกฎาคมปีนี้เอง

 

ในบรรดาเอกสารบทความที่ผมอ่านมาตลอดทั้งปีนี้ ผมยกให้รายงานฉบับนี้เป็น paper of the year ในใจผมเลย น่าอ่านมาก ถึงจะหนากว่า ๖๐ หน้า แต่อ่านสนุกแบบวางไม่ลง ยิ่งกว่าอ่านนวนิยายเสียอีก ขอบอก

 

ประเด็นเกี่ยวกับการใช้ภาษา

บันทึกนี้ ผมจะขอนำส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการใช้ภาษามากล่าวถึงเท่านั้น 

รายงานฉบับนี้ติงแม้กระทั่ง ชื่อ Liverpool Care Pathway โดยกล่าวว่า คำว่า pathway หรือ วิถี เป็นคำที่ไม่ควรใช้ เพราะผู้ป่วยและญาติคงไม่ค่อยเข้าใจความหมายของมัน คนทั่วไปจะคิดว่ามันหมายถึง ถนนหรือทางไปสู่จุดหมายบางแห่ง ซึ่งฝ่ายบุคลากรคือหมอพยาบาลเป็นผู้เลือกให้ มันเหมือนผู้ป่วยถูกจับใส่ 'สายพานไปสู่ความตาย" อะไรทำนองนั้น รายงานจึงแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้คำว่า care plan หรือ แผนการดูแล จะดีกว่า

 

เป็นยังไงครับ ภาษาเทพที่ดูดีเป็นวิชาการ กลับถูกชาวบ้านมองเป็น คำแรงเกิน

หมายเลขบันทึก: 556484เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ เต็มคะ พี่แก้วและทีม กำลังจะจัดการแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้มีประสบการณ์ในการดูแลระยะสุดท้าย ในการหาแนวทางประเมินด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของแต่ละคน

ทีมเราอยาก KMกับอาจารย์ทาง gotoknow ด้วยนะคะ

  • ดีเลยครับพี่แก้ว พอจบจากหัวข้อกว้างๆแบบบการสื่อสารเดือนกุมภาพันธ์ สรุปแก่นความรู้เดือนมีนาคม พอขึ้นเมษายน เราก็เปลี่ยนแนวเป็นหัวข้อเชิงลึก อย่าง การประเมินด้านจิตวิญญาณ ก็ดีนะครับ
  • ระหว่างนี้ เราก็หาแนวร่วมกับระดมคน ระดมความคิดกันก่อน
  • พี่อยากให้ไปจัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ขอนแก่นด้วยหรือเปล่าครับ อันนี้ต้องมีอัดโปรโมชั่นให้ทีมงานของผมหน่อยนะครับ

แวะมาเล่าให้อาจารย์อ่านค่ะ ช่วงที่จันเป็นไซนัส หมอบอกว่าต้องส่องกล้องดู จันก็ปฏิเสธสถานเดียวเพราะกลัวว่าจะโดนเอาเครื่องมือระโยงระย้าใส่เข้าไปในจมูก แต่พอตั้งสติได้ก็ถามว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอุปกรณ์การส่องกล้องก็เป็นแค่ไม้ยาวๆ เล็กๆ ที่หมอแหย่เข้าไปในรูจมูกของเราไม่ลึกมากค่ะ มานั่งนึกดูแล้วเรากลัวคำว่าส่องกล้องมากเลยค่ะ ถ้าบอกว่าตรวจในรูจมูกดูหน่อย น่าจะสบายใจกว่านะคะ :)

  • โห แค่คำว่า 'ส่องกล้อง' ก็น่ากลัวแล้วหรือครับ เพิ่งรู้จริงๆ ต้องไปบอกหมอหูคอจมูกแล้วครับ ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท