คุณเห็นด้วยกับท่าทีของเชนที่ว่า ความจริงเป็นสัจจนิยมและสัมพันธนิยมหรือไม่ ?


คุณเห็นด้วยกับท่าทีของเชนที่ว่า ความจริงเป็นสัจจนิยมและสัมพันธนิยมหรือไม่ ?

ท่าทีของเชนเป็น แบบสัจนิยม (Realistic) ได้แก่ แนวความคิดที่ว่าองค์ภาวะหรือสิ่งที่มีตัวตนนั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ กายกับจิต หรือ รูปกับนาม

ศาสดาของศาสนาเชน พระมหาวีระ (Mahavira, ราวปี ๕๙๙ ก่อน ค.ศ.) มีแนวคิดว่าความเป็นจริง ได้แก่ชีวะ (สสาร) และอชีวะ (อสสาร) ทั้งสองต่างมีอิสระ ไม่ขึ้นต่อกัน

ทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่สำคัญของเชน ได้แก่ทฤษฎีอเนกันตวาท  คือ เป็นแนวปรัชญาที่เชื่อว่า ความจริงสูงสุดนั้นมีโครงสร้างที่หลากหลายซับซ้อน เพราะประกอบด้วยคุณสมบัติมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งฝ่ายบวก และฝ่ายลบ  การอธิบายถึงความจริงจึงต้องอาศัยมุมมองที่หลากหลาย จึงจะสามารถเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของมันได้ ยกตัวอย่างเช่น สรรพสิ่งที่มีอยู่  ถ้าเรามองจากคุณลักษณะที่แท้จริง (ทรัพย์) ของมัน เราก็อาจกล่าวได้ว่า เที่ยงแท้ แต่ถ้ามองจากรูปร่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เป็นลักษณะเทียม (accidental)   หรือสิ่งที่เป็นวัตถุย่อมคงมีอยู่ในฐานะเป็นวัตถุ แต่ในฐานะเป็นสิ่งเฉพาะ มันก็มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นต้น

เชนแบ่งสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ชีวะ ได้แก่สิ่งที่มีชีวิต กับ อชีวะ ได้แก่สิ่งที่ไม่มีชีวิต   ทั้งสองสิ่งนี้ต่างก็เป็นสิ่งแท้จริงอยู่ในตัวของมัน  และประกอบด้วยอณู หรือปรมาณูมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเชนเรียกว่า ทรัพย์ (Substance)   และจำแนกทรัพย์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ทรัพย์ที่เป็นคุณลักษณะแท้ (เรียกว่า คุณะ) และทรัพย์ที่เป็นคุณลักษณะเทียม (เรียกว่า ปรยายะ) ทรัพย์จึงเป็นสัจภาวะ คือความจริง ซึ่งในทัศนะของเชน จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

เชนมีความเป็นแนวคิดจักรวาลวิทยา (Cosmology) กล่าวคือ เชื่อว่า วิญญาณหรือชีวิต (Jiva) มีอยู่คงที่ ไม่สามารถสร้างหรือทำลายได้ ชีวิตนี้ไม่ได้มีเพียงในคนหรือสัตว์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงพืช จุลินทรีย์ แมลง หรือแม้แต่ธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ ชีวิตแต่ละชีวิตจะพึ่งพาตนเอง ไม่สามารถพึ่งพากันได้ อีกทั้งยังจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนกระทำไว้ เสมือนแนวคิดเรื่องกรรม (Karma) ของศาสนาอินเดียอื่นๆ จักรวาลนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจำแนกออกเป็น ๕ ระดับ อาทิ เหนือโลก โลกบน โลกกลาง โลกล่าง และใต้โลก

นอกจากเรื่องวิญญาณแล้ว ศาสนาเชนยังเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ (Samsara) คล้ายพระพุทธศาสนา เมื่อคนซึ่งอาศัยอยู่ในโลกกลางประพฤติดีก็จะได้รับบุญ ให้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ คือโลกบน ในขณะที่คนประพฤติชั่วจะเป็นบาป และไปลงนรก คือโลกล่าง หรือกลับชาติไปเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำต้อยกว่าที่ระดับใต้โลก และหากลบล้างกรรมหมดก็จะหลุดพ้นจากวงจรนี้ ไม่มาเกิดอีก หรือบรรลุโมกษะ (Moksha) ซึ่งเทียบเท่ากับการบรรลุนิพพานของศาสนาพุทธ และได้กลายเป็นพระเจ้า หรือ ชินะ (Jina) สถิตอยู่เหนือโลกอย่างถาวร

พระเจ้าในศาสนาเชนไม่เหมือนกับพระเจ้าในศาสนาอื่น กล่าวคือ จะไม่บันดาลหรือควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับกฎของธรรมชาติแห่งจักรวาล แต่จะมีปัญญา พลัง และญาณรับรู้ไม่จำกัด เสมือนกับการตรัสรู้ หากมีผู้บรรลุโมกษะมากขึ้น จำนวนพระเจ้าก็จะมากขึ้น และทุกคนมีโอกาสได้เป็นพระเจ้า ทว่าศาสนาเชนก็ไม่เชื่อในพระเจ้าผู้สร้าง และพระเจ้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ คือ จักรวาล ในทางเทววิทยาจึงกล่าวว่า ศาสนาเชนเป็นทั้งศาสนาอเทวนิยม (Atheism) เอกเทวนิยม (Monotheism) พหุเทวนิยม (Polytheism) และสรรพเทวนิยม (Pantheism) ในเวลาเดียวกัน

หนทางนำไปสู่ความหลุดพ้นประกอบไปด้วย ๓ องค์สำคัญ คือ รู้ชอบ เห็นชอบ และประพฤติชอบ ศาสนิกชนของเชนถือคำปฏิญาณ ๕ ประการ เรียกว่า มหาวรตะ (Mahavrata) ได้แก่

- อหิงสา (Ahimsa) หรือ ไม่เบียดเบียน คือ ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น ชาวเชนส่วนมากจึงไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ตัดหรือถอนต้นไม้ รับประทานแต่ผลไม้และถั่วซึ่งเป็นผลพลอยได้จากสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโดยตรง เช่น ส่วนลำต้นหรือราก ไม่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าที่ทำจากขนหรือหนัง ไม่ทำงานในสวนสัตว์หรือคณะละครสัตว์ รวมถึงไม่ทำธุรกิจค้าขายอาวุธและยาฆ่าแมลงหรือยากำจัดวัชพืช นับเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญที่สุดของชาวศาสนาเชน

- สัตยะ (Satya) หรือ ไม่พูดเท็จ คือไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่มีมูลและกล่าวเฉพาะถ้อยคำที่เป็นความจริง มีความจริงใจ เป็นต้นว่า พ่อค้าจำหน่ายสินค้าก็ไม่ควรปิดบังข้อบกพร่องของสินค้านั้น บุคคลหนึงๆ ไม่ควรหลีกเลี่ยงการชำระภาษี และนักเรียนก็ไม่ควรทุจริตการสอบ

- อัสเตยะ (Asteya) หรือ ไม่ลักขโมย คือ ไม่นำเอาทรัพย์สินที่คนอื่นไม่ให้มา หรือให้มาโดยไม่เต็มใจ หลักอัสเตยะนี้มีความเชื่อมโยงกับหลักสัตยะอย่างใกล้ชิด

- อปริครหะ (Aparigraha) หรือ ไม่ถือครอง คือ ไม่แสดงความเป็นเจ้าของสิ่งของใดๆ อีกทั้งไม่มีสิ่งของในครอบครองเกินความจำเป็น สมณเพศในศาสนาเชนยังถือกฎอปริครหะอย่างเคร่งครัดโดยแทบไม่ครอบครองสิ่งใดเลย นอกจากที่อยู่อาศัยและอาหารประทังชีวิต นับว่าเป็นกุศโลบายเพื่อกระจายความเท่าเทียมทางฐานะระหว่างชาวศาสนาเชน อีกทั้งไม่ให้มนุษย์ยึดติดกับวัตถุมากเกินไป อันเป็นทัศนคติที่ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏได้

- พรหมจรรยะ (Brahmacharya) หรือ ไม่ผิดพรหมจรรย์ คือ ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ได้สมรสด้วย ผู้ที่ถือพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัดจะละเว้นจากการสมรสอย่างสมบูรณ์ ส่วนบรรพชิตในศาสนาเชนจะไม่คิดถึงการมีเพศสัมพันธ์และพยายามไม่ระลึกถึงเพศสัมพันธ์ที่เคยมีก่อนการถือสมณเพศ

โดยศีลสี่ข้อแรกถือปฏิบัติกันมานานแล้วตั้งแต่ปรัชญาเชนถือกำเนิดขึ้น แต่ข้อสุดท้ายคือพรหมจรรยะเพิ่งปรากฏในยุคของพระมหาวีระ หรือตีรถังกรคนสุดท้าย ส่วนหลักอหิงสาซึ่งเป็นแก่นของศาสนาเชนก็ได้ถูกปรับนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียในยุคมหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi)

 

ศาสนาเชนเชื่อว่าโลกและจักรวาลไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ ปฏิเสธทัศนะเรื่องการสร้างโลกและความเชื่อเรื่องพระเจ้า ศาสนาเชนเชื่อเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ ทัศนคติที่ผู้นับถือศาสนาเชนยึดถือและปฏิบัติคือ การมีชีวิตอยู่เพื่อให้ชีวิต (ช่วยเหลือผู้อื่นและสรรพสิ่ง)  ( live and let live)  องค์มหาวีระทรงสอนว่า เราคือมนุษย์ ดังนั้นเราจงใช้ชีวิตในการช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อพระองค์กล่าวเช่นนี้ มิได้หมายถึงเพียงแค่การช่วยเหลือชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่พระองค์ทรงหมายถึงสรรพชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ รวมไปถึงพืชพันธุ์ อากาศ ดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ หลักอหิงสาในศาสนาเชนเชื่อว่าทุกอณูพื้นที่เต็มไปด้วยชีวิต ชีวิตทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกัน ศาสนาเชนสอนว่า ธาตุธรรมชาติทั้งหลายที่เป็นแหล่งก่อกำเนิดชีวิต  ธาตุธรรมชาติเหล่านี้มีความเป็นชีวิตอยู่เช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรเคารพธรรมชาติและไม่เบียดเบียนสิ่งเหล่านี้

คำสำคัญ (Tags): #ฆ.ระฆัง
หมายเลขบันทึก: 555873เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เริ่มก็พบว่าขาดแล้วหละ

แท้จริงแล้ว ปัจจุบันยอมรับว่า ทุกสรรพสิ่งมีสี่ สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ประกอบอยู่ คือ

1. นาม (name)

2. รูป (Shape)

3. คุณค่า (value)

4. เวลาที่เหมาะสม (balancing time)

นี่บริษัทโฆษณา ช่วยทำโฆษณานี่ให้ชั้นหน่อยซิ

นี่ สิ่งนี้ มีนามว่า เช่นนี้ ....

มีรูปดังที่เห็นนี่ เอาไปพิจารณานะ

เอานายจ้างจ๋า ช่วยแจงคุณค่าของสินค้าท่านให้เราฟังหน่อยเถิด (ลองไปหาครีเอทีฟโฆษณา เค้าจะถามเช่นนี้แหละว่าคุณค่าอยู่ตรงไหน)

ได้เลย แล้วนัดเวลาไหนล่ะที่จะทำโฆษณาชิ้นนี้เสร็จ

ครับนายจ้าง ; คงเป็นเวลาที่เหมาะสมนั่นแหละครับ ( ใช่ เวลาที่เหมาะสมของมัน)

ดี; อย่างนั้นเราจะอดทนรอ (ดีนะที่ นายจ้างอดทนรอ มิเช่นนั้น คงอวดอ้าง พิพากษาว่า ของตนไม่มีรูป มีแต่นาม คุณค่าก็ไม่มีใครศึกษา)

วันนี้ ยังไม่พบรูป พระเจ้า ผู้มีพระคุณต่อมวลมนุษยชาติ ทราบคุณค่า(เริ่มศึกษาได้) รอเวลาที่เหมาะสม(ขันติธรรม) กล้ว กตัญญู ไปพลางๆก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วยเนรคุณ หลงฝึกจิต ให้สั่งจริตเนรคุณ ปลอดภัยกว่า กุศลกว่า ทำได้ทันที

ไม่ใด้เปนอะไร อะไรทั้งนั้น ไปไหนมา สามวาสองสอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท