กรณีศึกษา.....กิจกรรมบำบัดผู้ป่วยวิตกกังวล


         ในวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกกับการเรียนการสอนในวิชา กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต 1 ที่มีกรณีศึกษาจริงของอาจารย์ป๊อปมาร่วมในการเรียนการสอนในครั้งนี้ด้วย โดยอาจารย์ป๊อปได้ออกแบบสื่อทางกิจกรรมบำบัดพร้อมสาธิตเป็นครูให้พวกเราได้เรียนรู้และศึกษา

         โดยอาจารย์ป๊อปได้ให้พวกเราใช้เวลา 10 นาที ในการสัมภาษณ์กรณีศึกษาให้ได้ข้อมูลซึ่งนำมาสู่กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดต่อไป

          จากการสัมภาษณ์กรณีศึกษาและข้อมูลจากอาจารย์ป๊อปนั้นได้ข้อมูลโดยคราวๆ คือ ชายไทย อายุ 38 ปี เป็นโรควิตกกังวลจากเรื่องความรัก เคยรับการบำบัดทางกิจกรรมบำบัด และ ทานยาจากจิตแพทย์ มีความรู้สึกกังวล สับสน เบื่องาน เครียด หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานลดลง กิจกรรมยามว่าง  เล่นอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือธรรมะ ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง 

         ในการทำกิจกรรมบำบัดในครั้งนี้อาจารย์ป๊อปได้ใช้ Model of Human Occupation (MoHO) เป็น กรอบอ้างอิงในการจัดกิจกรรมการรักษา

กิจกรรมบำบัด สื่อแรก คือ ให้เขียนความต้องการการพัฒนาตนเองในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเน้นในเรื่องของ Personal causation (การรู้เหตุแห่งบุคคล) รู้ถึงความต้องการของตนเองที่อยากพัฒนา และจากนั้นอาจารย์ป๊อปให้เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย มีกิจกรรม 3 อย่างให้เลือกคือ ปั้นดินน้ำมัน ตัดปะและระบายสี โดยกรณีศึกษาเลือกการปั้นดินน้ำมัน ซึ่งโจทย์การปั้นคือ ปั้นให้เป็นงาน ปั้นความสุขที่มีต่อครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงานในปัจจุบัน ซึ่งการปั้นได้รู้ถึง  Interest (ความสนใจ) โดยกรณีศึกษาได้ปั้นสิ่งที่จะไปทำร่วมกับครอบครัว

กิจกรรมบำบัด สื่อที่2 คือ การฝึกบทบาทสมมติที่อยากรับโทรศัพท์อย่างมีความสุข จากกิจกรรมนี้เป็นการดึงนิสัย (Habits) ดึงพฤติกรรมที่กรณีศึกษาทำผ่านการกำกับ

กิจกรรมบำบัด สื่อสุดท้าย เป็นการฝึกบทบาทสมมติการพบเพื่อนใหม่ โดยออกแบบกิจกรรมจากช่วยกันคิดช่วยกันทำ เป็น ร่วมมือร่วมใจ จากกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ได้สะท้อนความรู้สึกดีๆซึ่งกันและกัน ซึ่งในการทำกิจกรรมบำบัดครั้งนี้ใช้หลักการของ CBT (Cognitive Behavior Therapy ) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของกรณีศึกษาอีกด้วย

ในการทำกิจกรรมบำบัดครั้งนี้มีกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้

  1. ประเมินกิจกรรรมการดำเนินชีวิต จากการสัมภาษณ์
  2. วางแผนการรักษา
  3. ใช้สื่อมารักษา
  4. ประเมินซ้ำ (จากประเมินความสุขก่อนและหลังการทำกิจกรรม)

        โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดทำหน้าที่ในการเป็นผู้สังเกตในขณะผู้รับบริการทำกิจกรรมและคอยกระตุ้นในการทำกิจกรรม เลือกสื่อการรักษาให้เหมาะกับผู้รับบริการ และแนะนำกิจกรรมในการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

หมายเลขบันทึก: 555865เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท