โรคตายด่วน EMS ป้องกันได้ ถ้าทำให้บ่อสะอาดปราศจากขี้เลน


ปัญหาที่เกิดการตายของกุ้งขาวแวนนาไมจำนวนมากในพื้นที่เพาะเลี้ยงจังหวัดสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทั้งรายใหญ่รายเล็กได้รับความเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ นอกจากปัญหาเรื่องโรคตายด่วนหรือ EMS (Early Mortality Syndrome)  แล้วยังมีปัญหาเรื่องคราบน้ำมันที่เกษตรกรในพื้นที่คาดการณ์กันว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัท พลังงานยักษ์ใหญ่ของประเท              ศไทยเราเอง นั่นก็คือ ปตท. ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะปล่อยให้คลางแคลงไปยาวนาน ควรจะมีนักวิชาการในพื้นที่หรือผู้เชี่ยวชาญออกมาตรวจสอบและให้ข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อที่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจะได้ทำการแก้ไขปรับตัวได้ทันการณ์ มิฉะนั่นจะสร้างปั่นป่วนเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงได้

จากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของกุ้งป่วย เปรียบเทียบกับกุ้งปกติ พบว่าสาเหตุที่ทำให้กุ้งตายด่วน เกิดเนื่องจากภาวะขาดเลือดหรือเลือดจาง (Heamocytopenia) เพราะมีพยาธิคล้ายโปรโตซัวอยู่ในกระแสเลือดกุ้ง (Hemocytic Parasitosis) เมื่อกุ้งมีปริมาณเม็ดเลือด (Hemocyte) ลดลง ทำให้กุ้งขาดออกซิเจน (Hypoxia) อวัยวะต่าง ๆ ของกุ้งจะขาดออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง (Ischemia) ทำให้ตับ ตับอ่อน กล้ามเนื้อ รังไข่ ปมประสาท ต่อมสร้างเม็ดเลือดเกิดการอักเสบและตายอย่างรุนแรง (Severe Necrosis) ส่งผลให้กุ้งแสดงอาการทางประสาทคือการว่ายวน เสียการทรงตัว แล้วตายอย่างรวดเร็ว จมลงพื้นบ่อ ตัวกุ้งเน่า เปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดง รวมถึงการลอยตายที่ผิวน้ำ อัตราการตายมากกว่า 50% ส่วนกุ้งที่ไม่ตายจะเติบโตช้ามาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มากขึ้น

 สำหรับโรคตายด่วนหรืออีเอ็มเอสนั้น  สามารถดูแลแก้ไขปัญหาได้ด้วยการทำให้สภาพบ่อและน้ำมีความสะอาดอยู่เสมอ ด้วยการขจัดสิ่งปฏิกูล ขี้กุ้ง เศษอาหารที่ตกค้าง และอินทรียวัตถุต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดน้ำเน่า น้ำเสีย อินทรียวัตถุต่างๆ เหล่านี้เมื่อบูดเน่าแตกตัวย่อยสลายก็จะเกิดก๊าซของเสียต่างๆ ออกมา ทั้ง แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ และก๊าซมีเทน จึงทำให้ก๊าซออกซิเจนที่กุ้งและสิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศน์จะต้องใช้พลอยลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย เมื่อสะสมอมเชื้อโรคมากๆ เข้าเมื่อเทียบกับจำนวนกุ้งหลายหมื่นหลายแสนตัวและเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน จึงทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดความเครียด กุ้งล่อง เกิดปัญหาทำให้เกิดการตายจำนวนมากและรวดเร็ว มีรายงานจากคุณประสิทธิ  ทรทรัพย์ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งแบบปลอดสารพิษมากกว่า 15 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ 3  ต. เขาแดง อ.กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์  77150  ได้แนะนำว่า เกษตรกรควรที่จะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องความสะอาดที่พื้นบ่อ โดยคุณประสิทธิ์  นั้นจะใช้ บาซิลลัส MT และไคลน็อพติโลไลท์ ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ในการย่อยสลายของเสียและจับก๊าซแอมโมเนียทุก 7 วันและ 15 วันโดยไม่รอให้เกิดการหมักหมมของขี้กุ้งและอาหารกุ้งที่เหลือตกค้า จนทำให้กุ้งมีสภาพน้ำที่เขียว ใส สวยสดอยู่เสมอ กุ้งของคุณประสิทธิ์จึงไม่ประสบปัญหาเรื่องโรคอีเอ็มเอสเหมือนบ่อของเพื่อนบ้าน ปัจจุบันมีผู้ที่นิยมชมชอบในวิธีการเลี้ยงของคุณประสิทธิ์ ทรทรัพย์อยู่ค่อนข้างมาก เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081-398-3128 นะครับ

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555664เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท