การเข้าสู่วัยที่ชีวิตประสบความสำเร็จ


เมื่อวานผมสอนนศ.กิจกรรมบำบัด เรื่อง "การเข้าสู่วัยที่ชีวิตประสบความสำเร็จด้วยกิจกรรมบำบัด หรือ Successful Aging & Aged with Occupational Therapy" และแนะนำให้ลองอ่านบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่กำลังมาแรงในการเพิ่มศักยภาพของทุกเพศทุกวัยให้เกิดการเข้าสู่วัยที่ชีวิตประสบความสำเร็จได้จริง ซึ่งจริงๆ เป็นนัยแห่งชีวิตให้เรามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตั้งแต่วัยทำงานจนถึง 69 ปี ถ้านับวัยสูงอายุที่ 70 ปี และจะเห็นว่า 60-69 ปี (Successful Aged) เป็นดัชนีแห่งตนเองว่า ชีวิตที่เกิดขึ้นมาในชาตินี้ประสบความสำเร็จอย่างไร หรือ มีสุขภาวะอย่างไร หรือมีความดีงามเชิงสุขภาวะทางจิตวิญญาณอย่างไร

คลิกอ่าน ที่นี่ และดูตัวอย่างคลิปกิจกรรมบำบัดสุขภาวะของดร.ป๊อป ที่นี่ 

รวมทั้งผมได้ทำวิจัยการฝึกดนตรีในผู้สูงอายุ ก็ยืนยันถึงการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมายในชีวิตและการเข้าเป็นพลเมืองดีของสังคมก็มีส่วนช่วยสร้างสุขภาวะในวัยสูงอายุได้จริง คลิกอ่าน ที่นี่ ซึ่งดาวน์โหลดผลงานทั้งชิ้นได้ฟรีครับผม

ประเด็นที่ผมลองเชิงถามว่า "นศ.กิจกรรมบำบัดทั้ง 3 กลุ่มจะออกแบบกิจกรรมอะไรให้คุณปู่ย่าตายายของน้องให้รู้สึกถึงชีวิตประสบความสำเร็จ แล้วจะออกแบบกิจกรรมอะไรให้ตนเองยามสูงอายุให้รู้สึกถึงชีวิตที่ประสบความสำเร็จ" ปรากฎว่า นศ.ทั้ง 3 กลุ่มนำเสนอกิจกรรมทั่วไป เช่น ทำอาหารแล้วนำไปทำบุญ ทานอาหารแล้วพูดคุยกัน ไปเที่ยวต่างจังหวัด และพบปะสร้างสรรค์กัน เป็นต้น

ผมจึงสะท้อนให้นศ.คิดใหม่ทำใหม่ ว่า ถ้านักกิจกรรมบำบัดจะคิดออกแบบกิจกรรมมุ่งเป้าให้รู้สึกถึงชีวิตประสบความสำเร็จ ต้องตระหนักรู้หลักการดังนี้

1.กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดที่จะใช้ออกแบบกิจกรรม เช่น กรอบอ้างอิงการฟื้นพลังชีวิต (ความหวัง ความมีพลังใจ ความเข้าใจในการเยียวยา และความพอเพียงต่อระดับความสุข) 

2. ความเข้าใจในความหมายของระดับสุดท้ายของทฤษฎีแรงจูงใจและความต้องการในหลายระดับของมาสโลว์ ซึ่งในระดับ "ตระหนักรู้แห่งตน (Self-actualization) ในขั้นสุดท้าย ... ดร.ป๊อปแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับการทบทวนและไปให้ถึงเป้าหมายแห่งตน หรือ Self-determination 2.ระดับการเข้าใจคุณค่าในการจัดการชีวิตตนเองผ่านการรับรู้ความสามารถของตนเอง หรือ Self-management/Self-efficacy/Self-value และระดับการดำเนินชีวิตด้วยความพอดี พอเพียง และพอใจ หรือ Self-efficiency เช่นเดียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง"

3. นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ขัดขวางหรือส่งเสริมความรู้สึกถึงชีวิตประสบความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยทางสุขภาพ (เช่น ความพิการจากความบกพร่องทางร่างกายและ/หรือจิตสังคมที่เรื้อรัง) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน น้องๆสามารถศึกษาจากบันทึกก่อนหน้านี้เกี่ยวข้องกับคุณยายของดร.ป๊อปที่เคยประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของโรงงานยาสูบตั้งแต่วัยไม่ถึง 30 ปี แต่ต้องนอนติดเตียงในปัจจุบันวัย 94 ปี 

หมายเลขบันทึก: 555635เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

... เกิดมาให้ .... "ชีวิต-มีคุณค่าและมีความหมาย" .... ต่อครอบครัว.....ต่อชุมขนและสังคมไทย นะคะ ....

ขอบคุณค่ะ

พี่ ดร.ป๊อบดีจังเลย บทความนี้จะลองเอาไปทำดูปีนี้ HA National forum มีเรื่องนี้ด้วยครับ..

ขอบคุณและยินดีมากครับพี่เปิ้นและน้องลูกหมูเต้นระบำ

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากพี่อ.ขจิต คุณ Wasawat คุณชยันต์ น้องอทิตยา และอ.แอน

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากน้องสริตา

รู้สึกดีคะที่ได้อ่านได้เรียนรู้ ตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้เตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆขอบคุณ อ.ป๊อปนะคะ ^^

ขอชื่นชมDr. Pop มากๆนะคะ...นักกิจกรรมบำบัด ...นอกจากจะความรู้ทางกายภาพแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจในจิตวิทยาพัฒนาการของคนแต่ละช่วงวัย...และที่สำคัญยังต้องสามารถออกแบบกิจกรรมให้คนแต่ละวัย ได้ทำเพื่อเพิ่มความสุขให้กับชีวิตอีกนะคะ

ขอบคุณมากครับพี่ดร.พจนา ชื่นชมพี่เหมือนกันครับผม

ขอบคุณมากๆค่ะอ.ป๊อป หนูอ่านแล้วรู้สึกมีกำลังใจ มีความหวังอีกครั้งค่ะ หากเราล้มมาแล้วครั้งหนึ่ง นั่นให้ถือว่าเป็นบทเรียน ฉะนั้นในครั้งต่อไปเราควรที่จะมีเป้าหมายและวางแผนในการดำเนินชีวิตให้ดีๆ เพื่อที่จะสามารถประสบความสำเร็จให้ได้

ชอบเรื่องการฟื้นพลังชีวิตมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ป๊อปมากๆนะคะ ที่สรุปบทเรียนที่ได้เรียนมาให้อ่านอีกครั้ง

ดิฉันคิดว่าจะนำหลักการที่อาจารย์ป๊อปได้สรุปมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต ทั้งกรอบอ้างอิงการฟื้นพลังชีวิต ที่กล่าวถึงความหวัง พลังใจ การเข้าใจในการเยียวยา ความพอเพียงต่อระดับความสุข ความต้องการสูงสุดในทฤษฎีของmaslow ที่ประกอบด้วย3ระดับ 1.การทบทวนเป้าหมายในชีวิต 2.คุณค่าในตนเอง 3.การดำเนินชีวิตด้วยความพอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท