การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนไม่น่ากลัวอย่างที่คิด


ผู้ป่วยจิตเวช เมื่อกล่าวถึงบุคคลเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกว่าผู้ป่วยจิตเวชนี้เป็นบุคคลที่น่ากลัว ไม่อยากเข้าใกล้ เป็นบุคคลที่พูดที่ไม่รู้เรื่อง บนคนเดียว หรืออาละวาด ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น ทุกคนที่ได้พบเห็นบุคคลเหล่านี้ก็จะตีตราว่ากล่าวไปต่างนานา ว่าคนบ้า หรือผีบ้าเป็นต้น จึงทำผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน(ที่อยู่ที่บ้าน)ไม่ออกสู่สังคม เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หรือทำร้ายตนเองทำร้ายผู้อื่น แต่ถ้าจะช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเหล่านี้ก็จะนึกถึงแต่หมอเป็นคนแรกที่จะช่วยเหลือ ไม่ได้นึกถึงว่าตนเองจะช่วยเหลือได้ จึงทำให้เกิดการปล่อยปะละเลยและคิดว่าไม่ใช้น่าที่ของตน  จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาของสังคม ที่เห็นผู้ป่วยเอะอะอาละวาท เก็บตัว ทำลายข้าวของ ทำร้ายครอบครัว ทำร้ายผู้อื่น ดังนั้น การที่จะช่วยกันดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้อยู่กับครอบครัว ชุมชนได้นั้น จะต้องได้ความร่วมมือจากชุมชน อย่าคิดว่านี้เป็นเรื่องของหมอ ไม่ใช้เรื่องของชุมชน เพราะผู้ป่วยจิตเวชเมื่อรักษาหายอาการดีขึ้นแล้วจาก โรงพยาบาลจิตเวช เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ครอบครัวคนในชุมชนต้องช่วยเหลือในเรื่องการดูแล ในเรื่องของการรับประทานยา ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เข้าใจผู้ป่วยจิตเวชและเรื่องโรคจิตเวช ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยจิตเวช กับมามีอาการกำเริบบ่อยๆ และถูกส่งกลับไปหาหมออีก ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชให้กลับมาเหมือนคนปกติที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชุมชนสังคม เหมือกับชุมชนตำบลอุดมทรัพย์  อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา ที่มีพระสงฆ์ได้ทำเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ได้ตั้งชมรม ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ชื่อว่าชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ จนทำให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ในชุมชนได้ ทำให้คนในชุมชนเข้าใจผู้ป่วยจิตเวชและญาติ ไม่มีการรังเกียจตีตราว่าเป็นผีบ้า แลให้โอกาส คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วยจิตเวช  โดยการนำรูปแบบการรักษาดูแลส่งเสริมป้องกันฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชของโรงพยาบาลมาปรับประยุกต์ใช้ในชุมชน ด้วยการรักษา คือหมอเป็นคนจ่ายยาให้ผู้ป่วยจิตเวช ญาติคนในชุมชนติดตามการรับประทานยา  ส่งเสริมให้คนในชุมชนเข้าใจผู้ป่วยจิตเวชโดยการจัดกิจกรรม ธรรมสัญจรสุขภาพจิต (พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา) กิจกรรมฟื้นฟูกลองยาว เป็นต้น  ป้องกันคือติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช เหมือกับคำพูดที่ว่า  หมอไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชได้อะไร  แล้วชุมชนได้อะไรจากการที่หมอมาเยี่ยมบ้าน แต่ถ้าหมอและชุมชนลงไปเยี่ยมบ้านพร้อมกันแล้วมาสรุปปัญหาเคสร่วมกันกับชุมชน แล้วเกิดคำถามว่าชุมชนได้อะไรจากหมอที่ลงมาเยี่ยมบ้าน นี้คือสิ่งที่ต่างกันจากที่หมอลงมาเยี่ยมแบบไม่มีชุมชน ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช ถามว่าผู้ป่วยจิตเวช ตาก็ดี หูก็ดี แขนก็ดี ขาก็ดี ร่างกายครอบอาการ 32 แต่ตามว่าผู้ป่วยจิตเวชนี้เป็นผู้พิการตรงใหนหรือเป็นผู้ป่วยจิตเวชตรงใหน หมอตอบว่าผู้ป่วยจิตเวชนี้พิการตรงสารในเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ แต่ชุมชนไม่เข้าใจว่าหลั่งผิดปกติอย่างไร คือ ผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่ผู้ป่วยจิตเวชไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จึงทำให้มีความคิดความเห็นต่างจากคนปกติ ดังนั้นจึงต้องได้รับการรักษา และฟื้นฟู้ควบคู่กันไป เพราะเรื่องของผู้ป่วยจิตเวชนั้นที่ต้องได้รับการฟื้นฟู้ในเรื่องการดูแลตนเอง คือ การอาบน้ำ ล้างหน้า แปลงฟัน ซักผ้า เป็นต้น 2 เรื่องการอยู่ร่วมครอบครัว คือการกวาดบ้านถูบ้าน หุงข้าว การให้เกียรติกับคนในครอบครัว เป็นต้น  3 เรื่องการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม คือ การรู้จักมารยาททางสังคม การเข้าหาสังคม การอยู่ร่วมกับสังคม เป็นต้น 4 เรื่องอาชีพ คือ การฝึกทักษะอาชีพที่ให้เข้ากับบริบทของผู้ป่วยจิตเวชเป็นต้น เช่น ผู้ป่วยจิตเวชมีอาชีพทำนา ก็ต้องฝึกวิธีการทำนาให้ผู้ป่วยจิตเวช ไม่ใช่ฝึกการพับถุงกระดาษพรมเช็ดเท้า เพราะถ้าผู้ป่วยกับมาอยู่บ้านไม่รู้จักไปพับถุงกระดาษ พรมเช็ดเท้าให้ไคร เป็นต้น นี้คือรูปแบบของชุมชนตำบลอุดมทรัพย์ ที่มีพระสงฆ์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้อยู่ที่บ้านได้นานที่สุด  

เพราะท่านใช้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชแบบชุมชนบำบัดโดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และใช้ภูมิปัญญาประเพณีวัฒนธรรมในการดูแลรักษาส่งเสริมฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนดังนี้

 

เยี่ยมผู้ป่วยจิตเวช ที่ได้รับการฟื้นฟูแล้วสามารถ ค้าขายได้ 

ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการฟื้นฟูแล้วสามารถไปทำนาได้เหมือนคนปกติ

 

ธรรมสัญจรสุขภาพจิต (พิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา) ซึ่งพระสงฆ์ในตำบลอุดมทรัพย์จะไปทำพิธีนี้ในทุกหมู่บ้านในเขตตำบลอุดมทรัพย์ 17 หมู่บ้าน ในการไปทำความเข้าใจเรื่องจิตเวชหรือผู้ป่วยจิตเวชเพื่อให้ชุมชนยอมรับเข้าใจ

กลองยามผู้ป่วยจิตเวช ที่คนในชุมชนยอมรับและให้โอกาสไปแสดงในงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแห่พระพุทธรูป แห่งานเทศน์มหาชาติ แห่พัดยศพระครู เจ้าอาสา แห่งานแต่งงาน เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 555243เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2013 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับผู้ป่วยจิตเวชมากค่ะ....ทำให้เขาได้กลับไปใช้ชีวิตจริงในชุมชน..ผู้ป่วยยังต้องการโอกาสและการยอมรับจากคนในสังคมค่ะ..^^ ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท