"หลักการเสพสื่อยุคใหม่"


โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แตกต่างจากแต่ก่อนมาก สัญลักษณ์ในปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่รอบตัวเรา กล่าวคือ สื่อต่างๆ (Social media) ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะชาวเมือง

กลุ่มบุคคลที่ถูกกระตุ้นด้านสื่อมากที่สุดคือ เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่เพิ่งเกิดมาแล้วตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่และตอบสนองได้ฉับพลัน ทำให้พวกเขาสื่อ "จิตกรรมและพฤติกรรม" ของตนเองออกมาอย่างแปลกใหม่

ส่วนกลุ่มทำงานในเมือง ย่อมเป็นโอกาสที่จะได้แชร์ความคิด ความรู้สึกแบ่งปันกันได้อย่างเสรีและดูเหมือนจะตื่นตัวกับสื่อสารแบบใหม่ด้วย 

ส่วนกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงสื่อคือ กลุ่มผู้คนชนบท ซึ่งการสื่อสารยังไม่ครอบคลุม จึงเสพจากสื่อทีวีหรือหนังสือพิมพ์ ใขณะเดียวกันสื่อที่แพร่หลายคือ มือถือชนิดต่างๆ

ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะมีผลกระทบกับผู้คนทั้งยุคใหม่และยุคเก่าอย่างไร สังคมโลกมีกระแสต่างๆ ที่กระตุ้นให้ผู้คนตื่นตูมไปกับข่าวกับสื่อยุคใหม่ เช่น ระบบสี่จี ทีวีดิจิตัล ยูทุบ อินเตอร์เน็ต มือถือฯ ระบบสื่อเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการเป็นอยู่ เรียนรู้ กระตุ้น สร้างความคิดและสร้างมายาคติต่อผู้เสพตามมา แน่นอน ผู้บริโภครุ่นใหม่หรือผู้หลงใหลการใช้สื่อจนติด (เสพติด) ย่อมถูกแรงโน้มน้าวเหล่านี้ ไปติดกับดักได้

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันตัว มิให้เสพติดหรือเป็นพิษต่อตนเอง จึงขอเสนอหลักในการป้องกันมิให้เราถูกล้างสมองดังนี้

          ๑) ยึดจุดยืนให้ตื่นตัวไว้เสมอ 

          ๒) ให้วิเคราะห์ แยกแยะ วิจารณ์สื่อที่เสพอย่างละเอียด ข้อดี ข้อเสีย

          ๓) อย่าด่วนรับข่าวหรืออย่ารีบปฏิเสธ (อ่านข้อสอง)

          ๔) รู้จักคัดสรรเลือกบริโภคสื่อให้เป็น

          ๕) อย่าเสพสื่อด้านใด ด้านหนึ่งนานๆแบบด้านเดียว

          ๖) ตั้งข้อกังขา สงสัยไว้ก่อนเสมอเมื่อเสพ

          ๗) ถามตัวเองว่า เราได้อะไรจากสื่อนี้ (รายงานหรือบันเทิง ตามกระแสสังคม)

          ๘) มีผลกระทบอย่างไรกับผู้คน วัฒนธรรม เช่น ข่าว รูป โฆษณา หนัง ละครฯ

          ๙) มีหลักจริยธรรมเป็นเครื่องประเมิณไว้บ้าง จะได้ไม่หลักลอย (คิด)

          ๑๐) ทั้งหมดคือ เสรีภาพ (ของเราเอง) ที่อยู่ในกรอบสังคมพร้อมความรับผิดชอบ

----------<>------------

คำสำคัญ (Tags): #หลักการ#เสพ#สื่อ
หมายเลขบันทึก: 554963เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท