ประสบการณ์ครั้งแรกกับเรียนเก่งเรื่องกล้วยๆ ธัญญา ผลอนันต์(แปล)


เปิดสมองสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

     ประสบการณ์ครั้งแรกที่ชอบอ่านหนังสือเกิดจากเล่มไหนจำไม่ได้ แต่ความทรงจำที่แน่นที่สุดทุกครั้งที่มองย้อนกลับไปตอนเด็กคือชั้นหวาย(ชั้นหนังสือที่ทำจากหวาย ที่บ้านจะเรียกชั้นหวาย ไม่ได้เรียกชั้นหนังสือ) จำได้ว่ามีนิทานเรื่องอึ่งอ่างกับแม่วัว แล้วที่หลังบ้านมีอึงอ่างแยะทำให้ ด้วยเหตุนี้คงจะทำให้ความทรงจำเกี่ยวกับนิทานเรื่องนี้ประทับได้แนบแน่นกว่าเรื่องอื่นก็เป็นได้  แต่ประสบการณ์ครั้งแรกที่ทำให้ชอบทำMind mapping เกิดจากหนังสือเล่มนี้          

     ขอเข้าโหมดเป็นเด็ก(โดยใช้สรรนาม "หนู") หนังสือเล่มนี้เข้ามาในชีวิตหนูตอนปี ๒๕๔๔ ดูจากสภาพปกที่สเกนมาให้ดูก็น่าจะมองเห็นความเก่าแก่ได้ ตอนนั้นอยู่ประมาณม.๒ ไปเรียนพิเศษแล้วก็อยู่บ้านป้าที่เพชรบรูณ์ ทุกอาทิตย์จะต้องพาร้านหนังสือหนูก็ได้เห็นเล่มนี้สะดุดตาสะดุดใจ หนูเริ่มต้นศึกษาMind mapping จริงจังตั้งแต่ตอนนั้น แต่ก็ไม่มีใครเข้าใจ คุณครูที่โรงเรียน ผู้ปกครองที่บ้าน หนูก็ได้แต่แอบเขียนไว้เป็นของส่วนตัว การฝึกจึงไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไร พอมาอยู่มัธยมปลายมีคุณครูหลายคนเข้าใจ แล้วก็สั่งให้เขียนงานที่เป็นMind mapping ตอนนั้นได้ถึงเป็นการเริ่มต้นจริงจัง ส่วนใหญ่จะเขียนในวิชาวิทยาศาสตร์และแนะแนว หนูจะหางานเก่าๆ มาให้ดูก็ไม่มีเพราะเก็บไว้ที่โรงเก็บของหมดแล้วอยู่ไกลบ้านมาก มีผลงานตอนมหาลัยบางส่วนที่ประทับใจและพูดได้เต็มปากว่าหนังสือเล่มนี้เปลี่ยนชีวิตในการจัดการข้อมูลขนาดไหน

           ตอนปีสี่ได้รับคำสั่งให้สรุปย่อ RSA Animate - Changing Education Paradigms (วีดีโอข้างล่าง) ในรูปแบบของตนเอง ตอนนั้นไม่ลังเลเลยที่จะเลือกทำออกมาในรูปแบบ Mind map

ข้อมูลเพิ่มเติมhttp://www.thersa.org/events/rsaanimate/animate/rsa-animate-changing-paradigms

          

        หลังจากฟังแล้วก็สรุปย่อออกมาเป็นแบบละเอียดสุดๆ ก่อนหนึ่งครั้ง เพื่อให้เห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด (คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

 

     หลังจากนั้นก็เขียนใหม่ในเวอร์ชั่นที่ปรับใช้กับชีวิตตนเองแล้ว

     สิ่งที่หนังสือเล่มนี้บอกไว้ถึงการเรียนรู้ไว้ว่า

  1. ปรับทัศนคติ ให้การเรียนรู้คือการศึกษาจากตัวเราออกไปข้างนอก
  2. เรียนรู้วิธีการเรียนแบบไม่หนักสมอง ใช้Mind map ในการจดบันทึกและวิเคราะห์
  3. ศึกษาเทคนิคการจำแบบต่างๆ แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์
  4. ทบทวนสี่ระยะ สิบนาที, หนึ่งชั่วโมง, หนึ่งสัปดาห์ และหนึ่งเดือน

    ............................................................................................................................

        ถ้าหากไม่มีหนังสือเล่มนี้แล้ว ดิฉันในวันนี้คงไม่ได้พบเจอspeed reading และไม่เข้าใจการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแน่ ทุกวันนี้ยังคงเขียนMind map อยู่ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในเวลาหรือการเรียนนอกเวลา วันหลังจะมาเล่าเรื่องถึงหนังสือเล่มอื่นที่ได้อ่านเพราะอ่านหนังสือเล่มนี้ :)

หมายเลขบันทึก: 554899เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมค่ะ เขียนมาอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท