สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล


เป็นองค์กรจัดการและประสานความร่วมมือสหสาขา (Multi-Disciplinary Collaboration)

สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน  มหาวิทยาลัยมหิดล

        ผมเตรียมไปเยี่ยมชื่นชมสถาบันเก่าแก่และมีชื่อเสียงในระดับภูมิภาคแห่งนี้     เมื่อไรก็ตามผมไปเยี่ยมสถาบันที่มีพัฒนาการมายาวนาน    ผมจะตั้งใจทำความเข้าใจว่าสถาบันฯ อยู่ในสภาพวิ่งนำการเปลี่ยนแปลง หรืออยู่ในสภาพวิ่งตามไม่ทัน     หรืออยู่ในสภาพพกลางๆ ระหว่างสองขั้วนั้น     และทำอย่างไรเราจึงจะอยู่ในสภาพวิ่งนำ     อย่างน้อยก็นำอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือในภูมิภาค
        และเนื่องจากสถาบันนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยที่เน้นด้านสาธารณสุขเป็นพิเศษ     ผมจะมีคำถามด้านความร่วมมือ สร้างการสนธิพลัง (synergy) กับหน่วยงานอื่น ทั้งในมหาวิทยาลัยมหิดล    และนอกมหาวิทยาลัย

พัฒนาการและการก่อตั้ง
 สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน แต่เดิมคือ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน ซึ่งก่อตั้งและเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2525 เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธาณสุขมูลฐานแห่งอาเซียน โดยความร่วมมือกันของมหาวิทยาลัยมหิดล กับกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการก่อตั้งโดยองค์การ JICA ประเทศญี่ปุ่น เป็นเครือข่ายร่วมดำเนินการกับศูนย์ฝึกอบรมระดับภาคอีก 4 แห่ง ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข คือ ภาคเหนือที่จังหวัดนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น ภาคกลางและภาคตะวันตก ที่จังหวัดชลบุรี และภาคใต้  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 
ภารกิจที่สำคัญในระยะดำเนินโครงการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธาณสุขมูลฐานแห่งอาเซียน คือการร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายดำเนินงานพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะชุมชนในชนบทโดยกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน    ผสมผสานการดำเนินงานของกระทรวงพัฒนาสังคมหลายกระทรวง ทบวง กรม และเชื่อมโยงการปฏิบัติของชุมชนกับภาครัฐโดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศ
ต่อมาในปี 2529 ได้เริ่มดำเนินการหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขาการบริหารงานพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานเป็นหลักสูตรแรกของโลก ซึ่งมีบทบาทต่อการถ่ายทอดประสบการณ์การพัฒนาโดยกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วทั่วโลก และปี  2531 ก็ได้ยกฐานะเป็น สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน ดำเนินงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยจะครบรอบ 25 ปีในปี  2551
ส่วนศูนย์ฝึกอบรมระดับภาค 4 แห่ง ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนั้น ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นเครือข่ายหน่วยงานในนามของ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
 
จุดแข็ง ภารกิจ และการดำเนินงานที่สำคัญในปัจจุบัน
 ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของประชาชน  กลุ่มปัจเจก  ประชาสังคม ชุมชน  และองค์กรชุมชน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยเฉพาะความจำเป็นทางสุขภาพของคนส่วนใหญ่  เช่น  เอดส์  อนามัยแม่  เด็ก และครอบครัว สุขภาพแบบองค์รวมและสุขภาวะทางจิตใจ สุขภาพตามกลุ่มประชากรและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ สังคมและสิ่งแวดล้อมทาง       สุขภาพของท้องถิ่น ซึ่งหลายด้าน จัดว่าเป็นแหล่งความเชี่ยวชาญพิเศษ  โดยดำเนินการต่างๆ คือ
1. เป็นองค์กรจัดการและประสานความร่วมมือสหสาขา (Multi-Disciplinary Collaboration)
2. การวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะแบบ PAR/CO-PAR/Grounded Research/CBD Research
3. การอบรม ประชุมสัมมนา รวมทั้งจัดการศึกษาดูงาน ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ
4. การจัดการศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติด้านการสุขภาพและการสาธารณสุขมูลฐาน
5. การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยเฉพาะ ASEAN และกลุ่มประเทศ CLMVT (Cambodia  / Laos / Mynmar / Vietnam / Thai)
6. การพัฒนาความรู้  นวัตกรรม  และการจัดการความรู้ ผสมผสานทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการจัดการชุมชน
7. กิจกรรมและการดำเนินงานบางส่วนในปัจจุบัน


• ยุทธศาสตร์การวิจัยบูรณาการและเชื่อมโยงกับสภาวการณ์ของสังคม  กว่า 10  โครงการ/ปี  เช่น
(1) การวิจัยทางด้านต่างๆ เพื่อดำเนินงานเอดส์ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
(2) เครือข่ายการวิจัยฯ  17  ชุมชนเทศบาล ใน  8 จังหวัด  ลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง  เป็นการระดมเครือข่ายการวิจัยสหสาขาเพื่อสร้างศักยภาพกลุ่มประชาคมวิจัยของประชาชนในท้องถิ่น
ในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันแบบจิตอาสาของเทศบาลกับชุมชน ทีมวิจัยสหสาขาประกอบด้วย นักวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ศิริราช  คณะเทคนิคการแพทย์ สถาบัน      แห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน 
(3) เครือข่ายการวิจัยสร้างสุขภาพชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน-แม่กลอง  ตำบลคลองใหม่  อ.สามพราน  จ. นครปฐม  ทีมวิจัยสหสาขาประกอบด้วย  นักวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ศิริราช  คณะเทคนิคการแพทย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  และสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
(4) เครือข่ายการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่การปรับแนวคิดร่วมชีวิตสังคมผู้สูงวัย โคยเครือข่ายนักวิจัย MERIT (Mahidol Elderly Research Institute Taskforce) เป็นการระดมเครือข่ายการวิจัยสหสาขา 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ     ครอบครัวสถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท คณะเทคนิคการแพทย์ และสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
(5) การวิเคราะห์ความจำเป็นเพื่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค  ร่วมกับกรมอนามัย

• การพัฒนาองค์กรต้นแบบและการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการทำงานพัฒนาสุขภาพ
(1) กระบวนการแผนแม่บทเพื่อพัฒนาสถาบันสู่การเป็นองค์กรจัดการความรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ร่วมกับเครือข่ายฯสถาบันสาธารณสุขสร้างเสริมสุขภาพ (สอส)
(2) แผนงานส่งเสริมเครือข่ายครอบครัวสถาบันสร้างสุขภาพ
(3) พัฒนาเครื่องมือและวิธีวิทยาที่ไม่เน้นกลวิธีแบบ Clinical-Based และ Hospital-Based และแต่เน้นส่งเสริมการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมแบบ Area-Based Function Participation / Community-Based Development  Approach และ Participatory Management เช่น การวิจัยแบบ PAR/ CO-PAR / การวางแผนและบริหาร โดย PHC MAP / Early Warning 

การสร้างทีมความเชี่ยวชาญและพัฒนาเครือข่ายนานาชาติ
(1) ศูนย์ประสานงานด้านเอดส์นานาชาติระดับภูมิภาค (HIV / AIDS Regional Co-ordination Center) 
(2) ศูนย์ประสานความร่วมมือการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานขององค์การอนามัยโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO/SEARO Collaborating Center for PHC Development) 
(3) การพัฒนาความร่วมมือแบบข้ามสาขา เช่นกับสมาคมนักวิชาการสังคมศาสตร์แห่งเอเชีย แปซิฟิก  APSA  : Asia-Pacific Social Science Association  
การบริการทางวิชาการ  อบรม ประชุมสัมมนา ในประเทศและนานาชาติ  ปีละกว่า  30 โครงการ
การจัดการศึกษาปริญญาโทนานาชาติ  รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก การผลิตสื่อ หนังสือ คู่มือ และองค์ความรู้  เพื่อส่งเสริมการขยายผลการวิจัยสู่สาธารณะความสำเร็จและความภูมิใจ
• เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งทำให้ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพเพื่อปวงชนเป็นอย่างมาก
• เป็นองค์กรต้นแบบในการเป็นหน่วยจัดการความรู้เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การพัฒนาของประเทศโดยกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐานให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วทั่วโลก รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลวิธีการพัฒนากับนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการพึ่งตนเองของประชาชน
• พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการสาธารณสุขมูลฐานและการร่วมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนทุกระดับอย่างกว้างขวาง ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศกว่า 25 องค์กร ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกันในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมามากกว่า  200 โครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของประชาชน   กลุ่มปัจเจก  ชุมชน  และองค์กรชุมชน  เพื่อการสร้างสุขภาพและการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
• องค์การสหประชาชาติ จัดให้เป็นองค์กรความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Center of Excellence in Human Resources Development)
• องค์การอนามัยโลก ประกาศเกียรติคุณ เป็นตัวแทนของประเทศไทยที่บรรลุผลสำเร็จ      ในการพัฒนาโดยกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน เนื่องในวาระ 50 ปี ขององค์การอนามัยโลก
• องค์การ JICA ประเทศญี่ปุ่น เลือกสรรให้เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์กรแรกและองค์กรเดียวขององค์กรจากทั่วโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ JICA ทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรอบ  20 ปีที่ผ่านมา
• ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบัน และเครือข่ายของผู้ผ่านการอบรมประชุมสัมมนา จากสถาบัน มีบทบาทในการเป็นผู้นำการพัฒนาทุกระดับ ทั้งผู้นำระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับสูง ผู้นำหน่วยงานและผู้นำในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนานาชาติ สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างคนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงและนำการพัฒนาให้กับสังคม

ปัจจัยและองค์ประกอบทางศักยภาพภายใต้ความสำเร็จ
• การสร้างสรรค์และวางแผนตามศักยภาพของบุคลากรทุกกลุ่ม ทั้งแผนยุทธศาสตร์รวมและข้อตกลงรายบุคคล ไม่จำกัดตายตัวอยู่กับตำแหน่งและงานประจำ 
• การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาเชิงคุณภาพทั้งองค์กร เช่นการใช้กระบวนการ BSC : Balance Score Card  การจัดเวทีทบทวน เรียนรู้ และวิจัยเชิงปฏิบัติการในงานประจำโดยมีเครื่องมือต่างๆสนับสนุน เช่น ผลการประเมินตนเอง (SAR)
• ทรัพยากรทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานทั้งในประเทศและนานาชาติ
• การสนับสนุนของมหาวิทยาลัย พันธมิตร ความเป็นเพื่อน และเครือข่ายความร่วมมือ      ต่างๆ  ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
• เครือข่ายศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรความร่วมมือ และเครือข่ายในและต่างประเทศ

        ผมมองว่าเรื่องวิชาการด้านสาธารณสุขมันมีการเปลี่ยนแปลงมากและรุนแรงในระดับกระบวนทัศน์     เราคงต้องตรวจสอบให้ดีว่าเรากำลังอยู่ในกระบวนทัศน์ไหน     ทำอย่างไรเราจึงจะเป็นผู้นำกระบวนทัศน์ได้    

วิจารณ์ พานิช
๒๔ ตค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 55445เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

@ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) @ 

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2552

โดย สนั่น ไชยเสน สำนักงานสนับสนุนการวิจัย สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในนามชาวสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ต้องกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ที่กรุณาสะท้อน (Reflection) สถาบันฯ ได้อย่างรอบด้านและให้ข้อคิด (สติปัญญา) ว่า สถาบันอาเซียน จะสามารถดำเนินภารกิจเป็นผู้นำกระบวนการได้ ถ้ามีปัจจัยและองค์ประกอบทางศักยภาพภายใน ดังต่อไปนี้ คือ

• สร้างสรรค์และวางแผนตามศักยภาพของบุคลากรทุกกลุ่ม ทั้งแผนยุทธศาสตร์รวมและข้อตกลงรายบุคคล ไม่จำกัดตายตัวอยู่กับตำแหน่งและงานประจำ

• การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาเชิงคุณภาพทั้งองค์กร เช่น การใช้กระบวนการ BSC : Balance Score Card การจัดเวทีทบทวน เรียนรู้ และวิจัยเชิงปฏิบัติการในงานประจำโดยมีเครื่องมือต่างๆ สนับสนุน เช่น ผลการประเมินตนเอง (SAR)

• ทรัพยากรทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการดำเนินงานทั้งในประเทศและนานาชาติ

• การสนับสนุนของมหาวิทยาลัย พันธมิตร ความเป็นเพื่อน และเครือข่ายความร่วมมือ ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

• เครือข่ายศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรความร่วมมือ และเครือข่ายในและต่างประเทศ

@ สิ่งต่างๆ ที่ท่านอาจารย์ สะท้อนมาทั้งหมดนั้น สถาบันฯ ได้ดำเนินการมาเกือบครบถ้วนแล้ว แต่ความสำเร็จยังมีความอ่อนแก่ หรือ สำเร็จมากสำเร็จน้อยแตกต่างกันออกไป แต่เมื่อได้รับการสะท้อนจากอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง ชาวสถาบันฯ คงต้องกลับมาทบทวนใหม่ร่วมกัน (ให้บ่อยมากขึ้น) เพื่อดำเนินการให้องค์กรเป็นผู้นำกระบวนทัศน์ด้านสุขภาพให้มากขึ้น และกิจกรรมหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การจัดเวทีจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) โดยมุ่งหวังว่า การดำเนินกิจกรรมนี้จะเป็นตัวช่วย (Catalyst) หรือ เครื่องมือ (Tools) ช่วยเสริมศักยภาพ (Potentiality) ของสถาบันฯ ให้ก้าวย่างสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organzation) ในแนวทาง (Trend) ใหม่ๆ ได้มากขึ้น ถึงแม้ว่า การจัดการความรู้ของสถาบันอาเซียน จะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ต้องอาศัยความรู้จากภายนอกทั้งจากอาจารย์หมอวิจารณ์ คณะ สถาบันอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ดำเนินการล่วงหน้าไปก่อนแล้ว และความรู้จากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์จากต่างประเทศ ก็หวังว่าสิ่งเหล่านี้ จะเสริมสร้างความพร้อมให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนผ่านตัวช่วยและเครื่องมือต่างๆ ได้ โดยสามารถตามทัน เดินพร้อมๆ กันไป หรือกลายเป็นผู้นำกระบวนทัศน์ได้ในที่สุด จึงขอนำประสบการณ์เวทีการแลกเปลี่ยนรู้มาแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายต่อ โดยหวังว่า ความรู้และประสบการณ์ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นความรู้และประสบการณ์ของนักวิชาการศึกษาคนหนึ่งที่เป็น นิสิต (ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนักการจัดการความรู้/มหาวิทยาลัย/อื่นๆ) เพื่อช่วยเพิ่มดีกรีให้องค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เข้มข้นขึ้นตามลำดับ เช่น เพิ่มการจัดการความรู้ให้สถาบันก้าวสู่การเป็นชุมชนนักปฏิบัติ โดยนำเครื่องมือมาใช้ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ตามที่อาจารย์หมอวิจารณ์ กล่าวไว้ ได้แก่ (1) การบรรลุเป้าหมายของงาน (2) การพัฒนาคน (3) การพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (4) ความเป็นองค์กรหรือชุมชนวิชาการที่บุคลากรมีความเอื้ออาทรต่อกันในการทำงาน

@ จึงดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของ การจัดการความรู้ ดังกล่าว 6 ประการ คือ

(1) กำหนดความรู้หลักที่มีความสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของสถาบันฯ

(2) แสวงหาความรู้ที่ต้องการ

(3) ปรับปรุงความรู้ให้เหมาะต่อการใช้ของตน

(4) ประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมของตนเอง

(5) นำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน และ

(6) จดบันทึกบทเรียนที่เป็นแก่นความรู้ไว้ใช้งาน พร้อมกับปรับปรุงให้เป็นชุดความรู้ของตนเองที่ลุ่มลึก เชื่อมโยง และครบถ้วน ซึ่งเหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

@ การดำเนินการนี้ จึงพยายามให้บุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการความรู้ที่สำคัญๆ ขององค์กรได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติตามที่อาจารย์หมดวิจารณ์ ขนานนามไว้ ดังนี้

(1) คุณเอื้อ (ระบบ) (Chief Knowledge Officer-CKO) เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร แสดงบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์หรือเป้าหมาย เชื่อมโยง และเสริมพลัง (Empowerment) การจัดการความรู้ขององค์กร

(2) คุณอำนวย (Knowledge Facilitator or Knowledge Activist or Knowledge Broker) เป็นผู้เสริมพลังความรู้ แสดงบทบาทหลักในการส่งเสริม-อำนวยความสะดวกให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีความรู้กับผู้ต้องการเรียนรู้และนำความรู้นั้นไปใช้

(3) คุณกิจ (Knowledge Practitioner) เป็นผู้จัดการความรู้ตัวจริง ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90 โดยร่วมกำหนดเป้าหมาย ค้นหา (Capture) ดูดซับ (Absorb) ความรู้จากภายนอกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามที่ร่วมกันกำหนดไว้ จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อได้ความรู้ใหม่ (Knowledge Assets)

(4) คุณลิขิต (Knowledge Taker) ทำหน้าที่จดบันทึกกิจกรรมจัดการความรู้ ในตลาดนัดความรู้, Workshop, มหกรรมจัดการความรู้ จัดการความรู้ของกลุ่ม หน่วยงาน องค์กร เช่น การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Storytelling) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุม แก่นความรู้ (Core Competence) โดยใช้ทักษะจับใจความบันทึกเรื่องเล่า สกัดประเด็น จัดหมวดหมู่ความรู้โดยใช้ซอฟท์แวร์ Mind Manager สำหรับ Mind Mapping ขึ้นฐานข้อมูลให้คุณกิจเข้าค้นหาได้ง่ายในอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต ติดตามการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณกิจทั้ง Face to Face (F2F) และผ่านไอที Block to Block (B2B) หรือผ่านไอทีรูปแบบอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

(5) คุณประสาน (Network Manager) ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กร ทำภารกิจจัดให้มีข้อตกลงเป้าหมายร่วม ยุทธศาสตร์ความรู้ (Knowledge Vision-KV) ของเครือข่ายว่าจะทำอะไรร่วมกัน เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร เตรียมเครือข่าย จัดหาผู้เชี่ยวชาญ จัดให้มีการติดตามประเมินผลความก้าวหน้า/การดำเนินงานของเครือข่าย จัดทำจดหมายข่าวกระตุ้นกิจกรรมของเครือข่าย เป็นเลขานุการคณะทำงานของเครือข่าย เป็นต้น

(6) คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) คือ ผู้ออกแบบและจัดการดำเนินงานระบบ IT

@ การเริ่มต้นจัดกระบวนการ การจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) จึงดำเนินการ ดังนี้ 

(1) ค้นหาทุนปัญญาขององค์กร (Intellectual Capital)

(2) วางแผนการดำเนินการเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ จากง่ายไปยาก

(3) นำทุนปัญญามาจัด ตลาดนัดความรู้ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

(4) นำทุนปัญญาในตัวคนมาสร้างคุณค่า/มูลค่าเพิ่ม

(5) พัฒนางานและเรียนรู้จากการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น กิจกรรมวงจรการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circle: QCC), กิจกรรม 5 ส., กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement) เป็นต้น

(6) เรียนรู้และแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กร เช่น จัดกิจกรรมนำความสำเร็จมาเล่า (Storytelling), เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)

(7) สร้างนวัตกรรมแนวราบ (Horizontal innovative creation) อย่างเปิดเผยและพร้อมปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เช่น นำความรู้จากการปฏิบัติเล็กๆ จำนวนมาก มาประกอบกันเข้าก่อให้เกิดคุณสมบัติพิเศษ ก่อผลที่คาดไม่ถึง เรียก Butterfly Effect เป็นคุณสมบัติของระบบ Complex Adaptive System ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้จากการเสริมพลัง (Empowerment) สร้างปณิธานร่วม (Common Purpose) ได้วัฒนธรรมการทำงานแนวราบและเปิดเผย (Corporate and transparent culture)

(8) สร้างความคึกคัก ตื่นตัว ตื่นเต้นทำให้การจัดการความรู้เป็นหัวข้อการสนทนา Talk of the town ซึ่งอาจมาจาก จัดประกวดชิงรางวัล ประกาศยกย่องการกระทำ ประกาศเป้าหมายที่มีผลประโยชน์โดยตรงต่อบุคลากร เช่น Balanced Score Card:BSC เป็นต้น

(9) ใช้ความสำเร็จเล็กๆ เป็นพลังขับเคลื่อน

(10) ดึงพลังภายนอกองค์กรมาขับเคลื่อน

(11) ดำเนินการในบางหน่วยงานเป็นกิจกรรมนำร่อง

@. สถาบันฯ พยายามดำเนินภารกิจเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) โดยการนำเครื่องมือจัดการความรู้ที่ง่ายๆ มีพลัง มาเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนในองค์กร ทำให้บุคลากรที่เข้าร่วมเวทีสะท้อนว่า เกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยจากการรวมกลุ่ม อาทิ “คนที่ถูกคอกัน” รวมตัวจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จัดเวทีทำงานพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ประชุมกลุ่ม สอส. เป็นต้นเพื่อดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์ความรู้ ที่พัฒนามาจากงานประจำและความสนใจพิเศษของแต่ละกลุ่ม ฝ่าย และสำนักงาน ตามยุทธศาสตร์การจัดการความรู้นี้ ได้เพียรค้นหาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วทั้งในและนอกองค์กร มาเสริมพลังความรู้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ชุมชนในองค์กร สมาชิกที่เด่นๆ (Domain) หรือความสนใจร่วมที่ช่วยยึดเหนี่ยวชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน และตรงกับวิสัยทัศน์ความรู้ของการจัดการความรู้ เข้าไปส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมได้ เช่น จัดให้มีการ “นัดชุมชนแนวปฏิบัติ” เพิ่มคุณค่า (Value) ให้ชุมชน มีทุนปัญญา “Intellectual Capital) โดยชวนสมาชิกชุมชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเล่าเรื่องความสำเร็จของแต่ละชุมชน ที่คิดว่ามีผลต่อวิสัยทัศน์ขององค์กร ช่วยกันสกัดความรู้จากเรื่องที่เล่า บางคั้งก็เชิญผู้มีประสบการณ์ตรง ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชน ทำการทบทวนหลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR) เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ชุมชน นำผลการประชุมมาคิดยุทธศาสตร์หนุนให้เกิด ชุมชนแนวปฏิบัติให้มากขึ้น

@ มีความคำนึงอยู่เสมอว่า การจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติขององค์กร ไม่ได้ดำเนินการจากคำสั่งของผู้บริหาร แต่เสริมพลัง (Empower) ให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด แกนนำและสมาชิกที่เข้ามาร่วมกันจัดการเพราะเห็นคุณค่าที่จะเกิดขึ้นแก่องค์กร การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง จึงทำตามปณิธานของกลุ่มสมาชิก การทำงานจึงมีความสุข สนุก และภูมิใจกับผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกในชุมชน การสื่อสารเอง ก็เรียนรู้จากเครื่องมือใหม่ๆ จากความสำเร็จของแต่ละกลุ่ม บันทึกความรู้ 

 @. การจัดการความรู้ของสถาบันฯ ส่วนหนึ่งดำเนินการตามรูปแบบพื้นฐานของ การจัดการความรู้ ของ Ellias M.Award & Hassan M.Ghzari หรือ วงจรชีวิตของแนวความคิดของการจัดการความรู้ ดังนี้

มีดังนี้

ตอนที่ 1: ขั้นพื้นฐาน  ทำงานสบายและดีกว่าเดิม เข้าใจความรู้ และวงจรการจัดการความรู้ 

ตอนที่ 2: ขั้นสร้างและค้นหา  การสร้างความรู้  การค้นหาความรู้ที่ฝังลึก ใช้กระบวนการแสวงหาความรู้รูปแบบต่างๆ

ตอนที่ 3 : ขั้นประมวลความรู้และลงมือปฏิบัติ มีการประมวลความรู้ มีการจัดระบบทดสอบและการแปรข้อมูล  มีการถ่ายทอดความรู้ในรูปของ E-Learing / World

ตอนที่ 4: ขั้นตอนการใช้เครื่องมือและช่องทางต่างๆ ในการจัดการความรู้ คือ การเรียนจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลและการค้นหาความรู้เพิ่มเติม และการใช้เครื่องมือและช่องทางต่างๆ มาจัดการความรู้ 

ตอนที่ 5 : จริยธรรม, กฎหมายและการจัดการตามประเด็น  จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ทรงคุณวุฒิทางความรู้ จริยธรรมและกฎหมายต่างๆ ตลอดถึงการหาวิธีการจัดการความรู้ตามแนวชุมชนนักปฏิบัติ  และวิธีการหรือแนวทางการจัดการความรู้ที่จำเป็นอื่นๆ เป็นต้น

 

@. การจัดเวทีเสวนาที่ผ่านมาของสถาบันอาเซียน มีดังนี้

1. การค้นหารูปแบบและกระบวนการเวทีเสวนา วันจันทร์ ที่ 25 พฤษภาคม 2552 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การนิยามความหมายของการจัดการความรู้ การกำหนดวัตถุประสงค์การจัดการความรู้ของสถาบันฯ การชี้ให้เห็นประโยชน์/คุณค่าที่จะได้รับจากการจัดให้มีการจัดการความรู้ขึ้นในองค์กร ผู้ประสานงานเชื่อมโยงประสบการณ์ และวิทยากรผู้นำการเสวนา นำเสวนาตามประเด็นการพูดคุย (เล่าเรื่อง) ต่างๆ เช่น การบริหารจัดการเกี่ยวกับนักศึกษานานาชาติ การเตรียมการทำงานในพื้นที่ (field) วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และนำความรู้จากการปฏิบัติมาสู่เวทีการเสวนา เช่น จากความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) หรือนำความรู้ความชำนาญหรือความเห็นของผู้ชำนาญ (expertise) มานำเสนอ ใช้รูปแบบและกระบวนการเสวนาต่างๆ เช่น การเล่าเรื่อง (storytelling) และเปิดเวทีเสวนาให้ผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge sharing) ได้ง่ายขึ้น สาระสำคัญของการเสวนา ที่จะเน้นในการเสวนาหรือลงลึกในเนื้อหา การหารูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กร เช่น การบริหารจัดการงานวิจัย ที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญขององค์กร ตรงประเด็น เป็นประโยชน์ ตรงกับความสนใจของบุคลากร ทำให้ชุมชนปฏิบัติการ (community of practice : CoP) มีความชัดเจน การจัดบรรยากาศการจัดการความรู้เป็นกลุ่มวิชาการ กลุ่มวิจัย จัดให้บุคลากรส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อกระจายความรู้สู่เจ้าหน้าที่ในองค์กร เช่น การใช้กระบวนการฝึกอบรม เป็นหัวข้อ (topic) เพื่อชักชวนคนที่ทำงานคล้ายกันๆ มาร่วมทำงานด้วยกัน อาทิเช่น กลุ่มทำงานเวที 12 ราศี ที่จัดเป็นเวทีของการสื่อสาร และเวทีเสวนาจัดเป็นเวทีวิชาการ เช่น กลุ่มวิจัยดำเนินการจัดการความรู้โดยการนำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกันทุกเดือน ด้านการศึกษา (academic of MPHM) ให้นักศึกษานำเสนอ (present) และชวนอภิปราย (discuss) ให้แนะนำ วิจารณ์ เช่น การนำข้อมูลการวิจัยมาเล่าสู่กันฟัง โดยให้กำหนดและดำเนินการเป็นเรื่องๆ หรือประเด็นๆ ไป นำเรื่องวิชาการมาพูดคุยกันแบบสบายๆ เช่น การนำเสนอผลการวิจัย การจัดการฝึกอบรม และการศึกษาตามความสนใจและความจำเป็นขององค์กร บางครั้งก็ให้อาจารย์นำงานที่ยังทำไม่เสร็จมานำเสนอหรือนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเชิงกระบวนการ (process) เล่าความคืบหน้าทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (formal and informal) กำหนดบุคลากรที่ทำหน้าที่ตามความจำเป็นเป็นครั้งๆ ไป

ดำเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การตีพิมพ์เอกสารในวารสารต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากรมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ โดยการเข้ารับการอบรมในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการ รุ่นที่ 3 จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระหว่างวันที่ 22 -29 ก.ค.52 และวันที่ 7 – 11 ก.ย.52 เป็นต้น ตลอดถึงการกำหนดจัดเวทีเสวนาครั้งต่อๆ ไป เช่น จัดทุกวันจันทร์ ที่ 4 ของทุกเดือน ระหว่างเวลา 12.30 -14.00 น. เป็นต้น 

2. การเสวนา การจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การถอดบทเรียนและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม” เมื่อวันจันทร์ ที่ 22 มิถุนายน 2552 เวลา 12.30 – 14.30 น. ณ ห้องประชุม 2106 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการจัดการความรู้ของสถาบันฯ ได้ดำเนินการตาม “แบบรายงานการประเมินตนเองตามระบบคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะที่ 3 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ปีงบประมาณ 2552” เพื่อรองรับการประเมินจากคณะกรรมการประเมินคุณภาพ ซึ่งการจัดการความรู้เป็นเนื้อหาขององค์ประกอบ 1.4 การจัดการความรู้ ที่ประกอบด้วยหลักการ (principles) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (results) กล่าวคือ มีแผนงาน (plan) คือ

1. การดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม (do)

2. การประเมินผลการดำเนินงานอย่งเป็นระบบ (check)

3. การนำผลการดำเนินงานมาจัดทำมาตรฐานที่ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ (act)

4. มีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement)

5. การพัฒนางานจนเกิดรูปแบบการทำงานแนวใหม่หรือนวัตถกรรม (breakthrough/innovation) ซึ่งจะก่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (best practice) จากพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนรู้เป็นขั้นตอนต่อไป

อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรี่อง “การเสริมพลังและพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพชุมชนร่วมใจรณรงค์ต้านภัยบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน : สุขศึกษาชุมชนและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง” ร่วมกับทีมวิจัย คือ นางสาวณัฐพัชร์ ทองคำ นายเริงวิชญ์ นิลโคตร นายกานต์ จันทวงษ์ นายสนั่น ไชยเสน และนายศราวุธ ปรีชาเดช ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการวิจัยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีเสวนาซึ่งเป็นประสบการณ์ตรง (direct experience) ของนักปฏิบัติ (practitioner) ซึ่งเป็นความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) มาอธิบายให้มีการเคลื่อนไหวและเป็นพลวัต ให้ผู้เข้าเสวนาเข้าใจได้ จับต้องได้ (explicit knowledge) และพร้อมที่จะปรับสภาพตนเอง (self-organize) เข้าสู่ความรู้ใหม่ที่ยกระดับขึ้น บรรยากาศการเสวนาจึงนำไปสู่การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creative thinking) การเสริมพลัง (empowerment) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการขององค์กร

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมวิจัย ทำให้ผู้เข้าเสวนาได้ความรู้ใหม่ พร้อมบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานหมุนเวียนเป็นวงจรต่อยอดจากการนำเสนอผลงาน กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจเรียกว่า “ขุมความรู้” (knowledge assets) จากกระบวนการของโครงการวิจัย ดังนี้

1) แผนงาน (plan) โครงการวิจัย “การเสริมพลังและพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพชุมชนร่วมใจรณรงค์ต้านภัยบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน : สุขศึกษาชุมชนและการเรียนรู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง” มีการประชุมปรึกษาหารือวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานระหว่างเครือข่าย คือ กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ห้องประชุม 1117 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และร่วมประชุมเตรียมทีมเพื่อดำเนินกิจกรรมระดับภาค กับผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากองค์การอนามัยโลก และตัวแทนจากพื้นที่ ณ ห้องประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข ก่อนและระหว่างการดำเนินโครงการหลายครั้ง

2) การดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นรูปธรรม (do)

   2.1 มีการปรับปรุงการเขียนคู่มือเพื่อใช้ในโครงการ โดยมีข้อมูลของเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพและเครือข่ายชุมชนเป็นตัวตั้ง เพื่อทำเป็นต้นฉบับและจัดพิมพ์สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่าย

   2.2 ประชุมพัฒนาเครื่องมือ เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมศักยภาพและถอดบทเรียนชมรมสร้างสุขภาพและเครือข่ายชุมชน

   2.3 ติดต่อประสานงานกับพื้นที่ สอบถามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมศักยภาพ

   2.4 ร่วมเวทีประชุมแกนนำ เครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และเสริมพลัง สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายพื้นที่ (empowerment monitoring) ใน 8 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครนายก จันทบุรี สงขลา สตูล และลงพื้นที่ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนและเสริมพลังสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายรายพื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมืองและอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองและอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

   2.5 เสนอความก้าวหน้าต่อแหล่งทุน ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3) มีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (check) จากการถอดบทเรียนและการจัดการความรู้อย่างมีส่วนร่วม ทำให้เห็นความก้าวหน้าในการสร้างบทเรียน เก็บข้อมูล การปรับปรุงแผนงานด้วยวิธีเชิงกระบวนการและพัฒนามิติสำคัญๆ คือ งานสุขศึกษา (ซึ่งเป็นงานของสถาบันโดยตรง) การทำสื่อมินิ media การถ่ายทอดความรู้ (learning transfer) การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ การสอนให้กลุ่มทำงาน การบูรณาการบทเรียนที่สำคัญ การเรียนรู้เทคนิค/เครื่องมือเชิงกระบวนการ

4) มีการนำผลการดำเนินงานมาจัดทำมาตรฐานที่ปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ (act)

   4.1 เห็นได้จากความเข้มแข็งผ่านการทำงานด้านบุหรี่ของชมรมสร้างสุขภาพ 4 ภาค   

   4.2 นำ input มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่น้องชาวสถาบันฯ เพื่อเชื่อมโยงในพื้นที่ต่อไป

   4.3 การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายใหญ่ คือ สร้างภาวะการปลอดบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน 4 ภาค ที่ดำเนินโครงการโดยชมรมสร้างสุขภาพ ดังนี้

        4.3.1 มิติวิจัยสร้างความรู้วิจัยชี้นำ

        4.3.2 สร้างศักยภาพให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

        4.3.3 ค้นหาวิธีคิดและความรู้ที่สร้างขึ้นเองของชุมชน

        4.3.4 การถอดบทเรียนและการประเมินผลแบบเสริมพลัง

        4.3.5 ปฏิบัติการและกิจกรรมโครงการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชน

        4.3.6 ดำเนินการวิจัยและสร้างความรู้เชิงทฤษฎี และ

  4.4 สามารถตอบโจทย์กระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ที่ใช้ระเบียบวิธี (methodology) หรือเทคนิคการทำงานเป็นกลุ่ม การถอดบทเรียน ที่ได้ key of success และ learning audio visual เป็นต้น

  4.5 มีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (continuous improvement) มีการลงพื้นที่ 3 รอบ เพื่อการประชุมทำ workshop ประชุมรายจังหวัด และประชุมแต่ละพื้นที่ ในปัจจุบันกำลังดำเนินการให้ทีมได้ซักซ้อมการทำงาน ทำให้มี change agent ในพื้นที่ เช่น เวลาพูดคุยเปิดเวทีให้ทุกคนในชุมชนคุย เสริมพลังของชุมชนมุ่งสู่การปลอดบุหรี่ ส่วนการเสริมพลังของสถาบันฯ ให้เอาประสบการณ์เดิมไปทำเรื่องบุหรี่ และในระดับภาพรวมของประเทศทำการเสริมพลังวิทยากรระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับชุมชน ให้เทคนิคการเป็นวิทยากรกระบวนการ การถอดบทเรียน การเป็นนักวิจัยชุมชน วิธีการจัดการพูดคุยเป็นกลุ่มใหญ่ และการพูดคุยเชิงลึกกับกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ 4 – 5 คน เป็นต้น และการ empowerment เป็นตัวการสำคัญที่ไปสร้างปฏิสัมพันธ์ให้แก่เครือข่ายให้เห็นโอกาส คุณค่า บทบาท เช่น การประมวลเขียนคู่มือการทำงานชุมชนจากประสบการณ์ร่วมของพื้นที่ การถอดบทเรียนเครือข่ายจะช่วยเหลือกันได้มาก อาทิ การสุขศึกษาชุมชน นักประชาสังคมบอกว่ามีนัยยะมากกว่า การสอน (teaching) การให้การศึกษา (education) การรู้จักตั้งคำถาม ใช้ networks มาช่วยทำงานแก้ไขปัญหา เห็นจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองได้ รู้วิธีการทำสื่อและการถ่ายทอด การขยายผลได้ ทำให้อยากทำงานต่อเนื่องเพราะทีมมีทักษะ จึงทำงานได้อย่างยั่งยืน และทำให้มีสปิริต (spirit) ในการทำงาน มีจิตสาธารณะ (public minded) มากขึ้น

  4.6 มีการพัฒนางานจนเกิดรูปแบบการทำงานแนวใหม่หรือนวัตถกรรม (breakthrough/innovation) ซึ่งจะก่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (best practice) จากพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนรู้ ได้วิธีการทำงานแนวใหม่ๆ เช่น ได้เครือข่ายชุมชนและการนิเทศงานชุมชน ได้พื้นที่ตัวอย่างเป็นที่ฝึกงาน/ศึกษาดูงาน/การถ่ายทอดความรู้โดยการใช้สื่อท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ และเชิงกระบวนการได้การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ปรับวิธีการทำงานให้เหมาะกับพื้นที่ วิธีการสื่อสารระหว่างบุคคล (resource person) พื้นที่เกิดการเรียนรู้แบบ all lines ได้วิธีการสรุป/การถอดบทเรียนในเวที การนำเสนอ (present) ต่อเวที ผู้ร่วมเวทีได้บทเรียนที่จะนำไปใช้ต่อได้เลย เช่น การทบทวนก่อนปฏิบัติการ (before action review: BAR) การทบทวนหลังจากปฏิบัติการ (after action review: AAR) และการระดมชุมชน เช่น การสำรวจชุมชน สามารถใช้วิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม ส่วนการถอดบทเรียนก็ใช้ตามความจำเป็น เฉพาะเรื่องที่พื้นที่แต่ละพื้นที่ทำเหมือนกับ social lab ที่บริหารจัดการเฉพาะเรื่อง เช่น การสัมภาษณ์เดี่ยวๆ การคุยเป็นกลุ่ม เป็นต้น

3. การเสวนา การจัดการความรู้ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : Routine to Research Development (R2R)สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล วันจันทร์ ที่ 27 กรกฎาคม 2552  เวลา 12.30 14.00 น.

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : Routine to Research Development (R2R)เป็นกิจกรรมการจัดการความรู้ของสถาบันฯ โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับเครือข่ายการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวคือ สำนักงานอธิการบดี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

        ผลจากการเสวนาเพื่อการจัดการความรู้ในเรื่อง การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : Routine to Research Development (R2R)ครั้งนี้ วงเสวนาได้ข้อสรุปที่จะดำเนินการต่อไป ดังนี้

          หน่วยงานที่จะดำเนินการ R2R จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีหน่วยงาน 5 หน่วยงานในองค์กร ที่ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนรู้และแสดงความประสงค์เข้าร่วมดำเนินงาน R2R คือ สำนักงานสนับสนุนการศึกษา สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุนการวิจัย สำนักงานสนับสนุนการบริการวิชาการ และสำนักงานวิทยบริการ โดยกำหนดให้มีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน จำนวน 5 เรื่อง ดังต่อไปนี้

  1. ประเด็น/หัวข้อการดำเนินงานของแต่ละสำนักงานในระยะแรก มีดังนี้คือ

       1.1       สำนักงานสนับการศึกษา ดำเนินการเรื่อง

                   (1) การสำรวจความพึงพอใจผู้ที่จบการศึกษา (นักศึกษา) หลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ สาขา การบริหารสาธารณสุขมูลฐาน

                   (2) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงินและการบริหารจัดการทางการศึกษาของหลักสูตร

        1.2 สำนักงานวิทยบริการ จัดทำคู่มือการให้บริการด้านโสต สื่อในองค์กร

        1.3 สำนักงานผู้อำนวยการ ดำเนินการเรื่อง การให้บริการด้านธุรการที่มีประสิทธิภาพ

        1.4 สำนักงานสนับสนุนการวิจัย ดำเนินการเกี่ยวกับ การให้บริการวารสารสาธารณสุขและการพัฒนา

    2. นโยบายของการดำเนินการวิจัย R2R  กำหนดให้ทุกสำนักงานดำเนินการให้มีความสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์การทำงานสถาบันฯ คือ การค้นหาและสร้างองค์ความรู้ โดยมีทีมนักวิจัย (Core team) ของสถาบันฯ ให้การช่วยเหลือในเรื่องระเบียบวิธีวิจัย/วิชาการ การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้สถาบันเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย การฝึกอบรมและการศึกษาด้านสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพชุมชน ที่ดำเนินการวิจัยฯโดย สำนักงานต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษา การฝึกอบรมและการจัดงานสัมมนาวิชาการประจำปีของสถาบันฯ

     3.  กระบวนการสนับสนุน  เพื่อเสริมพลังให้แก่ผู้ดำเนินโครงการ คือ

          3.1 ผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็น Resource person ให้คำปรึกษาทั้งแก่ทีมนักวิจัยและผู้ทำวิจัย R2R

          3.2 ทีมนักวิจัยของสถาบันฯ ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ผู้ทำวิจัย R2R มีดังนี้ คือ

               (1) ดร.บังอร  เทพเทียน  เป็นประธานที่ปรึกษา/หัวหน้าคลินิคการวิจัย ดูแลในภาพรวม

               (2) นายเริงวิชญ์  นิลโคตร   เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานสนับสนุนการบริการวิชาการ

               (3) นางสาวปราณี สุทธิสุคนธ์  เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานสนับสนุนการศึกษา

               (4) นายเกรียงศักดื ซื่อเหลื่อม  เป็นที่ปรึกษาของสำนักงานผู้อำนวยการ

               (5) นางสาวปรินดา  ตาสี  เป็นที่ปรึกษาสำนักงานวิทยบริการ

               (6) นางสาวดุษณี ดำมี  เป็นผู้ประสานงานหลักและให้ความช่วยเหลืองานนักวิจัยและงานสำนักงานต่างๆ   

     3.3 หัวหน้าสำนักงาน ให้ความช่วยเหลือในการนำงานประจำมาพัฒนา

     3.4 มีระบบการเสริมพลังสำหรับผู้ดำเนินงาน R2R ได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การให้รางวัล เป็นต้น

 4. ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการในช่วงเริ่มต้น

     4.1 ประชุมทำแผนงาน/โครงการ

     4.2 เสนอขออนุมัติโครงการจาก ผู้อำนวยการสถาบันฯ

     4.3 จัดตั้งทีมงานศึกษาค้นคว้าหาความรู้ R2R เช่น การไปร่วมประชุม ฝึกอบรม เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาให้ความช่วยเหลือและพัฒนาทีม R2R ขององค์กร เป็นต้น

     4.4 ดำเนินการวิจัย

     4.5 จัดเวทีการนำเสนอผลการดำเนินงาน  เป็นต้น

4. การเสวนา การจัดการความรู้  “การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ” สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล วันจันทร์ ที่ 17 สิงหาคม 2552  เวลา 12.30 14.00 น.

นายแพทย์จำรูญ มีขนอน ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล นำการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น “การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ” ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมพลังด้านการสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านการบริหาร (QA)            

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ที่เรียกได้ว่า มีมาตรฐานคุณภาพด้านการบริหาร บุคลากรในองค์กรสามารถร่วมทำงานกันในบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท