Lucky Man
เวียงชัย นิลดวงดี ชายเวียง นิลดวงดี

วิธีอ่านหนังสือไม่ให้ง่วง


วิธีอ่านหนังสือไม่ให้ง่วง

ใกล้สอบแล้ว สำหรับน้อง ๆ ม. 6  ม. 3  ป. 6 ที่จะสอบ O-Net และสอบเรียนต่ออื่น ๆ  กลุ้มจริงๆ  กลัวอ่านหนังสือไม่ทัน หยิบหนังสือขึ้นมาทีไรเป็นง่วงทุกที  วันนี้ขอเสนอวิธีอ่านหนังสืออย่างไรไม่ให้ง่วงนะ

วิธีอ่านหนังสือย่างไรไม่ให้ง่วง

    วิธีการหลีกเลี่ยง “มารความง่วง”

ก.   หลีกเลี่ยงสถานที่ที่จะนำเราไปสู่การหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนอ่านหนังสือหรือนั่งอ่านบนเตียงนี่แหล่ะ เป็นไปได้ให้อยู่ห่างจาก  เตียง หมอน โซฟา อะไรที่ให้ความรู้สึกนุ่มๆ เคลิ้มๆ หรือสร้างบรรยากาศถึงการหลับนอนครับ ทิ้งไปให้หมด

ข.  อ่านในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เคยเห็นในหนังมั้ยครับที่แบบปิดไฟมืดๆ แล้วเรามานั่งบนโต๊ะ เปิดไฟเหลืองๆ สลัวๆอ่านหนังสือ บางคนคงแบบอย่างนี้  จัดบรรยากาศการอ่านหนังสือให้โรแมนติกรับรองว่าเราจะได้โรแมนติกกันถึงในฝันแน่นอนครับ เพราะว่าในการอ่านตาของเราต้องการแสงสว่างที่เพียงพอครับ ถ้าอ่านในที่สลัวๆตาของเราจะต้องทำงานหนัก เมื่ออ่านได้สักพักก็จะเกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตา จนต้องหลับเพื่อพักสายตาในที่สุด ดังนั้น ถ้าอยากอ่านหนังสือได้นานๆ ต้องอ่านในที่สว่างไว้ครับ

ค.  step by step ครับ เวลาอ่านหนังสือไปทีละเรื่องอย่าข้ามเรื่องครับ สังเกตได้จากเวลาเรียนเช่นกันครับ เวลาเราขาดเรียนไปนานๆ พอเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่รู้เรื่องเราก็จะง่วงและหลับลงในที่สุด  เพราะฉะนั้น การเรียนและการอ่านเราต้องไปทีละขั้น ตามเนื้อหาของมัน จำไว้ครับ ความงงเป็นบ่อเกิดของความง่วงครับ  งงมากก็ง่วงมาก งงน้อยก็ง่วงน้อย ไม่งงเลยก็จะไม่ง่วงเลยครับ

ง.  กินแต่พอดีครับ การกินอาหารก่อนการเรียนหรืออ่านหนังสือนี่ก็เกี่ยวนะครับ เราควรกินพอดีๆ ไม่ให้อิ่มมากเกินไป ตามคำกล่าวที่ว่า “หนังท้องตึง หนังตาหย่อนครับ” ถ้าอิ่มมากๆจะทำให้เราง่วงครับ

จ.  พักผ่อนให้เพียงพอด้วยล่ะ เคยรู้สึกมั้ยครับวันไหนที่เรานอนมาเต็มที่ทั้งวันและ จะพยายามนอนอีกเท่าไหร่ก็นอนไม่หลับเพราะร่างกายเรามันพักผ่อนเต็มที่ไปแล้ว เพราะงั้นการพักผ่อนให้เต็มที่ก็เป็นวิธีป้องกันที่ดีอีกทางหนึ่งครับ

ฉ.  อย่าหักโหมให้มากเกินไปครับ ความพอดีอีกแล้วครับ การอ่านหนังสือเนี่ยเราจะต้องใช้สมองไปด้วย แน่นอนว่ายิ่งใช้มากก็จะเหนื่อยล้า เพราะฉะนั้นเราก็ควรมีช่วงเวลาพักครึ่งในการอ่านหนังสือบ้าง แล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ

 

.............................................................................................

 

 

 

การแก้ไขอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือหรือเรียน

๑.   นั่งหลังตรงครับ เมื่อไหร่ที่เริ่มงอและเริ่มคลานนั่นคืออาการของความง่วงแล้วครับ

๒.  หยุดพักสายตาจากการอ่านหนังสือสักพักครับ เงยหน้าขึ้นมามองวิวทิวทัศน์ซักหน่อยล้างหน้าล้างตากันสักนิด ออกเดินทางไปห้องน้ำสักหน่อย   “ลืมตาในน้ำ”

๓.   Short note   มันจะช่วยให้เราคิดในสิ่งที่ได้ฟังได้รับและถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ทำให้เรามีสติในการเรียนการอ่านมากยิ่งขึ้นครับ นอกจากทำให้หายง่วงแล้ว ยังเป็นการทบทวนความรู้ไปในตัวด้วยครับ

๔.  ยืดเส้นยืดสายกันดีกว่า ลองวางหนังสือและลุกขึ้นมาเต้นท่าบ้าๆบอๆหน้ากระจกสัก 1 นาทีครับเอาให้เตลิดสุดๆไปเลย หรือไม่ก็ กระโดดตบหรืออะไรก็ได้ครับ มันจะทำให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมา แล้วทำให้เราไม่ง่วง

๕. จ้างวานคนแถวนั้น ถ้าเป็นที่โรงเรียนก็เพื่อนๆ ถ้าเป็นบ้านก็พ่อแม่พี่น้อง ให้เค้าคอยดูคอยเรียกด้วย ถ้าหลับ            

๖.  นกหวีดช่วยชีวิต  อันนี้ก็ง่ายๆครับ ลุกขึ้นมาเป่านกหวีดปี๊ดดดดด....  ~ ดังๆ เอาให้สุดลมหายใจ และให้แสบแก้วหูสุดๆไปเลย ช่วยได้เหมือนกัน

๗.  ตะโกนให้กำลังใจตัวเองไปเลยครับ ประกาศให้คนทั่วบริเวณนั้นได้รับรู้ 55+ “กุเก่งว้อยยย!!” “กุไม่ง่วงหรอกเว้ยยย  ” “อีกนิดเดียวจะเสร็จแล้ววู้ยยย  ” “สู้เค้าโว้ยย  ” อะไรก็แล้วแต่   คิดๆกันเอาเอง

๘.  รับบทนางเอกเจ้าน้ำตาครับ หลังจากวิธีธรรมดามันเอาไม่อยู่ -*- ซาดิสกันขึ้นมาอีกระดับ อันนี้ผมไม่แนะนำให้ทำกันนะครับ แต่บางครั้งสถานการณ์เลวร้าย สอบพรุ่งนี้เรายังไม่ได้อ่านสักตัวเลย วิธีนี้ก็ช่วยได้ ทาถูๆตรงโหนกแก้วต้าอ่ะครับ สักพักจะเกิดอาการเศร้าซึ้ง น้ำตาพรากกันเลยทีเดียว ไม่หลับชัวครับ

๙.  แก้ง่วง 5 บาท อันนี้ต้องขอบคุณบทความในเด็กดีครับผมเคยอ่านเจอ เค้าบอกให้ไปซื้อน้ำแข็งถุงละ 5 บาทมาใส่กะละมังแล้วเอาเท้าแช่น้ำเย็นๆในนั้น ครับ ผมเองก็ยังไม่เคยลองเหมือนกันแต่เห็นเค้าว่ามาแบบนี้ใครลองแล้วว่าไงก็มาบอกกันบ้างแล้วกันครับ

ถ้าทั้งหมดนี่ช่วยไม่ได้จริงๆก็ไปนอนสะเถอะครับ ให้เต็มที่ พอมีกำลังวังชาแล้วค่อยมาลุยกันต่อ

............................................................................

หมายเลขบันทึก: 554430เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท