เด็กสามหมอก
นาย ธี เด็กสามหมอก ยอดดอยแม่ฮ่องสอน

แมงมุมนักอุตุนิยมวิทยา


แมงมุมนักอุตุนิยมวิทยา


แมงมุมนักอุตุนิยมวิทยา
เก่อปอ
"พี่มนรู้หรือเปล่า ทำไมแมงมุมมันถึงนอนตีลังกากลับหัวอย่าง

นี้"

ยิ่งยง นาคสืบวงศ์ หรือในชื่อปกาเก่อญอว่า ''พาคูญแย''

สมาชิกบ้านเมืองแพมที่เพิ่มบทบาทตัวเองมาเป็นไกด์ท้องถิ่น

หน้าใหม่ถามกับพี่มนยิ้ม ๆ รวมถึงพวกเรา นักท่องเที่ยวกลุ่ม 4

ซึ่งประกอบด้วย พี่มน พี่พรชัย พี่ป็อป สมภพ และน้องบิว . .

. หลายคนส่ายหน้าราวกับพัดลมฮาตาริ

"ที่แมงมุมมันนอนคว่ำหัวลงอย่างนี้ มันกำลังบอกพวกเราว่า

ฝนยังไม่หมดดี จะทำอะไรในไร่นาเข้าป่าเข้าสวนก็ให้ระวังฝน

ไว้ด้วย ต่อเมื่อฝนหมดแล้วจริง ๆ มันถึงจะกลับตัวหันหัวขึ้นฟ้า

เอง ขืนยังไม่หมดฝน มันหันหัวขึ้น หัวมันคงจะเปียกฝน น้ำเข้าหู

เข้าตาหมดกันพอดี . . . ชาวเมืองแพมเราก็อาศัยฟ้าดู

ฝนจากการดูแมงมุมเอานี่หละครับ" พาคูญแยอธิบายเหมือน

เล่าให้ลูกให้หลานฟัง พวกเราต่างอ้าปากหวอด้วยความทึ่ง ส่วน

ตัวสมภพเองก็ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน

"เก่อปอมีคะลออาโข่...มูโข่จูเต่อเหลอะดิลอ
เก่อปอมีคะถ่ออาโข่...ต่าโก่ถ่อตือลีออ
นอนหัวดิ่งลงพื้น...ฝนยังไม่หมด
นอนหัวโด่สู่ฟ้า...เริ่มอุ่นขึ้นแล้ว"*

"ผมชอบพาลูกเข้าป่า เขาเองก็ชอบ ยังอยู่ศูนย์เด็กเล็กอยู่เลย

แต่ถ้าเห็นผมเตรียมตัวเหมือนจะเข้าป่า เขาก็จะขอตามไปด้วย .

. . เมื่อก่อนก็เดินไปด้วยกัน เดี๋ยวนี้ก็คล่องเชียว วิ่งนำหน้า

ผมตลอด"

พาคูญแย ดวงตาเป็นประกายเมื่อพูดถึงลูก เขาเคยใช้ชีวิตเป็น

ช่างเหล็กอยู่ในเมืองกรุงหลายปี จนสุดท้ายก็พาเมียกลับมาใช้

ชีวิตที่บ้านดอยเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง เขาคงเลือกที่จะให้ลูกที่เพิ่ง

เกิดมาได้อยู่แนบเนาใกล้ชิดธรรมชาติและมีทักษะชีวิตพึ่งพาตน

เองได้ . . . อย่างน้อยที่สุดลูกของพาคูญแยก็คงดูฟ้าดูฝน

ออกเพียงเพราะมองยอดไม้ ใบหญ้า และแมงมุมลายตัวนั้น 

-สมภพ เส่หลู่ทอ-
สร้างเรื่องและสร้างภาพ
(*บทร้อยแก้วภาษาปกาเก่อญอเรียงร้อยและแปลโดย วิธี เทอดชูสกุลชัย)

***** ยังมีหลากหลายวิธีในการสังเกตของพี่น้องปว่าเก่อญอ***
---เช่น หากฝนตกแต่ว่าใส้เดือนยังไม่หล่นจากฟ้า แสดงว่าฝนยังไม่หมด
--- หากแมลงเม่ายังไม่ออก แสดงว่าฝนยังไม่ตก และหลังจากที่จะผ่านพ้นฤดูฝนหากแมลงเม่ายังไม่ขึ้นมาอีกรอบแสดงว่าฝนก็จะยังไม่สิ้นเช่นกัน

เพิ่มเติม http://www.xn--12ca9ctca6cir5b6i6c.com/web53/?name=knowledge&file=readknowledge&id=53

หมายเลขบันทึก: 554291เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2013 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2013 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นภูมิปัญญาที่น่านับถือของชาวปกากะญอนะครับ

ผมผูกพันธ์กับชาปกากะญอมาก

ได้เรียนรู้หลายอย่างเลยครับ

เป็นข้อมูลดีๆ ที่บางทีพี่น้องปวาเกอญอยุคใหม่หลายคนยังมิได้เรียนรู้
เป็นวิธีถอดบทเรียนจากธรรมชาติมาใช้ปฏิบัติในชีวิตจริง

ขอบคุณกับสิ่งดีๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท