องค์กรแห่งการเรียนรู้


ปัจจุบันองค์การหลายแห่งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับพนักงาน เช่น ผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ขึ้นในองค์การ สนับสนุนให้ผู้บริหารใส่ใจพัฒนาบุคลากรของตนโดยใส่เครื่องมือการเรียนรู้ให้กับบุคลากรมากขึ้น มุ่งหวังที่จะสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขึ้นในองค์การ (Organization Learning)

Organization LearningL (OL)เป็นกระบวนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน แนวคิด OL เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานจริง (Action Learning /AL ) ซึ่งเป็นกระบวนการของการรวมกลุ่มที่มีทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน สมาชิกในกลุ่มจะร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มต้องประชุมร่วมกันอีกครั้งเพื่อติดตามผลการนำแผนดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาจึงเป็นการเรียนรู้จากการทำจริง (Learning by Doing)

วัตถุประสงค์การนำแนวคิด AL มาใช้ในที่ทำงาน : การนำหลักการ AL มาใช้ก็ต่อเมื่อ 1. องค์กรเกิดปัญหาในการทำงาน ซึ่งประเด็นที่ยุ่งยากและมีผลกระทบต่อลูกค้าและเป้าหมาย หลักขององค์กร 2. เพื่อค้นหาคำตอบหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยพิจารณาถึงสิ่งที่จะเป็นสาเหตุ หรือต้นตอของปัญหาที่แท้จริง 3. เพื่อกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง และแนวทางใหม่ๆเพื่อใช้ค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ เพิ่มขึ้นจากเดิม กระบวนการ AL ที่มีประสิทธิภาพในองค์กร : แนวคิด AL ใช้ได้กับทุกหน่วยงานในองค์กรมี กระบวนการหลักที่สำคัญดังนี้ Promblem Analysis กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของ AL ที่เกิดขึ้นในแต่ละกลุ่ม สรรหาสมาชิก กลุ่มที่มีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะและประสบการณ์เพื่อนำไปสู่ความคิดที่แตกต่างกัน Acton Planning & Impiementation วิเคราะห์ปัญหากำหนดทิศทางและวางแผนแนวในการปฏิบัติ ร่วมกันในช่วงการประชุมกลุ่มแต่ละครั้ง รวมทั้งการนำแผนไปปฏิบัติและติดตามผลการทำงานของสมาชิกในกลุ่มว่าปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการหรือไม่ Refiection and Evaluation การนัดประชุมกับสมาชิกกลุ่มอีกครั้งเพื่อสอบถามความคืบหน้าและ บทเรียนที่ได้รับ Decisions on next steps ร่วมกันกำหนดแผนงานที่จะต้องทำในช่วงถัดไป บันทึกกระบวนการที่ เกิดขึ้นจากการประชุมแต่ละครั้ง รวมถึงข้อผิดพลาดและบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือศึกษาต่อได้ในอนาคต จะเห็นว่ากระบวนการของ AL จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร การผลักดันจากผู้บริหารของกลุ่มงานเพราะแนวคิดนี้ต้องใช้เวลาในช่วงระหว่างวันทำงานมาพูดคุยตกลงร่วมกัน ซึ่งแนวคิดของ AL ถือว่าเป็นกระบวนการที่ช่วยทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้นในองค์การ (Organization Learning) เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share)การแสดง ความคิดเห็น (Show) และการเรียนรู้ร่วมกัน (Learn) ของสมาชิกในทีม

แล้ว OL ต่างกับ LO อย่างไร ?

LO หมายถึงวัฒนธรรมที่หล่อหลอมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์การ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ( Learning System) เชื่อมโยงการเรียนรู้กับผลการปฏิบัติงาน ( Performance ) ทั้งระดับตัวบุคคล ระดับหน่วยงาน และระดับองค์การ โดยมีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มผลผลิตและการนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ และช่วยให้องค์การปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หัวใจของ LO คือการมุ่งมั่นและตกลงร่วมกันที่จะแสวงหาและให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งการฝึกอบรม (Training) เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิด LO การฝึกอบรมจึงมิใช่คำนิยามหรือหัวใจของ LO การสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารทั้งหลายต้องให้ความร่วมมือในการเป็นนักสอนงานที่ดี เป็นพี่เลี้ยงและเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานในทีมงานเกิดการเรียนรู้และต้องสร้างบรรยากาศของการไว้วางใจ การยอมรับฟังข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้างาน และยังต้องส่งเสริมให้เกิดการให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ทั้งนี้ LO จะเกิดขึ้นในองค์การได้ก็ต่อเมื่อพนักงานมีวินัยในการเรียนรู้ 5 ประการตามความคิดของ Dr. Peter Senge ได้แก่ 1. การใฝ่เรียนใฝ่รู้ (Personal Mastery) เป็นคุณลักษณะของคนที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจแสวงหา ความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา (Lifelong Learning) 2. การพัฒนากรอบแห่งภูมิปัญญา (Mental Models) รูปแบบ ความคิด ความเชื่อ มุมมอง ทัศนคติ ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ การสัมผัส การเรียนรู้ที่ถูกสั่งสมมา จนเกิดเป็นกรอบความคิดของแต่ละบุคคล 3. การแชร์วิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) ส่งเสริมให้บุคคลในองค์การมีมุมมอง ทัศนคติ เป้าหมาย และทิศทางการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นการเรียนรู้ของกลุ่มหรือทีมงานร่วมกันโดยมีความต้องการให้สมาชิกในทีมมีความคิดที่คล้ายคลึงกัน 4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) เป็นขั้นตอนการเรียนรู้ร่วมกัน มีการช่วยเหลือเพื่อ เสริมและพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในกลุ่มร่วมกัน เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยและให้ข้อมูลป้อนกลับระหว่างสมาชิกในทีม 5. การคิดอย่างเป็นระบบ Systems Thinking) เป็นขั้นตอนการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เนื่องจากสามารถ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ได้ถึงปัญหาหรือสาเหตุที่เกิดขึ้น นำไปสู่การวางแผนและแนวทางการแก้ปัญหาและสร้างทางเลือกใหม่สำหรับโอกาสใหม่ๆในอนาคตได้ เป้าหมายสูงสุดที่เป็นจุดร่วมกันของ LO และ OL ก็คือการสร้างผลงาน (Performance) ให้เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคและองค์กร

 

หมายเลขบันทึก: 554002เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..เป็นวัฒธรรมองค์กรที่ดีนะคะ... LO ... เกิดการเรียนรู้ ทั้งองค์กร นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท