โรคขาดวิตามินเอ


บันทึกการอ่าน

ครอบครัวนักอ่าน

วันที่  17ตุลาคม 2556

ครอบครัวของ เมเฟอร์ลิน อารสตี้

เรื่อง โรคขาดวิตามินเอ

                 วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน พบมากในน้ำมันตับปลา ตับ ไข่แดง เขย พืชใบเขียวเช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผลไม้สีส้มเช่น ส้ม ฟักทองซึ่งมีสาร betacarotene ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ตับเป็นแหล่งสะสมของวิตามินเอ

สาเหตุของการขาดวิตามินเอ

  • จากการขาดอาหาร โดยเฉพาะคนที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากข้าวมีวิตามินเอต่ำ
  • ขาดวิตามินเอ เนื่องจากการดูดซึม การสะสม หรือกลไกการขนส่ง เช่นโรคท้องร่วงเรื้อรัง โรตตับอ่อนอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน
  • ผู้ที่รับประทานอาหารน้อย เช่นผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่ขาดฐาตุสังกะสีโดยมากพบร่วมกับผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง

อาการของคนขาดวิตามิน เอ

ความรุนแรงของโรคขาดวิตามินเอขึ้นกับอายุ หากขาดวิตามินเอตั้งแต่อายุน้อยจะมีอาการรุนแรง

อาการทางระบบการมองเห็น

  • ตาบอดกลางคืน Night blindness เด็กจะมองไม่ชัดในที่มืด ทำให้เด็กหกล้มง่าย
  • ตาแห้ง ตาขาวจะแห้งมีรอยย่น เรียกสะเก็ดปลากระดี่ หรือ Bitot'spot การมองเห็นยังคงปกติ
  • ตาวุ้น Keratomalacia ในระยะแรกกระจกตาจะแห้ง และขุ่น ต่อมาจะเหลวเหมือนลำไย เนื่องจากโปรตีนมีการติดเชื้อได้ง่าย

ระบบสืบพันธุ์

  • มีการสร้างฮอร์ดมนเพศชายน้อยลง อัตราการผสมของไข่และเชื้อต่ำ และอัตราการเสียชีวิตในครรภ์สูง

ระบบการเจริญเติบโต

  • ในเด็กเล็กจะมีการเจริญเติบโตช้า
  • การขาดวิตามินเอทำให้การเจริญเติบโตของกระดูก กระดูดอ่อน ฟัน ช้ากว่าปกติ ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้า

ระบบภูมิคุ้มกัน

  • การขาดวิตามินเอทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่ผิวหนัง ผนังลำไส้ และผนังหลอดลม จะติดเชื้อได้ง่าย และใช้เวลานานในการหาย

ที่ผิวหนังจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นตุ่มเรียก Follicular keratosis เนื่องจากมีการสร้าง keratin ที่รากขน

ทารกและก่อนวัยเข้าเรียน

  • ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ หรือทารกที่กินนมแม่ แต่อย่านมแม่เร็วเกินไป แล้วเลี้ยงต่อด้วยนมอื่นๆ ที่ไม ่เหมาะสมกับวัย
  • เด็กที่ ไม่ได้รับอาหารตามวัยเมื่อถึงเวลาอันสมควร เช่น ให้เด็กกินแต่แป้งกวน หรือข้าวต้มใส่น้ำตาลหรือเกลือ หรือกินข้าวกับน้ำแกงจืดโดยไม่ได้กินไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง รวมทั้งไขมัน
  • เด็กที่เป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด อีสุกอีใส ท้องร่วงเรื้อรังซึ่งมีความต้องการใช้วิตามินเอ ในปริมาณสูง
  • เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหาร ประเภทโปรตีนและกำลังงานระดับ 1, 2 และ 3
  • เด็กที่ไม่ได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสม เช่น ไม่ได้รับบริการภูมิคุ้มกันโรคและไม่ได้รับการชั่ง น้ำหนักทุก 3 เดือน

เด็กวัยเรียน

  • เด็กที่ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน และกำลังงานและไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินเอ

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร

  • หญิงที่งดอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ และผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองหรือส้ม รวมทั้งไขมันระหว่างตั้งครรภ์และให้นมลูก

การวินิจฉัย

โรคนี้จะวินิจฉัยเมื่อเกิดอาการของโรคแล้วเท่านั้น สำหรับกลุ่มเสี่ยงเช่นสงสัยว่าจะขาดสารอาหาร หรือมีโรคท้องร่วงเรื้อรัง เราอาจจะเจาะเลือดตรวจหาระดับวิตามินเอ Plasma retinol ค่าปกติอยู่ระหว่าง 20-80 µg/dL ผู้ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 10-19 ถือว่ามีค่าต่ำ ส่วนผู้ที่มีค่าน้อยกว่า 10 µg/dL ถือว่าขาดวิตามินเอ

การป้องกัน

เด็กที่เกิดในประเทศที่มีความเสี่ยง ควรให้วิตามินเอ 200,000 ยูนิตทุก 3-6 เดือนจนอายุ 4 ปี อาหารที่ให้ควรจะเป็นพืชใบเขียว ผลไม้สีเหลือง

ใครควรได้รับวิตามินเอเสริม

  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กที่เป็นดรคหัดที่มาจากถิ่นที่มีการขาดวิตามินเอ
  • โรค Celiac disease
  • Crohn's disease
  • โรคตับอ่อนเรื้อรังทำให้มีอาการท้องร่วง

 

 

หมายเลขบันทึก: 553711เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิตามินเอ นั้นขาดก็ไม่ได้ มากไปก็ไปไม่ดี ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการรับประทานให้ดีเช่นกันครับ ผมว่าการได้รับวิตามินนี้จากอาหารย่อมดีกว่าการได้รับวิตามินเม็ดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท