ลัทธิเทวสิทธิ์ (Devine Rights)


ลัทธิเทวสิทธิ์ (Devine Rights)

ในทางรัฐศาสตร์ การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ มีพัฒนาการรากฐานมาจาก "ระบบอุปถัมภ์" (Patronage and Clients System) ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมาอยู่รวมกันเป็นสังคมมาแต่บุพกาล ที่ต้องมีผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง ในฐานะผู้ปกครองต้องเป็นผู้ให้ ผู้ปกป้องฯ และผู้ใต้ปกครองเป็นผู้ตามฯ [1]

ต่อมาได้พัฒนาเป็น "อำนาจเทวสิทธิ์" หรือ "Devine Rights" ซึ่งเป็นฐานแนวคิดที่เชื่อว่า "พระเจ้าเป็นผู้มอบอำนาจให้มาปกครองประชาชน เป็นอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์"

แยก ๒ กรอบแนวคิด คือ

(๑) ซีกโลกตะวันตก (Western Civilization) ก็จะเป็นในรูปแบบของ "ระบบศักดินาสวามิภักดิ์" (Feudal System) หรือ "เจ้าขุนมูลนาย" เป็น Knight, Baron, Viscount, Earl(Count), Marquis, Duke, Lord, King, Emperor ยุคมืด [2] อยู่ในช่วงยุคกลางหรือสมัยกลาง (the Middle Ages, Mediaeval Period) [3] ราวศตวรรษที่ ๘ – ๑๐ [4] หรือแต่นักวิชาการสรุปว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. ๕๐๐ ถึง ค.ศ. ๑๕๐๐ [5] ซึ่งเหล่าบรรดากษัตริย์หรือฝ่ายอาณาจักรในยุโรปตกอยู่ใต้อำนาจของฝ่ายศาสนา(ฝ่ายคริสตจักร) โดย Pope แห่ง Vatican

หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า เกิดทฤษฎี “เทวสิทธิ์” หรือ “เทวสิทธิราชย์”[6] โดย ฌอง โบแดง (Jean Bodin) สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิก ระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) แต่ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1688 ถึงปี ค.ศ. 1689

นอกจากนั้นการปฏิวัติในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อในปรัชญานี้ หมดความหมายลงไปมากยิ่งขึ้น และเมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีนี้ก็ถูกละทิ้งโดยสิ้นเชิง

(๒) ซีกโลกตะวันออก (Eastern Civilization) มาจากแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ของชาวอินเดีย [7] ที่ถือโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก ผู้ปกครองมาจากเทพเจ้าให้มาปกครองประชาชนถือว่า ผู้ปกครองหรือกษัตริย์คือ “สมมติเทพ” ตามแนวความคิดแบบ “เทวราชา” หรือ “เทวสิทธิราชย์” ในยุโรป อันเป็นแนวคิดเดียวกับระบอบเทวสิทธิ์ (Devine Rights) ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจจากสวรรค์ นั่นเอง

+++++++++++++++++++++++++++

[1]กรอบแนวคิดของ รศ.ดร.ธวัช วิชัยดิษฐ, NIDA, 1979.

[2]http://th.wikipedia.org/wiki/ยุคมืด เรียก Dark Ages : อยู่ช่วงประมาณหลังการล่มสลายของอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Empire) ถึงช่วงต้นยุคกลางช่วงแรก (Early Middle Age)

[3]http://th.wikipedia.org/wiki/สมัยกลาง

[4]"ประเด็นการกําหนดอายุของยุคกลางในทวีปยุโรป" http://www.archae.su.ac.th/arthistory/journal/akesuda/311%20214%20Sheet%20Middle%20Ages.pdf

[5]http://www.oxfordreference.com/view/10.1093/acref/9780198662624.001.0001/acref-9780198662624

[6]"เทวสิทธิราชย์" , http://th.wikipedia.org/wiki/เทวสิทธิราชย์

[7]ดู "อินเดียสมัยพุทธกาล" , http://www.samkokview.com/main/index.php/2012-02-05-14-25-15/ประวัติศาสตร์เอเชีย/180-India-in-the-Time-of-the-Buddha

หมายเลขบันทึก: 553410เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2014 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท