อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

ไตรโครเดอร์มา กับสวนยางพารา ลุงบุญเขต ทีหอคำ


          อยากได้เชื้อราไตรโครเดอร์มาไปฉีดพ่นในสวนยางพารา แต่ยังทำไม่เป็น นั่นเป็นความประสงค์ของนายบุญเขต ทีหอคำ เกษตรกรจากบ้านท่าสะอาด   ตำบลไคสี อำเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อประมาณ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ สอบถามแล้วได้ความว่า ได้รับข้อมูลจากหนังสือกสิกรรมธรรมชาติ มีคนใช้ได้ผลเลยอยากจะลองนำมาใช้ในสวน แต่ยังขยายเชื้อ และยังใช้ไม่เป็น

ทำไม่เป็นไม่ใช่เรื่องยาก ๑ คนก็สอน ซึ่งวันนั้นได้วิทยากรพิเศษ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นายสัมรวย มีจินดา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ โดยใช้พื้นที่หลังสำนักงานเกษตรจังหวัด

ผ่านมา ๓ เดือนแล้ว วันนี้มีโอกาสไปเยี่ยมสวนยางพารา

ดีดี....ดีดี....รอยยุบ รอยดำมันหายไป คำบอกเล่าของลุงบุญเขต ทีหอคำเจ้าของสวน หลังฉีดพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มาที่ต้นยางพารา จากการสอบถามพูดคุยกับเกษตรกรเจ้าของสวน ได้เล่าให้ฟังว่าหลังจากไปฝึกขยายเชื้อราไตรโครเดอร์มาจากสำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ กลับมาก็ได้เชื้อราที่เขียวพร้อมใช้มาด้วย วันรุ่งขึ้นก็ฉีดพ่นเลย และ ได้หัวเชื้อมา ก็เริ่มขยายเชื้อราในข้าวสวย หลังจากนั้น ๑ สัปดาห์ก็ฉีดพ่น ในสวนยางพารา ทั้ง ๒ แปลง รวมประมาณ ๑๒ ไร่ ฉีดพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มา ไป ๑ ครั้ง โดยฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วบริเวณโคนต้น และลำต้น โดยใช้อัตราส่วน เชื้อราไตรโครเดอร์มา ๑ ถุง ขนาด ๒๕๐ กรัม ผสมกับน้ำ ๔๐ ลิตร ( ๑ ถุง ผสมน้ำได้ ๒ ถัง ขนาดบรรจุ ๒๐ ลิตร ต่อถัง)

อาการเปลือกแตกบริเวณลำต้น และ รอยยุบบริเวณหน้ากรีด

               ก่อนที่จะใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา ถึงหน้าฝน ความชื้นมาก กรีดต้นยางพาราแล้ว ต้อง ทาสารกันเชื้อรา เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดเชื้อรา บริเวณหน้ากรีด ซึ่งทาสารกันเชื้อราแล้ว มักจะเกิดแผลปริแตก ทำให้น้ำยางไหลเยิ้มออกมา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาแล้ว ไม่พบอาการดังกล่าว และนอกจากนี้ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า สามารถรักษาอาการของโรคเส้นดำ โดยรักษาอาการแผลยุบเนื่องจากอาการของโรคเส้นดำได้ดีอีกด้วย

              คุณลุงบุญเขตเล่าให้ฟังด้วยความปลื้มใจ ปีนี้สุขภาพต้นยางพาราดูสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่พบโรคมารบกวน กรีดยาง ปีนี้ คงได้น้ำยางไม่น้อยทีเดียว

                เจ้าหน้าที่จากกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ นำโดย นายสัมรวย มีจินดา หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช และ นักวิชาการเกษตรประจำกลุ่ม น.ส.นิภาภรณ์ ดู่ป้อง, นายคณิสร ศรีทองอินทร์ นอกจากจะมาเยี่ยมสวนแล้ว ยังนำการผลิตขยายเชื้อราไตรโครเดอร์มา ด้วยข้าวเปลือกมาแนะนำให้ คุณลุงบุญเขต ได้รู้จักและนำไปใช้ในสวนอีกด้วย ซึ่งทำได้ง่ายๆ ใช้วัตถุดิบที่มีในครัวเรือน

                                                                                                                        ภาพ/เรื่อง เกษตรแอมมี่

หมายเลขบันทึก: 553155เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2013 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2013 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นนวัตกรรมสวนยางพาราก็ใช่ เป็นภูมิปัญญาก็ใช่ ชื่นชมครับ

  • อยากให้ที่อุบลฯ มีกลุ่มนักส่งเสริมการเกษตรที่ให้ความรู้และคำแนะนำแก่เกษตรกรผ่าน Blog แบบนี้จังค่ะ
  • เมื่อยังไม่มี ก็ขออาศัยเรียนรู้ผ่าน Blog นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ เห็นกลุ่มของท่านเขียนเรื่องยางพารามาแล้วหลายเรื่อง คงต้องย้อนไปศึกษาค่ะ
  • ดิฉันมีสวนยางพาราประมาณ 30 ไร่ ให้ผู้ที่ชำนาญการกรีดยางเปิดหน้ายางให้แล้ว และได้ให้ผู้ช่วยงานฟาร์มเข้ารับการอบรมกรีดยางไปแล้ว (เขียนในบันทึกล่าสุด) มีกำหนดกรีดยางสัปดาห์นี้ค่ะ

มือใหม่ฝึกเขียน ถ้าข้อมูลเป็นประโยชน์บ้าง ก็ยินดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท