ไอเดีย 7: เคี้ยวอาหารมากขึ้น และช้าลง อาจช่วยลดน้ำหนักได้


แบบใช้ประโยชน์งานวิจัย.pdf

(ขอรบกวนท่านผู้อ่านที่ได้นำผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ กรอกข้อมูลในไฟล์แนบให้ด้วยครับ เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยครับ ขอบคุณครับ)

ช่วงนี้มีเวลาว่างหน่อย เลยมีเวลาขีดเขียน เพื่อแบ่งปันครับ

อากาศยามเช้านี้กำลังดี มีลมเย็นๆ พัดเอื่อยๆ ตลอดเวลา เป็นสัญญาณเข้าสู่ฤดูหนาวที่ขอนแก่น

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ทำกับนักศึกษา พบว่า การเคี้ยวอาหารแต่ละครั้งเผาผลาญพลังงานประมาณ 1-2 แคลอรี่ หากเคี้ยวเร็วแคลอรี่ที่เผาผลาญจะน้อยลงไปด้วย ดูเหมือนใช้พลังงานน้อยนิด แต่เมื่อสะสมกันทุกวัน วันละหลายๆ มื้อ คำนวณได้ว่าอาจเทียบเท่ากับการเดินเร็ว (2 ไมล์/ชม.) เดือนละ 3 ครั้งๆ ละ 20 นาที (Paphangkorakit J, Leelayuwat N, Boonyawat N, Parniangtong A, Sripratoom J. Effect of chewing speed on energy expenditure in healthy subjects. Acta Odont Scand 2013; Early online 1-4.)

งานวิจัยชิ้นอื่นๆ ของต่างชาติ พบว่า เด็กที่กินอาหารเร็ว (ซึ่งอาจหมายถึง เคี้ยวน้อย หรือเคี้ยวเร็วด้วยก็ได้) มีแนวโน้มกินอาหารในปริมาณที่มากขึ้น และมีโอกาสเกิดโรคอ้วนมากกว่าเด็กที่กินอาหารช้า   นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่า การเคี้ยวอาหารให้มากขึ้น (มากกว่า 30 คำ) จะทำให้ความอยากอาหารลดลงได้เร็วขึ้น คล้ายกับที่ปู่ย่าตายายเคยสอนให้เราเคี้ยวเยอะๆ อาหารจะย่อยได้ดีและจะได้อิ่มเร็ว

ผลการศึกษาเหล่านี้ล้วนชี้ว่า การเคี้ยวอาหารให้มากขึ้น และเคี้ยวให้ช้าลง อาจช่วยให้เราควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้น และมีโอกาสอ้วนน้อยลงครับ

บทคัดย่อ

 

Objective. The aim of the study was to investigate the effect of rate of chewing on energy expenditure in human subjects. Materials and methods. Fourteen healthy subjects (aged 18-24 years) within the normal range of BMI participated in a cross-over experiment consisting of two 6-min sessions of gum chewing, slow (∼60 cycles/min) and fast (∼120 cycles/min) chewing. The resting energy expenditure (REE) and during gum chewing was measured using a ventilated hood connected to a gas analyzer system. The normality of data was explored using the Shapiro-Wilk test. The energy expenditure rate during chewing and the energy expenditure per chewing cycle were compared between the two chewing speeds using Wilcoxon signed ranks tests. Results. The energy expenditure per chewing cycle during slow chewing (median 1.4, range 5.2 cal; mean 2.1±1.6 cal) was significantly higher than that during fast chewing (median 0.9, range 2.2 cal; mean 1.0±0.7 cal) (p < 0.005). However, the energy expenditure rate was not significantly different between the two chewing speeds (p > 0.05). Conclusions. The results of this study suggest that chewing at a slower speed could increase the energy expenditure per cycle and might affect the total daily energy expenditure.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 553051เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2014 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท