การวางแผนการศึกษา


การวางแผนการศึกษาที่จะประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ฯลฯจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษา พิจารณา คิดวิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์สอดคล้องกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายทางการศึกษา

บันทึกความรู้ที่ได้จากการอ่านเรื่องนโยบายและการวางแผนการศึกษาของไทย
โดย วาสนา รังสร้อย
การวางแผนการศึกษา พอสรุปได้ดังนี้ การวางแผนการศึกษาเป็นเครื่องมือสาคัญยิ่งของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับเพราะ ก่อนจะดาเนินการใดๆ ต้องมีการวางแผนเป็นระบบมีขั้นตอนกระบวนการเพื่อเป็นกรอบหรือเป็นเค้าโครง ในการทางานและองค์ประกอบสาคัญอีกประการหนึ่งคือการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการวางแผนงานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่หลากหลายแล้วนามาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาที่เรียกว่า การทา SWOT Analysis แล้วนามาเขียนเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ กาหนดวัตถุประสงค์ จัดทาแผน ใส่รายละเอียดเพื่อสามารถนาไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และมีการติดตามประเมินผลได้ ในการวางแผนการศึกษาที่จะประสบผลสาเร็จ บรรลุเป้าหมาย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ฯลฯจึงจาเป็นที่จะต้องศึกษา พิจารณา คิดวิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์สอดคล้องกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายทางการศึกษา ตามขั้นตอนดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 ในมาตรา 43 ที่กล่าวถึงบุคคลมีความเสมอภาคในการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและได้คุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ... และในมาตรา 81 รัฐต้องจัดการศึกษา อบรม สนับสนุนให้โอกาสเอกชนจัดการการศึกษา เพื่อให้เกิดทั้งความรู้ควบคู่กับคุณธรรมุ มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง....ทาให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ที่เกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่ มาตรา49 ที่มีเนื้อความเดียวกับมาตร49ของรฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540 และมาตรา50 ความว่าการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามหลักวิชาการ 3. พระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 มีมาตราที่กล่าวถึงเรื่องการศึกษา ได้แก่ มาตรา 6 เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้กับคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 ในกระบวนการจัดการความรู้ต้องปลูกจิตสานึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมความรู้เรื่อง ความเข้าใจในสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และต้องพัฒนาสาระและกระบวนการการเรียนรู้
ไปอย่างต่อเนื่อง มาตรา 10 การจัดการศึกษาต้องให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสในความเสมอภาค ในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและได้คุณภาพโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ..มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้ และให้ผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด ในกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตนเองตามธรรมชาติในตนที่มีศักยภาพ จึงได้มีการกาหนดแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 - 30 ในหมวด 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาให้เป็นหัวใจสาคัญในการที่จะการศึกษาให้ประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้และมาตรา 33 สภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่เสนอพิจารณาเสนอนโยบาย แผน และาตรฐานการศึกษาของชาติ จากมาตรา 33 เป็นสิ่งที่ทาให้เกิดนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติขึ้นมาใช้ในการบริหารการศึกษาของประเทศขึ้น 4.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 พ.ศ. 2555 - 2559 ได้น้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อใหเกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม สู่ความสมดุลยและยั่งยืน ทาง สศช.ก็ให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของทุกภาคส่วนกับการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ เป็นการสร้างโอกาสให้เข้าถึงทรัพยากร และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5 แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 - 2559 แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559) เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีสาระสาคัญคือยังคงปรัชญาหลัก เจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ฉบับเดิมไว้ แต่ปรับปรุงส่วนที่ต้องดาเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป พอสรุปได้ดังนี้
1. มุ่งให้พัฒนาชีวิตให้เป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข"
2. สร้างความเข้มแข็งและดุลยภาพให้กับสังคมไทยได้แก่ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และประการต่อมาคือสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
วัตถุประสงค์ของแผนฯ 1. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา กล่าวคือ พัฒนาทุกคนให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ปลูกฝังและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนากาลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะการแข่งขัน
2. สร้างสังคมให้มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ กล่าววคือ พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรม ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และการเรียนรู้ของคน และการสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ โดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการแสวงหา เผยแพร่ความรู้และการเรียนรู้ 3. พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน กล่าวคือ ส่งเสริมและสร้างสรรค์ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจากัด ลด ขจัดปัญหาทางโครงสร้างซึ่งความยากจน ขัดสน ด้อยทั้งโอกาสและศักดิ์ศรีของคน หรือคงไว้เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ การจัดทรัพยากรและการลงทุนการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย เช่น เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลาย จัดระบบและวิธีการบริหาร จัดสรรทรัพยากร และระบบติดตาม ด้วยการกระจายอานาจลงสู่ท้องถิ่นตลอดจนใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส เป็นต้น
ขั้นตอนในการทาแผนกลยุทธ์ (แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2555 - 2558)
1. รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ แหล่งข้อมูลสารสนเทศที่นามาใช้ประกอบการจัดทาแผนฯ มี รธน. พรบ.การศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายทางการศึกษาของรัฐบาล แผนสพฐ. ยุทธศาสตร์การพัฒนการศึกษา การวิจัย แนวคิดทฤษฎี SBM รายงานผลการประเมินตนเองของ SAR รายงานผลการประเมินภายนอก
2. วิเคระห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ด้วยวิธีการ SWOT
ภายในดู 2 S โครงสร้าง และการให้บริการ 4 M 2T อ่อน - แข็ง
ภายนอก STEP สังคม เศรษฐกิจ การเมือง โอกาส(เอื้อ) - อุปสรรค
3. การประเมินสถานภาพของโรงเรียน กล่าวคือ อยู่ในจุด/ตาแหน่งใด เอื้อหรือแข็ง ตาแหน่งดาวเอื้อแต่อ่อน ตาแหน่งเครื่องหมายคาถาม ไม่เอื้อแต่แข็ง ตาแหน่งวัวแม่ลูกอ่อน ไม่เอื้อ และอ่อน หรือตาแหน่งสุนัขจนตรอก
4. การจัดวางทิศทางของโรงเรียน
ตัวอย่าง
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษโรงเรียนวัดลานบุญตั้งอยู่ที่117 ซอยลาดกระบัง 1 ถนนลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10520 โทรศัพท์ 0-2329 - 0283 โทรสาร 0-2329 - 0283 Website:{HYPERLINK "http://www.lanboon.net"} Email:{HYPERLINK "mailto:[email protected]"} Facebook :[email protected] เปิดสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. 1- 3) มีเขตพื้นที่บริการคือ เขต
ลาดกระบังและเขตใกล้เคียงคือเขตประเวศรวมถึงตาบลราชาเทวะ อาเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีนักเรียน 1,666 คน บุคลากร ผู้บริหาร 5 คน ครู 70 คน ลูกจ้างประจา 10 คน ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน เป็นโรงเรียนต้นแบบห้องเรียนคณิตศาสตร์ บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM) ใช้แหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ มาประกอบการจัดทาแผนฯ เช่น รธน. พรบ.การศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายทางการศึกษาของรัฐบาล แผนสพฐ. ยุทธศาสตร์การพัฒนการศึกษา การวิจัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 แนวคิดทฤษฎี SBM รายงานผลการประเมินตนเองของ SAR รายงานผลการประเมินภายนอก มีดังนี้
1. โรงเรียนบริหารจัดการสอดคล้องตามกฎหมาย นโยบายการศึกษาที่เกี่ยวข้อง แผนพัฒนาฯ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
2. โครงการในปีที่ผ่านมา ประสบผลสาเร็จทุกโครงการ ยกเว้นกิจกรรมการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต้องมีการพัฒนาให้สูงขึ้น
3. กิจกรรม/โครงการเด่นเป็นพิเศษ ชนะเลิศในโครงการเงินทองของมีค่าตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากตลาดหลักทรัพย์ โครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ความเป็นเลิศทางวิชาการ โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผลการวิเคราะห์วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนด้วยเทคนิค SWOT ปรากฏผลดังนี้
1. สภาพแวดล้อมภายใน 2S โรงเรียนมีการจัดแผนภูมิโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนสะดวกในการบริหารจัดการ กาหนดนโยบาย กลยุทธ์ที่ชัดเจน และ มีผลผลิตและการให้บริการที่มีคุณภาพ 4M 2 T โรงเรียนมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล และชุมชนสนับสนุน มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน และมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (โรงเรียนระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ) ปรับภูมิทัศน์ โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรโรงเรียนวัดลานบุญ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง วัด เป็นต้น ทาให้สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน เป็นจุดแข็ง พร้อมที่จะส่งเสริม พัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้เป็นอย่างดี
2. สภาพแวดล้อมภายนอก STEP ด้านสังคมและวัฒนธรรม โรงเรียนตั้งอยู่ในสภาพ ชุมชนเมือง การคมนาคมสะดวก สภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรหลาน
ด้านเทคโนโลยี ในชุมชนมีร้านบริการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในชีวิตประจาวัน
ด้านเศรษฐกิจ ผู้ปกครองนักเรียนไม่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีความคล่องตัวในการสนับสนุนการศึกษา
ด้านการเมือง นโยบายรัฐบาล โรงเรียนตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีโอกาสได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดการศึกษา และรัฐบาลดูแลช่วยเหลือจัดสรรงบประมาณ วัสดุ สื่อการสอนฯ เป็นอย่างดี สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาสจึงเอื้อต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนผลการประเมินสถานภาพของโรงเรียน พบว่าอยู่ในตาแหน่ง ดาว คือ เอื้อและแข็ง
- สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน เป็นจุดแข็ง พร้อมที่จะส่งเสริม พัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้เป็นอย่างดี
- สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นโอกาส คือ อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ วัดลานบุญ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ศูนบริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าอาวาสวัดลานบุญ บริษัท ห้างร้าน หน่วยงาน องค์กร ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน จึงเอื้อต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
การจัดวางทิศทางของโรงเรียน
1. กาหนดวิสัยทัศน์
“โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นคุณธรรม น้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ความเป็นไทย ชุมชนร่วมใจ ก้าวไกลสู่อาเซียน"
2.กาหนดพันธกิจ 1. โรงเรียนบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ภายใต้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. ปลูกจิตสานึกให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย และรักความเป็นไทย 3. ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนน้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิต 4. เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียนด้านเทคโนโลยี 5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ สมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกันสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
6. ยกระดับผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ 7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน สถานประกอบการฯลฯ
8. พัฒนาความสามารถทางด้านภาษาของผู้เรียน ให้สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา 9. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
3.กาหนดเป้าประสงค์ 1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ภายใต้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย และรักความเป็นไทย 3. บุคลากรในโรงเรียนน้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิต 4. บุคลากรในโรงเรียนมีศักยภาพด้านเทคโนโลยี 5. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ สมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกันสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 6.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ 5 กลุ่มสาระหลักสูงกว่าหรือเทียบเท่าระดับชาติ และผู้เรียนได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ 7.ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน สถานประกอบการฯลฯ 8.ผู้เรียนสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา 9.บุคลากรมีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
กาหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน
1. บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ภายใต้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ ระบบกิจกรรมนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม รักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสานึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม มีวินัย และรักความเป็นไทย 3. ส่งเสริมบุคลากรในโรงเรียนให้น้อมนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิต 4. เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในโรงเรียนด้านเทคโนโลยี รักการเรียนรู้ ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกนอก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน สถานประกอบการฯลฯ เพื่อพัฒนาด้านความรู้ เจตคติ และทักษะในการปฏิบัติงาน
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพ สมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
6. ยกระดับผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
7.พัฒนาความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสารของผู้เรียน ให้สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน
8.พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
จัดทากรอบกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการศึกษา จัดทาในรูปตาราง ประกอบด้วยสดมภ์ของ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสาเร็จ และเป้าหมายผลผลิต 4 ปี จัดทาโครงการสนับสนุนกลยุทธ์ จัดทาในรูปตาราง ประกอบด้วยสดมภ์ของ โครงการ/กิจกรรม วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณปีที่ดาเนินการ (4 ปี)ดาเนินการ/ปฏิบัติตามแผน เป็นการปฏิบัติงานตามโครงการที่จัดทาขึ้นในปีนั้น ซึ่งถือเป็นการดาเนินงานให้บรรลุตามแผนงาน ตามกลยุทธ์ของโรงเรียน
ติดตามประเมินผลรายงานผลการปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผลโครงการหลังจากดาเนินการตามโครงการเสร็จสิ้น ต้องสรุปรายงานผล ถือเป็นการติดตามผลการดาเนินงานให้บรรลุตามแผนงานตามกลยุทธ์ของโรงเรียนเพราะโครงการเป็นสื่อ/เครื่องมือของการปฏิบัติงานตามแผนงานหรือตามกลยุทธ์ของโรงเรียนนั่นเองโรงเรียนจะประเมินโครงการ แล้วจัดทารายงานผลการประเมินโครงการ เพื่อนาไปปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นในปีต่อไป

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 551662เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท