ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 42 (ต่อ)


เนื่องจากบันทึก ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 42 ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้

และเพิ่มความเห็นไม่ได้ จึงมาเพิ่มบันทึกนี้เพิ่มเติม และใช้สำหรับการตอบคำถามด้วย

 

ตัวอย่างการแจก ศฺวนฺ

 

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा श्वा श्वानौ श्वानः
सम्बोधनम् श्वन् श्वानौ श्वानः
द्वितीया श्वानम् श्वानौ शुनः
तृतीया शुना श्वभ्याम् श्वभिः
चतुर्थी शुने श्वभ्याम् श्वभ्यः
पञ्चमी शुनः श्वभ्याम् श्वभ्यः
षष्ठी शुनः शुनोः शुनाम्
सप्तमी शुनि शुनोः श्वसु

 

ตัวอย่างการแจก ยุวนฺ

 

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा युवा युवानौ युवानः
सम्बोधनम् युवन् युवानौ युवानः
द्वितीया युवानम् युवानौ यूनः
तृतीया यूना युवभ्याम् युवभिः
चतुर्थी यूने युवभ्याम् युवभ्यः
पञ्चमी यूनः युवभ्याम् युवभ्यः
षष्ठी यूनः यूनोः यूनाम्
सप्तमी यूनि यूनोः युवसु

 

ตัวอย่างการแจก มฆวนฺ

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा मघवा मघवानौ मघवानः
सम्बोधनम् मघवन् मघवानौ मघवानः
द्वितीया मघवानम् मघवानौ मघोनः
तृतीया मघोना मघवभ्याम् मघवभिः
चतुर्थी मघोने मघवभ्याम् मघवभ्यः
पञ्चमी मघोनः मघवभ्याम् मघवभ्यः
षष्ठी मघोनः मघोनोः मघोनाम्
सप्तमी मघोनि मघोनोः मघवसु

 

อหนฺ นปุ. วัน. มีสองเค้า แข็ง อหสฺ/อหรฺ , อ่อน อหนฺ (อาจลดรูปเป็น อหฺนฺ หน้าวิภักติสระ)

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा अहस् अह्नी | अहनी अहानि
सम्बोधनम् अहस् अह्नी | अहनी अहानि
द्वितीया अहस् अह्नी | अहनी अहानि
तृतीया अह्ना अहोभ्याम् अहोभिस्
चतुर्थी अह्ने अहोभ्याम् अहोभ्यस्
पञ्चमी अह्नस् अहोभ्याम् अहोभ्यस्
षष्ठी अह्नस् अह्नोस् अह्नाम्
सप्तमी अह्नि | अहनि अह्नोस् अहःसु

ในภาษาพระเวท (ฤคเวท) อหนฺ จะลดรูปเป็น อห- เมื่ออยู่หน้าวิภักติพยัญชนะ พหูพจน์ ได้แก่ อหภิสฺ, อหภฺยสฺ, อหสุ


ธาตุ

  • คมฺ + อสฺตมฺ (อสฺตํคจฺฉติ) ลง, ตก (ในวรรณคดี หมายถึง กลับบ้าน ใช้กับดวงดาวทั้งหลาย)
  • คมฺ + อุทฺ (อุทฺคจฺฉติ) ขึ้น
  • สฺปฺฤหฺ (สฺปฺฤหยติ) ปรารถนา (ใช้กับกรรมรอง หรือสัมประทานการก)


นาม

  • เคารว นปุ. น้ำหนัก, ความน่านับถือ
  • ชคตฺ นปุ. สิ่งที่มีชีวิต (ชคตฺ+นาถ > ชคนฺนาถ)
  • ตกฺษศิลา ส. เมือง ตักษศิลา บาลีว่า ตักกสิลา
  • ติรฺยญฺจฺ ปุ.นปุ. สัตว์
  • ตฺวษฺฏฺฤ (त्वष्टृ) ส. การชุมนุม การประชุม
  • ภฺฤคุกจฺฉ นปุ. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง
  • มฆวนฺ ปุ. พระอินทร์
  • ยุวนฺ ปุ.นปุ. เยาว์, ยุวติ ส.
  • วิปาก ปุ. วิบาก การสุกงอม
  • ศฺรม ปุ. ปัญหา ความเจ็บปวด
  • สึห ปุ. สิงโต
  • สฺนาน นปุ. การอ่านน้ำ ที่อาบน้ำ (ธาตุ สฺนา)
  • หริณ ปุ. กวาง (ภาษาอังกฤษมักให้ไว้ว่า gazelle แต่คงกล่าวรวมๆ ไม่ว่าจะกวางพวกไหนๆ)


คุณศัพท์

  • อธีต ปุ.นปุ. อธีตา ส. มีความรู้ มีการศึกษา
  • ตสฺถิวำสฺ ยืนแล้ว, ใช้เป็นนามว่า สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว
  • ตฺริศีรฺษนฺ มีสามหัว (ตฺริ+ศีรฺษ+ อนฺ(ปัจจัยตัทธิต)
  • ทษฺฏ ปุ.นปุ. ทษฺฏา ส. (จากธาตุ ทํศฺ เติม ต เป็น กริยาย่อย อดีตกาล แล้วสนธินู่นๆ นี่ๆ) ถูกกัด
  • วนวาสินฺ อาศัยอยู่ในป่า (วน+วาส+ อินฺ) (วาส ก็มาจาก วสฺ อาศัย นั่นเอง)
  • วิทฺวำสฺ รู้ ฉลาด (เรียนข้างบนไปแล้ว)

 

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

 

 

แปลไทยเป็นสันสกฤต

1. วฺฤตฺรถูกฆ่าแล้ว (ใช้ หนฺ เป็นกริยาบอกเหตุ (ณิชันตะ) กรรมวาจก) โดยมฆวนฺ และเหล่ามรุตฺ

2. (หญิง)สาวร้องเพลงแล้ว (ไม่ต้องใส่คำว่าหญิง)

3. พราหมณ์ผู้คงแก่เรียน ย่อมโต้เถียงกัน

4. สรมาถูกเรียกในฤคเวทว่า สุนัข(ส.)ของเทวดาทั้งหลาย

5. ป่าใหญ่ถูกพบ (วิทฺ) ทางตะวันตก

6. ในที่ประชุม ขอให้ผู้เป็นใหญฯ่ที่สุดในบรรดาผู้รู้ จงสอนธรรมะ (ใช้ อุปทิศฺ)

7. บุคคลคนทั้งหลายเหล่าใดกระทำแล้วซึ่งกรรมอันชั่ว/บาป เขาเหล่านั้นต้องยืนกลางวัน(กรรมการก) และต้องนั่งกลางคืน

8. เกียรติยศภ๔กได้รับแล้วโดยนักรบหนุ่ม

9. ทางตะวันออก (กรรตุการก เอก.) บุคคลจงเคารพเทวดาทั้งหลาย, ทิศตะวันออก (ปฺราจี) เป็นทิศ (ทิศฺ) ของเทวดาทั้งหลาย

10. บุคคลต้องบูชาพระอาทิตย์ทุกวัน

11. กวางถูกฆ่าแล้วโดยสุนัขทั้งหลาย

12. สิงโตคือราชาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้อาศัยในป่า

หมายเลขบันทึก: 551476เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2013 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ฮ่าๆ ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจประโยคนี้ที่หนูแต่งมาด้วยค่ะ

ยถา จีนะ ปฺรชา สูรฺยมูลํ ,ตถา ธีรพระ สูรฺยมูลำ ภาษำ จยเต

คนจีนไม่ชอบญี่ปุ่นฉันใด , ธีรพรก็ไม่ชอบภาษาญี่ปุ่นฉันนั้น

ขอบคุณค่ะ ..

แล้วก็รบกวนอีกคำถามค่ะ คือว่าหนูสงสัยมานาน

พวกที่ให้ดึงคำข้างหลังมาติดที่คำข้างหน้าในกรณีที่ ท้ายคำข้างหน้านั้นไม่มีสระกำกับอยู่

หนูไม่เข้าใจว่าจะดึงมาติดกันเพื่อให้เกิดความยุ่งยากเวลาแปลหรือต้องแยกสนธิทำไม

เป็นไปเพราะเหตุผลทางด้านเสียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือเปล่าคะ

หรือมีเหตุผลอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้อีก

รบกวนด้วยค่ะ..

อาจารย์หนูงงอันนี้ค่ะ ไม่รู้ว่าจะสนธิอย่างไร

ตสฺถิ + อุษฺ + อสฺ = ?

ตสฺถิ ต้องแจกเค้าก่อน แล้วค่อยแจกวิภักติ

ดังนี้

 

तस्थिवस् Singular Dual Plural
Case 1 (subject) तस्थिवान्
tasthivān
तस्थिवांसौ
tasthivāṃsau
तस्थिवांसः
tasthivāṃsaḥ
Case 2 (object) तस्थिवांसम्
tasthivāṃsam
तस्थिवांसौ
tasthivāṃsau
तस्थुषः
tasthuṣaḥ
Case 3 ("with") तस्थुषा
tasthuṣā
तस्थिवद्भ्याम्
tasthivadbhyām
तस्थिवद्भिः
tasthivadbhiḥ
Case 4 ("for") तस्थुषे
tasthuṣe
तस्थिवद्भ्याम्
tasthivadbhyām
तस्थिवद्भ्यः
tasthivadbhyaḥ
Case 5 ("from") तस्थुषः
tasthuṣaḥ
तस्थिवद्भ्याम्
tasthivadbhyām
तस्थिवद्भ्यः
tasthivadbhyaḥ
Case 6 ("of") तस्थुषः
tasthuṣaḥ
तस्थुषोः
tasthuṣoḥ
तस्थुषाम्
tasthuṣām
Case 7 ("in") तस्थुषि
tasthuṣi
तस्थुषोः
tasthuṣoḥ
तस्थिवत्सु
tasthivatsu
Case 8 (address) तस्थिवन्
tasthivan
तस्थिवांसौ
tasthivāṃsau
तस्थिवांसः
tasthivāṃsaḥ

- อาจารย์คะ และ ศฺวนฺ กับ ราชนฺ ต่างกันอย่างไร ในเมื่อมันก็เป็น -อนฺ เหมือนกัน 

แล้วถ้าศัพท์มาคล้ายกันแบบนี้ หนูจะไปเลือกแจกแบบไหนละคะ ในเมื่อมันก็มีวิธีการแจกต่างกันทั้งสองแบบ

แล้วเค้ากลางของ ราชนฺ คืออะไรคะ หนูจดไว้มีแต่เค้าแข็งและอ่อน

เค้าแข็งคือให้ยืดเสียง -อนฺ เป็น -อา ก่อน แล้วค่อยนำไปสนธิกับวิภักติของเพศชาย

เดี่ยวอาจารย์ตอบคำถามหนูเสร็จสงสัยคงจะต้องแจกมาส่งก่อนล่ะมั้งคะ กันผิดพลาดได้

 

ศัพท์ที่ให้มาเริ่มเป็นตัวพิเศษแล้ว โดยทั่วไปก็แจกตามแบบที่เคยให้ครับ

ที่เขียนมาก็ใช้ได้ครับ จีนะ ประชา น่าจะสมาสเป็น จีนประชา ไปเลยครับ

ผมเพิ่งรู้ว่า ญึ่ปุ่น ใช้คำนี่้

  • ตฺวษฺฏฺฤ (त्वष्टृ) ส. การชุมนุม การประชุม
  • จดเข้าหมวดไหนดีคะ ฤ การานต์ที่แปลว่าผู้กระทำ หรือ เป็นคำลำดับญาติ ?
  • ติรฺยญฺจฺ ปุ.นปุ. สัตว์ 
  • อันนี้แจกยังไงคะ ตามแบบไหนเอ่ย -ญฺจฺ จะว่าแจกแบบ จฺ การันต์ ตามวาจฺก็ไม่ได้เพราะคำนั้นเป็นเพศหญิง ?
  • คมฺ + อสฺตมฺ (อสฺตํคจฺฉติ) ลง, ตก (ในวรรณคดี หมายถึง กลับบ้าน ใช้กับดวงดาวทั้งหลาย)
  • คมฺ + อุทฺ (อุทฺคจฺฉติ) ขึ้น
  • สฺปฺฤหฺ (สฺปฺฤหยติ) ปรารถนา (ใช้กับกรรมรอง หรือสัมประทานการก)
  • ธาตุสามตัวนี้คือหมวด 1,1,10 ใช่ไหมคะ ?

ป.ล ตารางเหลืองๆขาวๆนี้อาจารย์ copy มาจากไหนเหรอคะ สวยดี วันหลังก็ก็อบอย่างนี้มาให้หนูเลยก็ได้ค่ะ 

แต่ตัวเทวนาครีไม่รู้ว่าจะเป็นปัญหากับคนอื่นที่ยังอ่านไม่ออกหรือเปล่า

อ่อ.. อีกหนึ่งคำถามเสริมสร้างกำลังใจ พวกแจกนามแปลกๆใกล้หมดยังคะ ^-^

  • ตฺวษฺฏฺฤ (त्वष्टृ) แจกตามหมวดปกติ ไม่ใช่ญาติ
  • ติรฺยญฺจฺ แจกแบบ จฺ พยัญชนะการานต์นั้น เพศชาย/หญิง แจกเหมือนกัน (ดูการแจกข้างล่าง)
  • (ตารางนำมาจาก http://sanskrit.inria.fr/DICO/grammar.fr.html)

 

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा तिर्यङ् तिर्यञ्चौ तिर्यञ्चः
सम्बोधनम् तिर्यङ् तिर्यञ्चौ तिर्यञ्चः
द्वितीया तिर्यञ्चम् तिर्यञ्चौ तिर्यञ्चः
तृतीया तिर्यञ्चा तिर्यङ्भ्याम् तिर्यङ्भिः
चतुर्थी तिर्यञ्चे तिर्यङ्भ्याम् तिर्यङ्भ्यः
पञ्चमी तिर्यञ्चः तिर्यङ्भ्याम् तिर्यङ्भ्यः
षष्ठी तिर्यञ्चः तिर्यञ्चोः तिर्यञ्चाम्
सप्तमी तिर्यञ्चि तिर्यञ्चोः तिर्यङ्सु

 

เรื่องธาตุถูกแล้ว ธาตุที่เติมอุปสรรค ยังคงหมวดธาตุเดิม (คมฺ, 1) เก่งมาก

นามแปลกๆ ยังเหลืออีก 1-2 บท แต่คราวหน้าเรียนสมาสก่อนก็ได้นะ ;)

ยังไงก็ได้ค่ะ อันที่จริงหนูอยากจะให้อาจารย์ทำบทเรียนทิ้งไว้หลายๆบทเลย ไว้เผื่อชดเชยเมื่อยามที่อาจารย์ไม่ว่าง

หรือกับเรื่องสมาสนั้น หนูก็อยากให้มันจบทีเดียวในบทนั้นเลย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่าเพราะทราบมาว่าสมาสนั้นมีหลายแบบ

ช่วงนี้หนูก็รีบอ่านรีบทำค่ะ เป็นช่วงกอบโกยเวลาอาจารย์ว่างๆ เผื่อมีอะไรติดขัด สงสัยจะได้รีบมาถามได้สะดวก

ไว้ถ้าวันัไหนอาจารย์ไปงานของชมรมไทยฮินดีคลับแล้วก็บอกหนูด้วยนะคะ 

หนูจะได้ไปเจออาจารย์ด้วย

จริงๆงานล่าสุดอาจารย์เก่งแกก็แท็กมาเชิญหนูเหมือนกัน แต่ก็ต้องช่วยงานที่บ้านในวันนั้นค่ะ เลยพลาดโอกาสดีๆไป

แต่วันหน้ายังมีอีกแยะ

ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ ..อิอิ

 

 

''อหนฺ'' การกที่4 - เอกพจน์ อันไหนถูกคะระหว่าง..

- ahan > ahn + e = ahne ?

- ahan + e = ahane ?

ที่ถามเพราะการกที่3 -เอกพจน์ เห็นมีแอบตัด อะ หลัง ห ไปด้วย

มึนมากๆๆๆ พยัญชนะการันต์(พวกพิเศษ)ทำพิษ  โอยย - -"

ป .ล  นี่หนูพอนึกออกล่ะ ในศัพท์โหราศาสตร์มีคำว่า อโหราตรี ด้วย คงจะมาจากคำนี้แน่ๆ

ขอบคุณค่ะ ..

 

 

อ้าว ลืมแจก อหนฺ ให้

อหนฺ นปุ. วัน รูป เอก กรรตุ. ใช้เค้า อหสฺ ครับ

มีแข็ง อหสฺ, อ่อน อหนฺ(ลดรูปเป็น อหฺนฺ เมื่ออยู่หน้าวิภักติสระ บางตัวใช้ได้สองแบบ)

เอาีูรูปแจกไปเลยนะครับ

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा अहस् अह्नी | अहनी अहानि
सम्बोधनम् अहस् अह्नी | अहनी अहानि
द्वितीया अहस् अह्नी | अहनी अहानि
तृतीया अह्ना अहोभ्याम् अहोभिस्
चतुर्थी अह्ने अहोभ्याम् अहोभ्यस्
पञ्चमी अह्नस् अहोभ्याम् अहोभ्यस्
षष्ठी अह्नस् अह्नोस् अह्नाम्
सप्तमी अह्नि | अहनि अह्नोस् अहःसु

 

ภาษาพระเวทนั้น เมื่ออยู่หน้าวิภักติพยัญชนะ จะลดเหลือแค่ อห- (अहभ्यस् , अहभिस् , अहसु)

ตัวนี้รู้สึกว่ายุ่งมาก ;)

अहन्  การกที่ 1 - 2 พหูพจน์ สำหรับเพศกลางแล้วเป็นเค้าแข็ง ก็ให้ยืดเสียงอะเป็นอาก่อนใช่ไหมคะ  แล้วค่อยไปสนธิกับวิภักติ?

 

 

 

 

 

กถํ ตฺวํ วินา วสามิ ฉันจะอยู่อย่างไรถ้าไม่มีคุณ

ประโยคนี้ได้ไหมคะ หนูติดตรงที่ วินา เคยจดไว้ว่าจะนิยมใช้กับ กรณและกรรมการก และมักจะอยู่หลังศัพท์นั้น

เช่นนี้แล้วหนูต้องเปลี่ยน ตฺวมฺ ไปด้วยไหมคะ ให้เป็น กรรม และการณ แทน

กถํ ตฺวยา  วินา วสามิ

กถมํ ตฺวำ วินา วสามิ  

ขอบคุณค่ะ

 

ส่งที่ปริวรรตก่อนค่ะ เจอฟอนต์แบบนี้ทีไรเซ็งจิตทุกที - -" มั่วแหลก อาจารย์ทนตรวจหน่อยนะคะ

บทหน้ามาหนูขอแบบฟอนต์ปกติไม่ได้เหรอคะ เพราะยังไงอาจารย์ก็ต้องมาตรวจซ้ำและเขียนใหม่ให้หนูอยู่ดี

เกรงจะเสียเวลาอาจารย์เปล่าๆน่ะค่ะ ฮ่าๆๆๆ ^-^

 

วิทฺทานฺปฺรศสฺยเต  โลเก วิทฺทานฺคจฺฉติ เคารวมฺ

วิทฺธยา ลมฺยเต สรฺวํ  วิทฺธา  สรฺนนฺ ปูชฺ ยาวยุธฺยเต

 

1.) ปฺราจฺยำ ทิศิ ชฺโยตีํษฺยุคฺกทฺจฺฉนติ ปฺราตีจฺยามสฺตํคจฺฉนฺติ

2.) วิทฺท ... เรว วิทุษำ ศฺรโม .. ยเต

3.) ตฺวษฺทุสฺวิศีรฺษาณำ ปุนฺนํ มธวามารยตฺ

 4.) อาหนี ปว ..ยาวยุธฺเยตามฺ

5.) ศฺรุนา ทษฺโฑ ทิทฺชาติะ สฺนานมาจเรตฺ

6.) กาศฺยา อาจคฺมุโษ ภฺรา นป..ศฺยาม

7.) เยน วิทา อาธีตาสฺตํ ยุวานมปิ คุรุมฺ คณายนฺติ

8.) ปาปาะ กรฺมณำ วิปาเทน  ทิทฺโตเย  ชนฺมนิ ติรฺยตุ ชายนฺต  ทติ สฺมุติะ

 9.)วิทฺทำโส  วิทฺท .. สห  สมาคมาย สฺปุหยนฺติ

10.) กิย .. รโหมิะ กาศฺยาะ ปฺรยาคมจฺฉต

11.) ปฺราจำ เทเศ ปาฑลิปุนฺนํ นาม มหนฺนครํ วิทฺรต อุทีจำ ตกฺศิลา ปฺรตีจำ ภฺฤคุกจฺฉมฺ

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องฟอนต์เทวนาครี ต้องพยายามอ่านให้ได้ เพราะนี่ก๊อปปี้มาจากหนังสือ

ถ้าใช้ฟอนต์เดิม ต้องนั่งพิมพ์ใหม่ จะใช้เวลามากครับ

 

วิทฺวานฺปฺรศสฺยเต โลเก วิทฺวานฺคจฺฉติ เคารวมฺ ฯ

วิทฺยยา ลภฺยเต สรฺวํ วิทฺยา สรฺวตฺร ปูชฺยเต ฯ

 

1.) ปฺราจฺยำ ทิศิ ชฺโยตีํษฺยุทฺคจฺฉนฺติ ปฺรตีจฺยามสฺตํคจฺฉนฺติ

2.) วิทฺวทฺภิเรว วิทุษำ ศฺรโม กฺษายเต

3.) ตฺวษฺฏุสฺตฺริศีรฺษาณำ ปุตฺรํ มฆวามารยตฺ

4.) อาหนี เอว กฺษตฺริยาวยุธฺเยตามฺ

5.) ศุนา ทษฺโฏ ทฺวิชาติะ สฺนานมาจเรตฺ (สังเกต ศ ใช้ตัวแบบนี้)

6.) กาศฺยา อาชคฺมุโษ ภฺราตฺฤๅนปศฺยาม

7.) เยน เวทา อาธีตาสฺตํ ยุวานมปิ คุรุมฺ คณยนฺติ

8.) ปาปาะ กรฺมณำ วิปาเกน ทฺวิตีเย ชนฺมนิ ติรฺยกฺษุ ชายนฺต อิติ สฺมฺฤติะ

9.) วิทฺวำโส วิทฺวทฺภิะ สห สมาคมาย สฺปฺฤหยนฺติ

10.) กิยทฺภิรโหมิะ กาศฺยาะ ปฺรยาคมคจฺฉต

11.) ปฺราจำ เทเศ ปาฏลิปุตฺรํ นาม มหนฺนครํ วิทฺยต อุทีจำ ตกฺษศิลา ปฺรตีจำ ภฺฤคุกจฺฉมฺ

 

ตัวที่ผิดคือ ตฺร, ทฺว, กฺษ ดูให้ดีๆ

แจกรูป อหนฺ หนูงงไปหมดเลยค่ะ อาจารย์

 การกที่ 1 - 2 พหูพจน์ สำหรับเพศกลางแล้วเป็นเค้าแข็ง ก็ให้ยืดเสียงอะเป็นอาก่อนใช่ไหมคะ  แล้วค่อยไปสนธิกับวิภักติ ?

การกที่สาม ทวิพจน์ เพศกลาง เป็นเค้าอ่อน ไม่ต้องใช้ อหนฺ หรือ อหฺนฺ เหรอคะ

การกที่สอง เอกพจน์ก็ด้วย ทำไมใช้ อหสฺ มันเป็นเค้าอ่อนไม่ใช่เหรอคะ น่าจะใช้ อหนฺ หรือ อหฺนฺ แล้วแจกเป็น อหฺนมฺ เพราะสนธิวิภักติสระ

หนูงงค่ะ

อีกอย่างเว็บที่อาจารย์เข้าไปแจกรูปนามมานั้น อาจารย์ก็อบปี้มาอย่างไรคะ ทำไมหนูก็อบไม่ได้

ขอบคุณค่ะ..

เพศกลาง มฺ อี อิ  บางทีก็ใช้ นี นิ แทน

จำ ผลมฺ ผเล ผลานิ ได้ไหมครับ นั่นก็ใช้ นิ แทน (ผล + อิ => ผล + นิ => ผลา+นิ)

คำนี้ใช้มาตั้งแต่สมัยฤคเวท จึงค่อนข้างไม่ปกติ

 

เอ กํอปมาปกตินะครับ

ป.ล. เพิ่งหาวิธีเข้า gotoknow เพราะใช้กับ firfox ไม่สะดวก

อาจารย์คะ ''กฺษายเต'' ในข้อสอง มาจากธาตุอะไร หาไม่เจอ

หนูลองเดาคิดว่าเป็นธาตุหมวดสิบ น่าจะมาจาก กฺษิ ทำพฤทธิ์ --> กฺไษ + อย = กฺษายเต 

ไม่รู้จะถูกหรือเปล่า ? 

 

 

อ้าว ผมอ่านผิด อิๆ, ชฺญายเต ครับ (ย่อมถูกรู้)

ชฺญา อาตมเนบท

การแจก ตฺวษฺฏฺฤ (त्वष्टृ)

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा त्वष्टा त्वष्टारौ त्वष्टारः
सम्बोधनम् त्वष्टः त्वष्टारौ त्वष्टारः
द्वितीया त्वष्टारम् त्वष्टारौ त्वष्टॄन्
तृतीया त्वष्ट्रा त्वष्टृभ्याम् त्वष्टृभिः
चतुर्थी त्वष्ट्रे त्वष्टृभ्याम् त्वष्टृभ्यः
पञ्चमी त्वष्टुः त्वष्टृभ्याम् त्वष्टृभ्यः
षष्ठी त्वष्टुः त्वष्ट्रोः त्वष्टॄणाम्
सप्तमी त्वष्टरि त्वष्ट्रोः त्वष्टृषु

การบ้านของคุณศรีฯ

1.)ปฺราจฺยำ ทิศิ ชฺโยตํษฺยุทฺคจฺฉนฺติ ปฺรตีจฺยามสฺตํคจฺฉนฺติ = ดวงดาวทั้งหลาย (ชฺโยตํษิ) ขึ้น (อุทคจฺฉนฺติ) ในทางทิศตะวันออก (ปฺราจฺยำ ทิศิ) และตกลง (อสฺตํคจฺฉนฺติ) ในทางทิศตะวันตก (ปฺรตีจฺยำ) # ข้อนี้สงสัยวิภักติหลังคือ - ยามฺ ที่ต่อท้าย ปฺราจฺ และ ปฺรตีจฺ , -ยามฺ นี้คือวิภักตินามของเพศหญิง การกที่เจ็ด เอกพจน์ใช่ไหมคะ ?

2.) วิทฺวทฺภิเรว วิทุษำ ศฺรโม ชฺญายเต = ปัญหา (ศฺรมสฺ) ของพวกคนฉลาด (วิทุษามฺ) ย่อมถูกรู้ได้ (ชฺญายเต) ก็ด้วยคนฉลาดทั้งหลายนั่นเอง (วิทฺวทฺภิเรว ) # พวกคนฉลาดย่อมแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวของเขาเอง ?

3.) ตฺวษฺฎุสฺตฺริศีรฺษาณำ ปุตฺรํ มฆวามารยตฺ = พระอินทร์ (มฆวา) ได้ฆ่าแล้ว (มารยตฺ) ซึ่งลูก (ปุตฺรํ) ของการชุมนุมกันของผู้มีสามหัว (ตฺวษฺฎุสฺ ตฺริศีรฺษาณำ) # พระอินทร์ได้ฆ่าลูกของผู้ที่มีหัวเยอะสามหัวใสรวมกันแล้วอย่างนี้เหรอคะ ฮ่าๆ ?

4.) อาหนี เอว กฺษตฺริยาวยุธฺเยตามฺ =นักรบทั้งสอง (กฺษตฺริเยา) ได้สู้รบแล้ว (อยุธฺเยตามฺ) เป็นเวลาสองวัน (อาหนี) นั่นแหละ (เอว) # นักรบทั้งสองได้ทำการสู้รบผ่านมาได้สองวันแล้วแหละ ?

5.) ศุนา ทษฺโฎ ทฺวิชาตะ สฺนานมาจเรตฺ = ที่อาบน้ำ (สฺนานมฺ) พราหมณ์ (ทฺวิชาติสฺ) ถูกกัด (ทษฺฎสฺ) โดยสุนัข (ศุนา) # พราหมณ์ถูกสุนัขกัดตรงที่อาบน้ำ ? แล้วธาตุ อารยตฺ นี่จะแปลอย่างไรคะ มาจากธาตุ จรฺ + สมฺ – อา = มาจรติ (ปฎิบัติ, ทำ ,ดำเนินการหรือเปล่า เอ่ย)?

6.) กาศฺยา อาชคฺมุโษ ภฺราตฺฤานปศฺยาม = ติดคำว่า อาชคฺมุโษ แยกไม่ได้ ค่ะ

7.) เยน เวทา อาธีตาสฺตํ ยุวานมปิ คุรุมฺ คณยนฺติ = ด้วยศาสตร์ความรู้อันเยาว์ใด (เยน อาธีตาสฺ เวทาสฺ ยุวานฺ) แม้ (อปิ) ซึ่งครู (คุรุมฺ) ก็นับเข้าด้วย (คณยนฺติ) ข้อนี้แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

8.) ปาปาะ กรฺมณำ วิปาเกน ทฺวิตีเย ชนฺมนิ ติรฺยกฺษุ ชายนฺต อิติ สฺมฺฤตะ = ตามกฎมีว่า (อิติ สฺมฺฤตะ) บาปทั้งหลาย (ปาปาะ) ของการกระทำทั้งหลาย( กรฺมณำ) ได้เกิดขึ้นแล้ว (ชายนฺต) ด้วยถึงแก่วิบาก (วิปาเกน) ในชาติที่สอง (ทฺวีตีเย ชนฺมนิ)

9.) วิทฺวำโส วิทฺวทฺภะ สห สมาคมาย สฺปฺฤหยนฺติ = คนฉลาดทั้งหลาย (วิทฺวำโส) ปรารถนา (สฺปฺฤหยนฺติ) สำหรับการพบปะกัน (สมาคมาย) (วิทฺวทฺภะ สห) พร้อมกับคนฉลาดทั้งหลาย #คนฉลาดก็อยากมาเจอกับคนฉลาดด้วยกันในงานสังสรรค์สสมาคมกัน ?

10.) กิยทฺภิรโหมะ กาศฺยาะ ปฺรยาคมคจฺฉต = ท่านทั้งหลายได้เดินทางแล้ว คจฺฉต จากเมืองกาศี กาศฺยาะ ถึงเมืองประยาค ปฺรยาคมฺ ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน กิยทฺภิโหมะ ข้อนี้อาจารย์ปริวรรตมาผิดหรือเปล่าคะ น่าจะเป็น कियद्भिरहोभिः

11.) ปฺราจำ เทเศ ปาฎลิปุตฺรํ นาม มหนฺนครํ วิทฺยต อุทีจำ ตกฺษศิลา ปฺรตีจำ ภฺฤคฺกจฺฉมฺ

อาจารย์หนูเข้าได้แล้วนะคะ อิอิ ลองเข้าผ่าน firefox ดู

1.)ปฺราจฺยำ ทิศิ ชฺโยตํษฺยุทฺคจฺฉนฺติ ปฺรตีจฺยามสฺตํคจฺฉนฺติ = ดวงดาวทั้งหลาย (ชฺโยตํษิ) ขึ้น (อุทคจฺฉนฺติ) ในทางทิศตะวันออก (ปฺราจฺยำ ทิศิ) และตกลง (อสฺตํคจฺฉนฺติ) ในทางทิศตะวันตก (ปฺรตีจฺยำ) # ข้อนี้สงสัยวิภักติหลังคือ - ยามฺ ที่ต่อท้าย ปฺราจฺ และ ปฺรตีจฺ , -ยามฺ นี้คือวิภักตินามของเพศหญิง การกที่เจ็ด เอกพจน์ใช่ไหมคะ ?

=> ทิศิ และ ปฺรตีจฺยามฺ เป็นการกเดียวกัน ถูกแล้ว

2.) วิทฺวทฺภิเรว วิทุษำ ศฺรโม ชฺญายเต = ปัญหา (ศฺรมสฺ) ของพวกคนฉลาด (วิทุษามฺ) ย่อมถูกรู้ได้ (ชฺญายเต) ก็ด้วยคนฉลาดทั้งหลายนั่นเอง (วิทฺวทฺภิเรว ) # พวกคนฉลาดย่อมแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวของเขาเอง ?

= แปลถูกแล้ว, ส่วนเรื่องการตีความก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ;)

3.) ตฺวษฺฎุสฺตฺริศีรฺษาณำ ปุตฺรํ มฆวามารยตฺ = พระอินทร์ (มฆวา) ได้ฆ่าแล้ว (มารยตฺ) ซึ่งลูก (ปุตฺรํ) ของการชุมนุมกันของผู้มีสามหัว (ตฺวษฺฎุสฺ ตฺริศีรฺษาณำ) # พระอินทร์ได้ฆ่าลูกของผู้ที่มีหัวเยอะสามหัวใสรวมกันแล้วอย่างนี้เหรอคะ ฮ่าๆ ?

= พระอินทร์ ได้ฆ่าแล้ว (อมารยตฺ, อดีตกาล) บุตร ผู้มีสามเศียร ของตวัษฏัสตริ

4.) อาหนี เอว กฺษตฺริยาวยุธฺเยตามฺ =นักรบทั้งสอง (กฺษตฺริเยา) ได้สู้รบแล้ว (อยุธฺเยตามฺ) เป็นเวลาสองวัน (อาหนี) นั่นแหละ (เอว) # นักรบทั้งสองได้ทำการสู้รบผ่านมาได้สองวันแล้วแหละ ?

= สองวันเท่านั้น ก็ได้

5.) ศุนา ทษฺโฎ ทฺวิชาตะ สฺนานมาจเรตฺ = ที่อาบน้ำ (สฺนานมฺ) พราหมณ์ (ทฺวิชาติสฺ) ถูกกัด (ทษฺฎสฺ) โดยสุนัข (ศุนา) # พราหมณ์ถูกสุนัขกัดตรงที่อาบน้ำ ? แล้วธาตุ อารยตฺ นี่จะแปลอย่างไรคะ มาจากธาตุ จรฺ + สมฺ – อา = มาจรติ (ปฎิบัติ, ทำ ,ดำเนินการหรือเปล่า เอ่ย)?

= ทษฺโฏ ทฺวิชาตสฺ พราหมณ์ผู้ถูกกัดแล้ว (คำหน้าเป็นคำขยาย) พึงทำพิธีอาบน้ำ (สฺนานมฺ).

กริยาคือ อาจเรตฺ √จรฺ+อา. + วิธิ (อีตฺ)

6.) กาศฺยา อาชคฺมุโษ ภฺราตฺฤานปศฺยาม = ติดคำว่า อาชคฺมุโษ แยกไม่ได้ ค่ะ

กาศฺยาสฺ (กาศี) อาชคฺมุษสฺ (พหุ กรรมการก) ภฺราตฺฤๅนฺ อปศฺยาม

ทำไมเป็น ชคฺมุโษสฺ มาจาก ชคฺมิวำสฺ [ธาตุ คมฺ แต่ซ้ำเสียง คมฺคมฺ> คคมฺ > ชคมฺ > ชคฺมฺ + วำสฺ และแทรก อิ = ชคฺมิวำสฺ] แต่ในที่นี้ มาจาก คมฺ+อา จึงต้องเป็น อา+ชคฺมิวำสฺ

=> พวกเราเห็นแล้วพี่ชายหลายคนผู้มาแล้วจากกาศี (เมืองกาสี)

7.) เยน เวทา อาธีตาสฺตํ ยุวานมปิ คุรุมฺ คณยนฺติ = ด้วยศาสตร์ความรู้อันเยาว์ใด (เยน อาธีตาสฺ เวทาสฺ ยุวานฺ) แม้ (อปิ) ซึ่งครู (คุรุมฺ) ก็นับเข้าด้วย (คณยนฺติ) ข้อนี้แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

เยน เวทาสฺ อาธีตาสฺ ตํ ยุวานมปิ คุรุมฺ คณยนฺติ

พระเวททั้งหลาย (เวทาสฺ) ถูกเรียนแล้ว (อาธีตาสฺ) โดยผู้ใด (เยน),

เขาทั้งหลาย (ไม่ปรากฏรูป, ดูที่กริยา คณยนฺติ) ย่อมนับ (คณยนฺติ) แม้ (อปิ) คนหนุ่ม (ยุวานมฺ) นั้น (ตมฺ) ว่าเป็นครู (คุรุมฺ)

(อาธีต ศัพท์อยู่บทไหน ครูหาไม่เจอ)

8.) ปาปาะ กรฺมณำ วิปาเกน ทฺวิตีเย ชนฺมนิ ติรฺยกฺษุ ชายนฺต อิติ สฺมฺฤตะ = ตามกฎมีว่า (อิติ สฺมฺฤตะ) บาปทั้งหลาย (ปาปาะ) ของการกระทำทั้งหลาย( กรฺมณำ) ได้เกิดขึ้นแล้ว (ชายนฺต) ด้วยถึงแก่วิบาก (วิปาเกน) ในชาติที่สอง (ทฺวีตีเย ชนฺมนิ)

= ปาปาสฺ (คนบาป, คนชั่ว) ได้เกิดขึ้นแล้ว ในหมู่เดรัจฉานทั้งหลาย (ติรฺยกฺษุ) ในชาติ(ชนฺมนิ) ที่สอง (ทฺวิตีเย) ด้วยวิบาก (วิปาเกน) แห่งกรรมทั้งหลาย (กรฺมณามฺ), สมฤติ กล่าวไว้ (อิติ)

(เรียงแบบไหนก็ได้ ให้ได้ความหมายทำนองนี้)

ที่เหลือ เดี๋ยวมาต่อ...

9.) วิทฺวำโส วิทฺวทฺภะ สห สมาคมาย สฺปฺฤหยนฺติ = คนฉลาดทั้งหลาย (วิทฺวำโส) ปรารถนา (สฺปฺฤหยนฺติ) สำหรับการพบปะกัน (สมาคมาย) (วิทฺวทฺภะ สห) พร้อมกับคนฉลาดทั้งหลาย #คนฉลาดก็อยากมาเจอกับคนฉลาดด้วยกันในงานสังสรรค์สสมาคมกัน ?

คนฉลาดย่อมปรารถนาเพื่อพบปะกับคนฉลาด

10.) กิยทฺภิรโหมะ กาศฺยาะ ปฺรยาคมคจฺฉต = ท่านทั้งหลายได้เดินทางแล้ว คจฺฉต จากเมืองกาศี กาศฺยาะ ถึงเมืองประยาค ปฺรยาคมฺ ใช้เวลาทั้งหมดกี่วัน กิยทฺภิโหมะ ข้อนี้อาจารย์ปริวรรตมาผิดหรือเปล่าคะ น่าจะเป็น कियद्भिरहोभिः

** กิยทฺภิรโหภิะ แก้ใหม่นะ. แต่แปลถูกแล้ว

11.) ปฺราจำ เทเศ ปาฎลิปุตฺรํ นาม มหนฺนครํ วิทฺยต อุทีจำ ตกฺษศิลา ปฺรตีจำ ภฺฤคฺกจฺฉมฺ

มหานคร ชื่อว่า ปาฏลีบุตร ยอ่มถูกรู้ว่า/มีอยู่ (วิทฺยเต) ในดินแดนทางตะวันออก, ตักษศิลา ในดินแดนทางเหนือ, ภฤคุกัจฉะ ในดินแดนทางตะวันตก

แปลไทยเป็นสันสกฤต

1. วฺฤตฺรถูกฆ่าแล้ว (ใช้ หนฺ เป็นกริยาบอกเหตุ (ณิชันตะ) กรรมวาจก) โดยมฆวนฺ และเหล่ามรุตฺ

= มโฆนา มรุทฺภิศฺจ วฺฤตฺโร'ฆาตยต

2. (หญิง)สาวร้องเพลงแล้ว (ไม่ต้องใส่คำว่าหญิง)

= ยุวตฺยาคายต

3. พราหมณ์ผู้คงแก่เรียน ย่อมโต้เถียงกัน

= อธีตา ทฺวิชาตฺยรฺวิวเทยุะ

4. สรมาถูกเรียกในฤคเวทว่า สุนัข(ส.)ของเทวดาทั้งหลาย

= ฤกฺษุ สรมา เทวานำ ศุนฺยิติ หูยเต

5. ป่าใหญ่ถูกพบ (วิทฺ) ทางตะวันตก

= ปฺรตฺยางฺ มหานฺวนํ วินฺทเต

6. ในที่ประชุม ขอให้ผู้เป็นใหญฯ่ที่สุดในบรรดาผู้รู้ จงสอนธรรมะ (ใช้ อุปทิศฺ)

= ข้อนี้หนูใช้คำว่า ตฺวษฺฏฺฤ (त्वष्टृ) ส. การชุมนุม การประชุม เป็นเพศหญิงแล้วค่ะ และทำสนธิแล้วด้วย เลยมั่วไปหมดเลย อิอิ

7. บุคคลคนทั้งหลายเหล่าใดกระทำแล้วซึ่งกรรมอันชั่ว/บาป เขาเหล่านั้นต้องยืนกลางวัน(กรรมการก) และต้องนั่งกลางคืน

อันนี้งงตรง ยืนกลางวัน ใช้คำว่าอะไรดีคะ

8. เกียรติยศภ๔กได้รับแล้วโดยนักรบหนุ่ม

<p>= ศูนา กฺษตฺริเยน กีรฺติรลภต
</p><p>9. ทางตะวันออก (กรรตุการก เอก.) บุคคลจงเคารพเทวดาทั้งหลาย, ทิศตะวันออก (ปฺราจี) เป็นทิศ (ทิศฺ) ของเทวดาทั้งหลาย</p><p>= ปฺรางฺ เทวำสฺนมตุ , เทวานำ ปฺราจี ทิกฺภวติ</p><p>10. บุคคลต้องบูชาพระอาทิตย์ทุกวัน</p><p>= นิตฺยมาทิตฺยํ ปูชยตุ</p><p>11. กวางถูกฆ่าแล้วโดยสุนัขทั้งหลาย</p><p>= ศฺวภิรฺหริโณ ฆาตฺยเต </p><p>12. สิงโตคือราชาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้อาศัยในป่า</p><p>= ติรฺยจำ วนวาสี สิํโห ราโช ภวติ</p>

1. ต้องเป็น อฆาตฺยต นะครับ เพราะ เอา อย ออก, ตอนที่บอกไปสงสัยบอกไม่ครบ ;)

3. โจทย์อยากให้ใช้ วิทฺวำสฺ

4. ใช้ วจฺ > อุจฺยเต ก็ได้

6. ตฺวษฺฏฺริ วิทุษำ วโร ธรฺมมุปทิศตุ

7. ปาปานิ กรฺมาณิ จกฺริวำโส 'หสฺ ติษฺฐนฺตุ ราตฺรึศฺจ นิษีทนฺตุ. (จกฺริวำสสฺ อหรฺ ติษฺฐนฺตุ > ...โส 'หสฺ ติ... )

พอเห็นแบบฝึกแล้ว นึกได้ว่าลืมให้ศัพท์อีกสามสี่ตัว เป็นกริยากฤต สมบูรณกาล ให้ไว้ตรงนี้เลย เดี๋ยวลืม (แข็ง - อ่อน)

จกฺฤวำสฺ , จกฺรุษฺ (กฺฤ) = ทำแล้ว, ผู้ทำแล้ว

นินีวำสฺ ,นินฺยุษฺ (นี) = นำแล้ว, ผู้นำแล้ว

ศุศฺรุวำสฺ , ศุศฺรุวุษฺ(ศฺรุ) = ฟังแล้ว, ผู้ฟังแล้ว

8. ยูนา กฺษตฺริเยน กีรฺติรลภฺยต. ทำไมเป็น ศูนา?, กริยาคือ อลภฺยต (มีจุดใต้ ภ)

9. ทิกฺ ไม่ต้องมี ภาวติ ก็ได้ แต่ถ้ามี ภวติ, กฺ ต้องสนฺธิกับ ภ เป็น ทิคฺภวติ

10. ทุกวัน ใช้ "อหฺนิ อหฺนิ" > อหฺนฺยหฺนิ ก็ได้

11.ติรศฺจำ. การลำดับ ควรวางประธานก่อน, และคำแสดงความเป็นเจ้าของนำหน้าของ

= สึโห วนวนาสินำ ติรศฺจำ ราชา. วนวาสินฺ ใช้พหูพจน์ สัมพันธการก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท