จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

คุยกับลูก พูดอย่างเข้าใจ


ตอนสมัยเรียน เวลาผมคุยกับเพื่อนๆ บางทีเพื่อนๆ มักจะทักกลับมาครับว่า "ทำไมต้องสั่งด้วย" ซึ่งเมื่อเจอแบบนั้นผมก็ต้องรีบแก้ตัวครับว่า "ไม่ได้สั่ง ขอให้ช่วย" แรกๆ งงกับตัวเองครับ ทำไมคำพูดเรากลายเป็นไปสั่งเขาได้ อือ แต่พอคิดไปคิดมา คิดว่าอาจจะเป็นเพราะรูปแบบประโยคที่ใช้และน้ำเสียงครับ คนฟังรู้สึกเหมือนโดนผมสั่ง ซึ่งผมว่าแน่นอนว่า เวลาเราโดนสั่งนี่ ความรู้สึกต่อต้านมันจะเกิดขึ้นมาเองครับ แล้วสุดท้ายมันก็พาลให้งานที่น่าจะง่ายกลายเป็นยากไปได้

เอาเรื่องอดีตมาเล่า แค่เพียงเพื่อโยงมาในปัจจุบันครับ ผมเชื่อว่าคนเป็นแม่ เป็นพ่อนี่มีธรรมชาติอย่างหนึ่งครับ คือ การออกคำสั่ง จริงๆ อาจจะไม่ถึงขั้นสั่งครับ แต่เป็นการพูดใช้บ่อยๆ กับลูก อย่างที่ผมพูดข้างต้น บางทีเราไม่ได้เจตนาสั่ง แต่คนฟัง (ซึ่งครั้งนี้คือลูก) ฟังแล้วเหมือนกำลังถูกสั่งให้ทำอะไรอยู่

แล้วอะไรที่จะเป็นผลย้อนกลับ อันนี้ก็เดาไม่ยากครับ เอานิสัยส่วนตัวมาเล่าก็ได้ (ฮิฮิ) คือ มันจะรู้สึกเหมือนถูกกดดัน น่าเบื่อ และสุดท้ายก็เกิดความท้าทายอยากที่จะปฏิเสธในสิ่งนั้น ซึ่งพฤติกรรมมันก็ออกมาหลายแบบครับ ดื้อ (ในความเห็นของพ่อแม่) แรงๆ หน่่อย หรือโตหน่อยคือ ออกห่าง (หนี) ไปจากชุดคำสั่งเหล่านั้น

ผมเองก็เจอเหตุการณ์นี้กับลูกครับ หลายๆ ครั้ง เราอยากได้ความรวดเร็วให้ลูกทำอย่างใจเรา เลยก็บอก (สั่ง) ลูกไปเลย ทำอันนี้นะลูก ไปเอาอันนี้นะครับลูก พูดเพราะๆ นั่นแหละครับ แต่คนฟังเขาแปลความหมายรวมๆ กันว่าเป็นการออกคำสั่ง ผลคือ ลูกผมก็เหมือนผมนั่นแหละครับ ไม่ชอบให้ใครมาสั่ง ฮิฮิ เลยดื้อให้เห็นเลย

ดีที่ผมเกิดสังเกตพฤติกรรมลูกแล้วนั่งถอดบทเรียนว่า เอ๋ะ ลูกเรากำลังปฏิเสธความปราถนาดีของพ่ออยู่หรือ ฮิฮิ จริงๆ ไม่ครับ ลูกอยากทำตามเรา แต่เบื่อการออกคำสั่งจากพ่อ แล้วก็ลองย้อน กรอเทปกลับไปดู ก็จะพบว่า ผมพูด "เชิง" การออกคำสั่ง (ไม่ใช่สั่งนะครับ) มากไป และลูกก็เริ่มการปฏิเสธมากขึ้น

กระบวนการปรับตัวเพื่อปรับการสื่อสารจึงต้องเริ่มจากผู้ส่งสารครับ ผมเลยเปลี่ยนการพูดของตัวเอง จากการให้ลูกทำตามในสิ่งที่บอก กลายมาเป็นการพูดเชิญชวน ขอความเห็นแทน ฟังเขาพูดมากขึ้น ซึ่งขอบคุณอัลลอฮ์ (อัลฮัมดุลิลลาห์) ผมเจอความเปลี่ยนแปลงจากลูกเร็วมากครับ ผมไม่ได้พูดมากขึ้นนะครับ แต่ผมพูดเชิงการเชิญชวนมากขึ้น เช่น จากเดิม "ไปอาบน้ำได้แล้ว" (ซึ่งเดิมต้องพูดหลายๆ ครั้งกว่าเขาจะยอมลุกไปทำ) เป็น "เดี๋ยวเราจะออกไป... จัดการเลยใครมีอะไรต้องทำก่อน" ซึ่งจะมีคำตอบมาเองครับ อาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น ผลที่ได้คือ ความร่วมมือจากลูกๆ พฤติกรรมที่ไม่ก้าวร้าว ความใกล้ชิดที่เพิ่มมาก 

ผมกำลังรู้สึกว่า การสื่อสารของพ่อแม่เป็นกลไกหนึ่งในการปรับพฤติกรรมของลูกๆ ครับ พ่อแม่ต้องเลือกรูปแบบการสื่อสารที่พยายามสื่อให้รู้ว่า เราเข้าใจเขา ฟังเขา พูดภาษาเดียวกับเขา เขามีสิทธิในการเสนอความคิดเห็นกับเรา เราเป็นพวกเดียวกัน 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

หมายเลขบันทึก: 551328เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นความรู้ดีมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท