สุภาวดี พุฒิหน่อย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี พุฒิหน่อย

ผู้สูงอายุและกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ (จบ)


เนื้อหาเขียนลง วารสารกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นกิจกรรมที่ไม่หักโหมหรือแข่งขัน แต่ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมี ส่วนร่วมในกิจกรรม อันได้แก่ กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมการท่องเที่ยว และกิจกรรมงานอดิเรก กล่าวคือจากการศึกษาของ ศจี วิสารทศจี (2554) ได้ทบทวนและแบ่งหมวดหมู่กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุไว้ 7 ประเภทดังนี้

ประเภทกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรม

1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางด้านร่างกาย

- กิจกรรมบริหารร่างกาย ได้แก่ โยคะ ลีลาศ แอโรบิค วิ่งเหยาะ เดินเร็ว กิจกรรมใช้อุปกรณ์บริหาร เช่น ลูกบอลบริหาร ปาเป้า โยนห่วง โบลิ่งสนาม รำมวยจีน รำไม้พลอง ไทเก๊ก เปตอง การออกกำลังกายกับเครื่องบริหาร

-กิจกรรมปรนนิบัติร่างกาย ได้แก่ การนวด การอบสมุนไพร ธรรมชาติบำบัด

2. กิจกรรมทางศาสนา

การทำบุญ ฟังธรรม ฝึกสมาธิ

3. กิจกรรมเสริมทักษะทางปัญญา

การเล่นเกมส์ใช้สมองต่างๆ เช่น บิงโก จับคู่ภาพปริศนา อ่านหนังสือ หมากฮอส หมากรุก การทายภาพ เรียนรู้เพิ่มเติม การใช้อินเตอร์เน็ต

4. กิจกรรมเพื่อความบันเทิง

การร้องเพลง การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ

5.กิจกรรมส่งเสริมสังคม

การพบปะสังสรรค์ตามโอกาสต่างๆ พูดคุย กิจกรรมตามเทศกาล วันสำคัญ

6. กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา

การทำงานศิลปะ การปั้น การเล่นดนตรี งานช่าง งานฝีมือ ดูแลตนไม้ เลี้ยงสัตว์

7. กิจกรรมพิเศษอื่นๆ

- กิจกรรมอาสาสมัคร การบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ

- กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การดูนก ชมธรรมชาติเป็นต้น

ตารางที่ 4 แสดงการแบ่งประเภทกิจกรรม 7 ด้าน

ที่มา (สรุป): ศจี วิสารทศจี (2554)

                 จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งประเภทของกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย ลักษณะกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวมา จะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของผู้สูงอายุให้สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดจนช่วยเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจ รู้สึกมีคุณค่าในตนเองและรู้สึกว่าตนเองยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต่อไปอีก

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.( 2551). คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน

และเฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2551. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546.

ปัญญาภัทร กัทรกัณทากุล. (2544). การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและความผาสุกทางใจของ

ผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศจี วิสารทศจี. (2554). แนวทางการออกแบบศูนย์ส่งเสริมสังคมและนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ในพื้นที่เขตทุ่งครุและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). พิมพ์ครั้งที่7. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2 วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2542). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. ( 2542). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ: principles of geriatric

medicine. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาวดี พุฒิหน่อย, หทัยชนก อภิโกมลกร, วรรณนิภา บุญระยอง, เพื่อนใจ รัตตากร และ จิรนันท์ ไข่

แก้ว. (2547). ผู้สูงอายุกับกิจกรรมบำบัด. เชียงใหม่: ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาวดี พุฒิหน่อย, หทัยชนก อภิโกมลกร, วรรณ. (2553). กรอบอ้างอิงกิจกรรมบุคคลของคิลฮอฟ

เนอร์. ใน: จิรนันท์ กริฟฟิทส์(บก.), ทฤษฎี กรอบอ้างอิง และกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด. เชียงใหม่: ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การเปลี่ยนแปลงและ

เตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ. แหล่งที่มา(ระบบออนไลน์)

:hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic002.php (30 กันยายน 2556)

Kielhofner, G. (2002). 3rd Ed. The Model of Human Occupation.. Baltimore,

          MD: Williams & Wilkins.

Klyczek, J.P., Bauer-Yox, N. and Fiedler, R.C. (1997). The interest checklist: a factor analysis.

 

The American Journal of Occupational Therapy. 51(10), 815-823.

หมายเลขบันทึก: 551186เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

.. กิจกรรมดีดีแบบนี้  ผู้สูงอายุไม่เหงา นะคะ

เป็นกำลังใจให้กิจกรรมดีๆครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท