OCLC ASIA PACIFIC REGIONAL COUNCIL 2013 MEMBERSHIP CONFERENCE


การสัมมนาประจำปี 2013 ของสมาชิก OCLC Asia Pacific Regional Council ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย  รังสิต  ปทุมธานี  จัดโดย  สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

  

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปเข้าร่วมสัมมนาประจำปีของ OCLC ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับความรู้และประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมสัมมนามากมาย จึงนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

OCLC เป็นองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงหากําไร ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.1967  โดยบรรณารักษ์ในเมืองดับลิน รัฐโอไฮโอ  ได้ร่วมมือจัดทำรายการร่วมกัน  เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Ohio College Library Center  ต่อมาเมื่อมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ ในห้องสมุด   OCLC จึงพัฒนาเป็นระบบการทำรายการร่วมกันแบบออนไลน์ ซึ่งห้องสมุดต่างๆทั่วโลกได้เข้าร่วมและใช้บริการ ทั้งร่วมมือกันทำรายการทรัพยากรสารสนเทศและการใช้ระบบบริการยืมระหว่างห้องสมุด  กระทั่งปี ค.ศ  1981 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Online Computer Library Center โดยบริการที่เป็นเครื่องมือสำหรับบริการอ้างอิงของ OCLC ใน ช่วงปี ค. 1991 ซึ่งเป็นที่รู้จัก คือ บริการ FirstSearch  

OCLC  Bibliographic Utilities จัดเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่และเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี  2005 ฐานข้อมูล  Worldcat ของ OCLC  มีบรรณานุกรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายล้านระเบียน    บริการในปัจจุบันที่เป็นที่รู้จักและใช้งานในห้องสมุดชั้นนำหลายๆแห่งทั่วโลก ได้แก่  WorldCat และ CONTENTdm  ซึ่งห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทยหลายแห่งได้เข้าร่วมและนำมาใช้ในงานห้องสมุด ( OCLC Online Computer Library Center, Inc., 2013)

 1.  WorldCat  จัดเป็น  Global Union Catalog มีสมาชิกทั่วโลกที่เข้าร่วมทำรายการทรัพยากรและนำข้อมูลขึ้น WorldCat  ตลอดเวลา  สำหรับ WorldCat ที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษานำมาใช้ เรียกว่า WorldCat Local  ปรับปรุงจากบริการ OPAC เดิมของห้องสมุดที่มีอยู่  โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลใน OPAC ให้มากขึ้น

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นครั้งเดียวและได้รับข้อมูลครบถ้วน จัดเป็น One Search หรือ Single search  มีข้อมูลทั้งหนังสือ วารสาร และวิทยานิพนธ์ต่างๆจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำทั่วโลก ทั้งแบบบรรณานุกรมและเนื้อหาฉบับเต็ม

2.  CONTENTdm   เป็น Software บริหารจัดการ Digital Content  การทำงานหลัก คือ ต้องมีการติดตั้ง Server เพื่อเก็บ Content และเครื่อง Client ในการทำงานของผู้ใช้บริการ โปรแกรมนี้มีจุดเด่น คือ เอกสาร PDF สามารถแปลงเป็น Text file และ สืบค้นได้

        บริการของ OCLC ทั้ง 2 แบบ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้าร่วมโครงการและนำมาใช้แล้วระยะหนึ่ง  ส่วนของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร  ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ OCLC  (พี่ท่านหนึ่งถามว่ามาฟังเนี่ยเป็นสมาชิกเค้าเหรอ  ฮ่าๆๆ  หอสมุด ม. นเรศวรไม่ได้เป็นสมาชิกค่า  แต่มาฟังเอาความรู้ ไอเดียและประสบการณ์เผื่อนำไปใช้ได้)       

ส่วนเนื้อหาการนำเสนอของสมาชิกแต่ละแห่งที่มาร่วม ขอยกมาเฉพาะที่คิดว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์นะคะ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเรานั่นแหละค่ะ ซึ่งเค้าพัฒนาไปเยอะทีเดียว

 

1.  ประสบการณ์การใช้งาน WorldCat และ WorldCat Local ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดย อาจารย์ฉวีวรรณ สวัสดี ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล

            ประสบการณ์ในการนำ WorldCat มาใช้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การเตรียมการส่วนข้อมูล การเตรียมการโดยตั้งคณะทำงาน Implementation ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายงานต่างๆในห้องสมุด  ส่วนปัญหาที่ประสบในการนำข้อมูลเข้า เริ่มจากการโหลดข้อมูลจาก INNOPAC Millennium ไปยังฐานข้อมูล OCLC   ตัวอย่างเช่น  Code ภาษา UTF8  ของ OCLC ไม่รับกับภาษาไทย  ปัญหา holding ไม่ปรากฎ และค้นไม่พบรายการที่ต้องการ   ผลการสืบค้นที่ไม่ตรงกันระหว่าง Local database และ WorldCat Worldwide   นอกจากนี้การค้นออนไลน์บทความ ยังคงต้องสืบค้นมากกว่า single click แต่อย่างไรก็ตามหลังจากลงข้อมูลใน WorldCat Worldwide พบว่าปริมาณการเข้าใช้วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น 3 เท่า  และสามารถค้นข้อมูลไปได้ทั่วโลก 

 2.  ประสบการณ์การใช้งาน CONTENTdm และ Koha ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์ชูมาน ถิระกิจ

             หอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำ CONTENTdm  มาใช้สำหรับการจัดเก็บ Collection พิเศษต่างๆของห้องสมุด เช่น คลังผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  คอลเล็คชั่นของ Thai Democratization Center  คอลเล็คชั่นประวัติศาสตร์และเหตุการณ์น้ำท่วม  คอลเล็คชั่นของสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ISEAS (Institute of Southeast Asian Studies)    วิทยานิพนธ์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

            ด้านการทำงานของ CONTENTdm นั้น สามารถสนับสนุนภาษาไทยได้  ส่วนเหตุผลของการนำ CONTENTdm มาใช้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บทรัพยากรที่มีคุณค่าซึ่งอาจสูญหายหรือชำรุดเสียหายจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น อุทกภัย หรือเชื้อรา ซึ่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบปัญหา ตั้งแต่เปิดใช้งานห้องสมุดใต้ดิน ห้องสมุดปรีดี พนมยงศ์ ที่ท่าพระจันทร์ จึงริเริ่มจัดเก็บทรัพยากรในรูปแบบดิจิทัล   เริ่มต้นจากทรัพยากรหายาก  วิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาส่งไฟล์ดิจิทัลมาให้  การนำข้อมูลจากหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมาจัดทำเป็นดิจิทัล  แต่ขณะนี้ยังไม่ได้นำขึ้นเว็บไซต์ห้องสมุด เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการ 

            นอกจากนี้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้มีการจัดเก็บเอกสารหายากด้วยซอฟต์แวร์ Koha จากเดิมที่ใช้ Horizon จัดเก็บ  ซึ่ง Koha สามารถรองรับข้อมูลขนาดใหญ่ได้และใช้งานกับภาษาไทยได้

 

การนำเสนอประสบการณ์จากประเทศต่างๆ

                1. ประเทศสิงคโปร์  นำเสนอโดย   ChewLeng Beh, Senior Director ของ  National Library Board, Singapore  เรื่อง   Business Excellence Journey - The Singapore National and Public Library experience

     หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ได้นำแนวคิดเชิงธุรกิจมาใช้ในการบริหารงานห้องสมุด และได้เข้าร่วมประกวดรางวัลคุณภาพการดำเนินงาน Singapore Quality Award  ได้รับรางวัลเมื่อปี 2004 และ 2011

     มีการรื้อปรับระบบและนำไอทีมาใช้เพิ่มประสิทธิผลของงาน และขยายบริการห้องสมุดไปยังนักเรียนนักศึกษาโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือขายห้องสมุดในชุมชน  ห้องสมุดประชาชนของสิงคโปร์นำเครื่องยืมคืนด้วยตนเองมาใช้ทุกแห่งและมีเครื่องคืนหนังสือ  (Book drops) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของทุกแห่ง และมีบริการอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ปี 1996 

                 2.  ประเทศมาเลเซีย โดย  Maizan Ismail, National Library of Malaysia  เรื่อง Globalization of Malaysia Information

                   ห้องสมุดแห่งชาติมาเลเซีย มีการดำเนินงานและบริการพื้นฐานคล้ายๆกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย มีการวางแผนกลยุทธ์ในการบริหารงานห้องสมุด แบ่งเป็นกลยุทธ์ของห้องสมุด และกลยุทธ์ไอซีที  ส่วนนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด มีดังนี้

·     ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม (Union Cataog) ของประเทศมาเลเซีย ชื่อ Kalalog Induk Kebanksaan

·      บริการที่เรียกว่า ePenerbit หรือระบบบริการสำนักพิมพ์ สำหรับสำนักพิมพ์ที่เป็น ePublishing มีการดำเนินงานครบขั้นตอนกระบวนการสำหรับการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปดิจิทัล ซึ่งผู้ที่ขอใช้บริการต้องส่งสำเนาดิจิทัลให้กับหอสมุดแห่งชาติด้วย     ePenerbit นี้ริเริ่มโดยหอสมุดแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลมาเลเซีย    http://e-penerbit.pnm.gov.my

 

 

·       ห้องสมุดในมาเลเซียมีการนำเอา Resource Description and Access หรือ RDA มาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด โดยใช้กับทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายประเภท และส่งบุคลากรไปดูงานที่หอสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย 

·      นำเอา IVIAF หรือ The Virtual International Authority File มาใช้กำหนด Authority file สำหรับ Authority name ในฐานข้อมูล OCLC ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

     (**  VIAF องค์กรที่สร้างข้อมูลบรรณานุกรมของท้องถิ่นโดยการสร้างตามชื่อที่ใช้ในท้องถิ่น ซึ่งมาเลเซียก็ได้จัด  ส่ง Malaysian Authority name ให้กับ VIAF **) 

·      มีการสร้าง Name Authority Cooporative Program หรือ NACO สำหรับระเบียนรายการหลักฐานส่วนบุคคล หน่วยงาน หรือชื่อตามกฎหมาย ชื่อเรื่องแบบฉบับ และชื่อชุด 

·      มีการสร้าง Subject Authority Cooperative Program หรือ SACO  สำหรับรับรองหัวเรื่องที่เป็นแบบฉบับและเลขหมู่           

·      ห้องสมุดแห่งชาติมาเลเซีย นำ WorldCat Local มาใช้ และใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Connexion สำหรับบรรณารักษ์ช่วยในการ copy catalog และแก้ไขรายการบรรณานุกรม ร่วมกับ WorldCat 

·      มาเลเซียพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความต้องการแรงงานความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะในการผลิต  

3.  OCLC Keynote โดย Katie Birch, Delivery Services OCLC  นำเสนอเรื่อง  Transforming InterLibrary Lending – How Interlibrary Lending and Resource Sharing is Evolving into a Fulfilment Service 

 

            Katie Birch ได้นำเสนอแนวคิดในการให้บริการ 5 ประการ  ที่ผู้ใช้บริการในปัจจุบันควรคำนึงถึง ได้แก่ 1. Consider values  2. Understand customer self-determination 3. Leave your customers space and time to breath   4. Speak their language 5. Offload the transactional  6. Focus on the experiential และ 7. Become a speed freak  โดยเฉพาะข้อ 5-6-7  ที่เป็นความต้องการของคนยุคนี้ที่ชอบความรวดเร็ว และติดกับเทคโนโลยีในระบบออนไลน์  

           นอกจากนี้วิทยากรได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ตัวอย่างเช่น Article Exchange ของ OCLC ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนบทความ หรือ book chapter สำหรับให้ยืมระหว่างกันในระบบออนไลน์  มหาวิทยาลัยที่นำนวัตกรรมนี้ไปใช้ ได้แก่ Mount Mercy University

    

ระบบ Document Supply Service ของ British Library ซึ่งสามารถคิดค่าบริการสำหรับใช้งานแต่ละบุคคลได้ 

 

               4. ประเทศฟิลิปปินส์  โดย Engineer Gerardo S. Doroja, University Library Committee จาก Xavier University – Ateneo de Cagayan เรื่อง   Integrating eLearning System and Digital Materials Using Reverse Proxy: The Xavier University Experience

             วิทยากรจากฟิลิปปินส์ได้มานำเสนอระบบบูรณาการ eLearning เข้ากับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลผ่านตัวกลางที่เรียกว่า Ezproxy ของมหาวิทยาลัย Xavier University  โดยเข้าถึงผ่าน PC , Mobile หรือเครือข่ายไร้สาย และใช้งานทั้งในบริเวณห้องเรียน ห้องแลบ หรือพื้นที่อื่นๆ

              Ezproxy เป็นซอฟต์แวร์ที่ OCLC พัฒนามาจาก Web Server Apache ให้บริการeResources & Online Databases ภายในเครือข่าย ทั้งวิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย หนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์  และบริการ Books 24X7  และยังบูรณาการเข้ากับระบบ Learning Management System เช่น Moodle และXUeLearn  ซึ่งการเข้าถึงเนื้อหาหนังสือ วารสาร หรือกระบวนวิชา  จะให้บริการทั้งระบบ On-Campus และ Off-Campus ด้วยวิธี authentication 

อ้างอิงจาก  http://www.oclc.org/ezproxy/

          5.  เขตปกครองพิเศษฮ่องกง นำเสนอโดย Peter Sidorko, University Librarian, The University of Hong Kong และ  Connie Lam, Cataloguing Librarian, The University of Hong Kong  เรื่อง  Cataloguing for the world: Motivation, method and madness.

 

            ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้เล่าถึงวิวัฒนาการของการพัฒนาคอลเล็คชั่น ว่าทำอย่างไรถึงได้มีจำนวนระเบียนรายการในฐานข้อมูลของ OCLC มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก  ซึ่งแต่เดิมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฮ่องกงใช้ซอฟต์แวร์สำหรับจัดเก็บวารสาร ของ Vender อื่นที่ชื่อ China Journal Net  ซึ่งมีระเบียนรายการจำนวนมาก แต่พบปัญหาหลายประการ เช่น ไม่มีเลข ISSN ไม่มีชื่อผู้แต่ง  กระบวนการทำงานบนโปรแกรมช้า และมีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน  ในครั้งแรกไม่สามารถลงรายการ MARC ได้ และไม่เป็นไปตามมาตรฐาน AACR II  อีกทั้งมีปัญหาตัวอักษรภาษาจีน  

แต่เนื่องจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงเป็นห้องสมุดที่ลงรายการใน WorldCat มากที่สุดอันดับสอง  จึงได้มีแนวคิดเปลี่ยนกระบวนทัศน์ โดยลดงบประมาณและลดขั้นตอนการลงรายการทรัพยากรลง เปลี่ยนมาสู่การ Outsource ทรัพยากรที่เป็นภาษาตะวันตก มีการตั้งคณะทำงานวิเคราะห์ทรัพยากรเฉพาะ Chinese e-books  มีการจัดทำ Chinamaxx Digital Library  ซึ่งดำเนินการจัดเก็บทรัพยากรดิจิทัลไปแล้วประมาณ 50 %  ทำการ upload ระเบียนทรัพยากรทั้งหมดเข้าสู่ OCLC ทั้ง e-journal e-book และ theses   และเปิดใช้งาน WorldCatของ OCLC 

** ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง มีความคิดว่า ขณะที่ห้องสมุดอื่นๆ สามารถยอมรับระเบียนข้อมูลที่ได้จากการทำงานของ Vender  แม้จะมีคุณภาพอยู่ในระดับต่ำมาก  แต่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงกลับตัดสินใจสร้างระเบียนข้อมูลด้วยตนเอง  

    ขณะที่ห้องสมุดอื่นๆคอยที่จะดาวโหลดระเบียนข้อมูลจาก OCLC  แต่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงกลับร่วมมือที่จะสร้างปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่กับ OCLC ทั้งนี้เพราะห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงคิดว่า การทำรายการให้กับผู้ใช้เป็นหน้าที่ต้องทำ แต่การทำรายการให้กับโลกก็เป็นผลกระทบสะท้อนที่กลับมาหาเราได้เช่นกัน ดังข้อคิดที่วิทยากรได้กล่าวไว้ดังนี้ 

Cataloging for our users is our objective.

Cataloging for the world is the side effect.

 

             6. ประเทศใต้หวัน  โดย  Shu-hsien Tseng, Director General, National Central Library นำเสนอเรื่อง  Preservation, Sharing, and Cooperation of Cultural Heritage at the National Central Library  

            การนำเสนอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนและสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของหอสมุดแห่งชาติใต้หวัน  มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมในรูปดิจิทัลของใต้หวันหลายแห่ง  ซึ่งการดำเนินงานของใต้หวัน เริ่มต้นจากการได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอก คือ Library of Congress Asian Division ในการสนับสนุนการทำ digitize เอกสารหายากในรูป image  มีการจัดตั้ง  Digitization Project และทีมงานสำหรับดำเนินงานโดยเฉพาะและมีความร่วมมือกับห้องสมุด East Asian Library ของUniversity of Washington   

            หอสมุดแห่งชาติใต้หวันได้จัดทำ Rare Book Collection โดยจำแนกตามยุคสมัยแต่ละราชวงศ์ จัดเก็บข้อมูลภาพเอกสารต้นฉบับตัวเขียนภาษาจีนท้องถิ่น แบ่งคอลเล็คชั่นตามยุค  และได้มีการแลกเปลี่ยน และเผยแพร่เนื้อหาผ่านเครือข่ายต่างๆในระดับนานาชาติ เช่น  Global Memory Net, World Digital Library  รวมถึงมีการต่อยอดการดำเนินงาน โดยการสร้าง eBook ร่วมกัน และก่อตั้งเป็น eBook Publishing Collaboration  มีการจัดนิทรรศการ Rare Books Exhibition และมีการจัดทำ Digital Audio Visual Archive System

 

 

           * โปรดติดตามตอนที่ 2 นะคะ  คลิก*

หมายเลขบันทึก: 551114เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท