น้ำอัดลม กับกระดูก


เมืองไทยนี่จะว่าไปก็ร้อนขึ้นทุกวัน... ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ข่าวการบ้านการเมือง คนรอบข้าง หรือผู้บริหาร

Hiker

เมืองไทยนี่จะว่าไปก็ร้อนขึ้นทุกวัน... ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ข่าวการบ้านการเมือง คนรอบข้าง หรือผู้บริหาร

จดหมายข่าวเมดสเคปมีข่าวดีเกี่ยวกับท่านที่ไม่ชอบดื่ม หรือไม่ดื่มน้ำอัดลมเย็นๆ ครับ...

การศึกษาโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่งบางฟรามิงแฮม ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2,538 คน เป็นผู้ชาย 1,125 คน ผู้หญิง 1,413 คน อายุเฉลี่ย 59 ปี

อาจารย์แพทย์หญิง แคเธอรีน ซี. ทัคเคอร์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยทัฟทส์ ในบอสตัน แมสซาชูเซตส์ สหรัฐฯ พบว่า การดื่มน้ำอัดลมน่าจะมีส่วนทำให้กระดูกบางลง

การศึกษานี้วัดผลด้วยเครื่องเอกซเรย์ DEXA (เอกซเรย์ 2 ระดับที่ใช้วัดความหนาแน่นกระดูก) โดยวัดความหนาแน่นกระดูกสันหลัง และข้อตะโพก

ผลปรากฏว่า การดื่มน้ำอัดลมโคล่าไม่มีผลต่อความหนาแน่นกระดูกสันหลัง ไม่มีผลต่อความหนาแน่นข้อตะโพกในกลุ่มตัวอย่างเพศชาย แต่มีส่วนทำให้ข้อตะโพกผู้หญิงบางลง 3.7%

กลุ่มตัวอย่างผู้ชายดื่มน้ำอัดลมโคลา 6 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงดื่มน้ำอัดลมโคลา 5 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ (1 หน่วยบริโภคประมาณ 240 มล.)

กลุ่มตัวอย่างทั้งผู้ชาย และผู้หญิงดื่มน้ำอัดลมที่ไม่ใช่โคลา 1.5 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ กลุ่มควบคุมดื่มน้ำอัดลมน้อยกว่า 1 หน่วยบริโภคต่อเดือน

กลไกที่ทำให้น้ำอัดลมมีส่วนทำให้กระดูกบางลงน่าจะเป็นผลจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกันได้แก่

  • การดื่มน้ำอัดลมประเภทโคลาทำให้การดื่มเครื่องดื่มสุขภาพอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแคลเซียม เช่น นม น้ำผลไม้(น้ำส้มในสหรัฐฯ มีชนิดเสริมแคลเซียมจำหน่าย) ฯลฯ
  • กาเฟอีน และกรดฟอสฟอริค (H3PO4) ยังมีผลทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกไปทางไต(ปัสสาวะ)มากขึ้น

 

ขอแสดงความยินดีกับท่านผู้อ่านที่ไม่ชอบ หรือไม่ดื่มน้ำอัดลม ส่วนท่านที่ชื่นชมน้ำอัดลม...

ถ้าลดลงได้สักครึ่ง หรือเปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มสุขภาพอื่นๆ ได้ก็น่าจะดีกับสุขภาพมากขึ้นเยอะเลย

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี มีกระดูกแข็งแรงไปนานๆ ครับ...

     แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > Laurie Barclay, MD (news author) & Charles Vega MD, FAAFP (CME author). Medscape Medical News > Regular cola intake may reduce bone mineral density in women. > http://www.medscape.com/viewarticle/545863?src=mp > October 19, 2006. // source: American Journal of Clinical Nutrition. 2006;84:936-942.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาลห้างฉัตร ลำปาง จัดทำ > ๑๙ ตุลาคม ๔๙. 
หมายเลขบันทึก: 55105เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2006 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • จริงด้วยค่ะ เมื่อตอนที่ดิฉันทำงานให้กับ Coca-Cola ที่ภาคใต้เกือบ 10 ปี
  • ทุกครั้งที่กระหายน้ำ มักจะดื่มโคคา-โคล่า หรือแฟนต้า หรือสไปรท์ เพราะติดใจในรสชาติ 1/ สะดวกในการคว้ามาดื่ม 1 เพราะในสิ่งแวดล้อมทีทำงาน มี Display แช่เย็นเจี๊ยบไว้บริการในหลายมุมของตึกทำงาน
  • ดิฉันไม่ค่อยนึกถึงเครื่องดื่มอื่นๆ ดื่มบ่อยประมาณ 2 ขวดต่อวันค่ะ 
  • อาจมีผลทำให้กระดูกบางจริงๆ ค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ Bright Lily และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่าน...

  • ดื่มน้ำอัดลมมากก็อย่าเพิ่งตกใจครับ...

ตอนผมเป็นเด็ก(นานมากมาแล้ว...) > คุณย่าเตรียมโค้กใส่ตู้เย็นไว้เลย + ดื่มมาเรื่อยจนเพิ่งแทบจะเลิกมาไม่ถึง 3-4 ปีนี่เอง

  • มีวิธีง่ายๆ สำหรับท่านที่ดื่มน้ำอัดลมมามาก...
    (1). เลิกน้ำอัดลม หรือลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
    (2). เสริมแคลเซียมตลอดชีวิต เช่น นมไม่มีไขมัน นมไขมันต่ำ งา ผักใบเขียว ผงโกโก้(มีจำหน่ายเป็นผง) ฯลฯ หรือหาแคลเซียมเม็ดมาเสริม
    (3). ออกกำลัง โดยเฉพาะวิ่ง เดิน ขึ้นลงบันได หรือกระโดดผสมผสานกัน
    (4). ออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ใช้เครื่องมือ(ฟิตเนส) ฯลฯ
    (5). รับแดดยามเช้า (ก่อน 08.00 น.) หรือยามเย็น (หลัง 16.00 น.) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 15 นาที หรือดีที่สุดวันละ 15 นาที เพื่อให้ร่างกายสร้างวิตะมินดี ช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียม
    (6). กินปลาทะเล หรือน้ำมันปลา เนื่องจากมีวิตะมินดีสูง (ไม่ใช่น้ำมันตับปลา ซึ่งมีไขมันอิ่มตัว + โคเลสเตอรอล + วิตะมินเอ + วิตะมินดีสูง)
    (7). ลดเนื้อสัตว์ลง > เปลี่ยนไปกินโปรตีนจากพืช เช่น ข้าวไม่ขัดสีหลายชนิดปนกัน ถั่วหลายชนิดปนกัน เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ฯลฯ เพื่อลดการได้รับฟอสฟอรัสมากเกิน (ทำให้เสียแคลเซียมเพิ่มขึ้น)

ขอให้อาจารย์ Bright Lily + ท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพดี มีกระดูกแข็งแรงไปนานๆ ครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท