พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

กฐิน


  กฐิน (อ่านว่า  กะ-ถิน)

           ในทางพระุพุทธศาสนา ผู้ที่ทำความดี ความดีย่อมนำผลสนอง  ผู้ที่ทำความไม่ดี ความไม่ดีย่อมส่งผลถึง เป็นต้น ในเทศกาลจะมาถึงอันใกล้นี้ คือ  ถวายผ้ากฐินทาน ถือว่าเป็นการให้ทาน ที่ประกอบกาล (เวลา เพียง ๑ เดือน หลังออกพรรษา ถือว่าเป็นหน้าทำบุญกฐินถวายพระผู้อยู่จำพรรษาถ้วนตรมาส)

           คำว่า  กฐิน  นิยามความหมายตามศัพท์แปลว่า  ไม้สะดึง หรือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อสะดวกในการเย็บผ้าจีวร เพราะในสมัยโบราณช่างเย็บยังไม่มีความชำนาญ ทั้งเครื่องจักรก็ยังไม่มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บผ้าต้องอาศัยไม้สะดึง ดังนั้น ผ้าที่ได้จากการเย็บจึงเรียกว่า ผ้ากฐิน ซึ่งก็คือผ้าที่สำเร็จขึ้นได้เพราะอาศัยกฐิน คือไม้สะดึงนั่นเอง

           ปฐมกฐินก่อนที่พระพุทธเจ้า  จะทรงอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินทานนั้น มีเรื่องราวกล่าวเป็นตำนาน ปรากฏในพระบาลีวินัยปิฏกว่า สมัยหนึ่ง พระุทธเจ้าประทัยอยู่ที่ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี มีพระภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ จำนวน ๓๐ รูป ล้วนแต่ทรงธดงค์คุณ สมบูรณ์ด้วยสีลาจารวัตร ได้พร้อมใจกันเดินทาง ด้วยหวังจะเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่พอเดินทางถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างเมืองสาวัตถีประมาณ ๖๐ โยชน์ ( ๔๐๐  เส้น เป็น  ๑ โยชน์) ก็พอดีกำหนดเข้าพรรษา ตามพระวินัยบัญญัติ ต้องหยุดเดินทาง ตัดสินใจ เข้าพรรษาที่เมืองสาเกต  ในพรรษาคิดถึงแต่พระุทธเจ้า แม้จะอยู่ใกล้ก็ไม้ได้เข้าเฝ้า ตามใจปรารถนา ทำให้ต้องรอจนออกพรรษาก่อน

           เมื่อครบพรรษาแล้วจึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ก็ยังมีฝนตกอยู่แม้ออกพรรษาแล้ว  เมื่อเดินทางเฝ้า จึงมีโคนดินเปื้อนที่จีวรมาก ก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ ตรัสถามปฏิสันถาร ในการเดินทาง ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเหตุการณ์  พระพุทธเจ้าใด้ทราบทรงดำริถึงความลำบาก จึงทรงเห็นว่า "กฐินตฺถาโร จ นาเมส สพฺพพุทเธหิ อนุญญาโต."  การกรานกฐินนี้  พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้ทรงอนุญาตแล้ว และ อนุชานามิ  ภิกฺขเว  วสฺสํ วุตฺถานํ ภิกฺขูนํ กฐินํอตฺถริตุํ. ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่จำพรรษาแล้วกรานกฐินได้  อตฺถตกฐินานํ  โว ภิกฺขเว ปญฺจ อานิสํสา กฺปิสฺสนฺติ. ภิกษุทัง้หลาย ท่านทั้งหลายที่กรานกฐินแล้ว จักสำเร็จอานิสงส์  ๕ ประการ ดังนี้

             ๑.อนามนฺตจาโร  เข้าบ้านไม่ต้องบอกลา

             ๒.สมาทานจาโร  เที่ยวไม่ต้องไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบ

             ๓.คณโภชนํ  ฉันคณะโภชน์ และปรัมปรโภชน์ได้ (ฉันรวมกันได้ ฉันแล้ว ฉันอีกได้ในระยะเวลาพระวินัยกำหนด)

             ๔.ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกผ้าจีวรและกาลจีวรไว้ด้ตามปรารถนา (สะสมบริขารจีวรได้)

             ๕.โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์กาลได้ถึงเพ็ญเดือน ๔

เป็นอานิสงส์สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้(พบกันตอนหน้าจะเป็นอานิสงส์สำหรับ อุบาสก อุบาสิกา) ถวายกฐินทาน เป็นส่วนเกี่ยวกับพระวินัยของพระสงฆ์โดยตรง จะได้รับอานิสงส์ทั้ง พระภิกษุและโยมผู้มีศรัทธาถวาย ครับ ขอเจริญพร

          

คำสำคัญ (Tags): #กฐิน
หมายเลขบันทึก: 550857เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นมัสการ พระครู ฯ

Thank you for the tipitaka story on "kathin".  There is more to study in Buddhism!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท